One of three columns
One of three columns
One of three columns

มูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดฯ เปิดรับสมัครนักศึกษาทุนต่อเนื่อง ปี2563

452
SHARE

โอกาสดีๆ ที่มากกว่าการรับทุน

รับสมัคร จำนวน 13 ทุน ทุนการศึกษาละ 36,000 บาท ต่อปีการศึกษา
พร้อมโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาหลักสูตรต่างๆ ฟรี!
สามารถสมัครได้แล้ว วันนี้ – 9 มิถุนายน 2563
คุณสมบัติผู้สมัคร

• เกรดเฉลี่ย 2.0 ขึ้นไป
• กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 หรือ 2
• นักศึกษาที่เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตลาด ในมหาวิทยาลัยรัฐบาลหรือราชภัฏ
• ไม่ได้รับทุนจากสถาบันอื่นอยู่ (กู้กยศ.สามารถขอทุนได้)

เอกสารข้อมูลประกอบการคัดเลือก

• Download ใบสมัคร คลิก
• จดหมายรับรองสถานะการเป็นนักศึกษา และความประพฤติจากมหาวิทยาลัย
• ผลการเรียน
• บทความบรรยายประวัติส่วนตัว
• บทความบรรยายความตั้งใจเป็นนักการตลาด – ตัวอักษรขนาด 16pt ความยาวเต็ม 1 หน้ากระดาษ A4

ขั้นตอนการสมัครชิงทุน

• ผู้สมัครส่ง เอกสารข้อมูลประกอบการคัดเลือก มาทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ 9 มิ.ย. 2563
ตามที่อยู่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
เลขที่ 1168/21 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120
• คณะกรรมการมูลนิธิฯ คัดเลือกและตรวจสอบเช็คประวัติ
• มูลนิธิฯ ส่งจดหมายแจ้งผลการคัดเลือก และระเบียบปฎิบัติถึงนักศึกษา ผู้ได้รับคัดเลือก

** ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือก 13 ทุน ทาง Facebook และเว็บไซต์ ของสมาคมการตลาดฯ วันที่ 17 ก.ค. 2563

 


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

The Rise of Gen Z – The Next Power Generation

2.5k
SHARE

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักการตลาด ให้ความสนใจกับ 2 Generations เป็นอย่างมาก คือ Gen Y และ Silver Gen โดย Gen Y ได้รับความสนใจด้วยขนาดประชากรที่ใหญ่
ส่วน Silver Gen (กลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป) เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออย่างมาก

นอกจาก 2 Gen นี้แล้ว ตอนนี้ถ้าใครไม่พูดถึง Gen Z ก็อาจจะตกเทรนด์ได้ ถึงแม้ว่า Gen นี้จะมีขนาดไม่ใหญ่เท่ากับ Gen ก่อนหน้านี้ แต่มีพฤติกรรมและแนวความคิดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

Who is Gen Z

 


ที่มา: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php

Gen Z คือคนในช่วงอายุ 10-24 ปี เป็นลูกของ Gen X ซึ่งเป็น Bridging Gen ระหว่าง Digital and Analog Lifestyle เป็น Gen ตัวกลางระหว่าง Gen Y และ Baby Boomer ในที่ทำงาน และเป็น Bridging Gen ระหว่างคนหลากหลาย Gen ในบ้าน

Gen Z ไม่ใช่กลุ่มคนที่อายุน้อยที่สุด เพราะยังมี Gen Alpha ที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปีในตอนนี้ ซึ่งเป็นลูกของ Gen Y or Me Generation ที่เติบโตมาพร้อมกับ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงลูกของพวกเขาเลยว่า จะ Digital Life ขนาดไหน ของเล่นเด็กAlpha ก็จะเป็นแนว Internet of Toy

Genderless Gen

Gen Z เห็นเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นเรื่องใหญ่
คำสรรพนามที่ไม่แยกเพศ ‘ze’ ถูกใช้แทนคำว่า he หรือ she
นอกจากนี้พวกเขายังยอมรับความรักในเพศเดียวกันด้วย จากการสอบถามความคิดเห็นเรื่องความรักระหว่างเพศเดียวกัน เกือบ 60% ของ Gen Z เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าความรักระหว่างเพศเดียวกันไม่ควรถูกกีดกัน ในขณะที่เพียง 44% ของ Gen X ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับเรื่องนี้

People, Planet and Not Only Profit

ในห้วงเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก น้อง เกรต้า ธันเบิร์ก ชาวสวีเดน วัย 16 ปี กับหลายๆ ประโยคเด็ดของเธอ เช่น “No one is too small to make a difference” “ไม่มีใครเด็กเกินไปที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง” ที่กระตุ้นให้เด็กหลายล้านคนลุกขึ้นมา ทวงสิทธิ์อากาศสะอาดของโลกใบนี้จากผู้ใหญ่ ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา มีเด็กวัยรุ่นมากกว่า 4 ล้านคนใน หลายประเทศที่ประท้วงไม่ยอมไปเรียนหนังสือ เพื่อแสดงจุดยืนของพวกเขาเรื่องโลกร้อน จากการจุดประกายของน้องเกรต้า

และจากการประชุม UN Climate Summit ที่นิวยอร์ก ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่เธอได้ทวงถามผู้นำประเทศทั้งหลายว่า “The eyes of all future generations are upon you. And if you choose to fail us, I say – we will never forgive you.” “สายตาทุกดวงของวัยแห่งอนาคตจะจับจ้องพวกคุณ และถ้าคุณทำให้เราผิดหวัง เราจะไม่ให้อภัยพวกคุณอย่างแน่นอน” ซึ่งเป็นประโยคที่ทำให้ระดับผู้นำประเทศจุกอกกันเลยทีเดียว


ทั้ง Gen Z และ Gen Y ใส่ใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมมากกว่า Gen ใดๆ เพราะผลกระทบ ของโลกร้อนมันใกล้พวกเขามากขึ้นทุกที ทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป อาหารที่ปนเปื้อนมากขึ้น สัตว์โลกที่ล้มตาย และโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อถาม Gen Z ถึงลักษณะของบริษัทที่พวกเขาอยากทำงานด้วย ก็จะเห็นแนวโน้มว่า Gen นี้ให้ความสำคัญกับบริษัท ‘ที่ดี’ มากพอๆ กันกับบริษัทที่ให้ ‘เงินดี’

I’m Loyal to Myself, Not a Brand

Gen Z ส่วนใหญ่ไม่ใช่พวก Brand Loyal ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ หรือแม้กับบริษัท ที่ทำงาน ชาว Gen Z ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่หลากหลายมากกว่าจะยึดติดที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง

ในการซื้อสินค้า Gen Z ให้ความสำคัญกับรีวิวของผู้ใช้จริงมากกว่าคำโฆษณาของแบรนด์เอง

ในการทำงาน Gen Z ก็ไม่ได้คิดถึงความมั่นคงเหมือนรุ่นพ่อแม่ของตน การเปลี่ยนงานบ่อยๆ เป็นเรื่องธรรมดาของคน Gen นี้ ที่ต้องการหาประสบการณ์ที่แตกต่าง

จากข้อมูลบางส่วนของงานวิจัยของ บริษัท อินเทจ ประเทศไทย ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า Generation Marketing ยังมีผลในการชนะใจผู้บริโภคใน Gen ที่แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์ที่จะเจาะกลุ่ม New Gen นี้ นอกจาก P Marketing Mix เดิมแล้ว อีก 3 Ps ที่ขาดไม่ได้เลยในการทำการตลาดกับ Gen Z คือ: Purposeful, Popular, Planet-Minded

Purposeful เนื่องจาก Gen Z เป็น True Gen ที่ไม่ได้คิดแต่เรื่องของตัวเอง เป็น Gen ที่ยอมรับความแตกต่าง ไม่ชอบการแบ่งแยกไม่ว่าจะเป็นเพศหรือเผ่าพันธุ์ แบรนด์ที่จะชนะใจ Gen นี้ได้ต้องมีจุดยืนและความหมายที่ชัดเจน และเนื่องจาก Gen Z เป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง พวกเขาจะมองหาแบรนด์ ที่ทำให้พวกเขาได้มีโอกาสแสดงตัวตนของตัวเองด้วย

Popular แบรนด์ที่มีคนพูดถึงเยอะ มีการรีวิวจากประสบการณ์จริงเยอะ Micro and Nano Influencer จะมีบทบาทต่อ Gen นี้ค่อนข้างมาก

Planet-Minded เป็นแบรนด์ที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาโลกเป็นหนึ่งในขบวนความคิดและการทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่งาน PR เท่านั้น Gen นี้ให้ความสำคัญกับ ‘เรื่องจริง’ ของโลกและของแบรนด์ มากกว่า ‘เรื่องเล่า’

Source of Image


ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

SINGLE IS A NEW BLACK โสดพร้อมเปย์ ตลาดใหม่ที่คุณต้องตามจีบ

145
SHARE

KEY FOCUS

– ปริมาณคนโสดบนโลกใบนี้มีตัวเลขที่สูงขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจและงานบริการจำเป็นต้องปรับตัวต้อนรับลูกค้าแบบ “ข้ามาคนเดียว”

– คนโสดมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัวมากกว่าคนมีครอบครัวประมาณ 11%

– สัตว์เลี้ยง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และการท่องเที่ยว คือธุรกิจหลักที่เริ่มมีการปรับตัวตามวิถีชีวิตใหม่ของชาวโสด

ต้องโสดเลเวลไหนถึงสามารถกินบุฟเฟต์ จิ้มชาบู ดูหนังโรง เที่ยวอะโลน แถมตบท้ายด้วยบิงซูชามใหญ่เพียงคนเดียวอย่างมีความสุข

คนโสด — สเตตัสที่จะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม วันนี้เขาและเธอได้กลายเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อ ‘สูงมาก’ สังเกตจากการที่ธุรกิจในหลายภาคส่วนเริ่มปรับจูนความคิดใหม่เพื่อกวาดเม็ดเงินออกจากกระเป๋าชาวโสดเหล่านี้ โดยเฉพาะกับคนโสด Gen Y ที่จำนวนมากเลือกใช้ชีวิตโสดเองด้วยความสมัครใจ เป็นโสดอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ก้มหน้ารับชะตากรรมไร้คู่เพื่อแลกกับอิสรภาพหรือความเป็นตัวเอง รวมไปถึงคนโสด Gen X โดยเฉพาะเพศหญิง ที่สามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้อย่างดี ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และเริ่มหันมาปรนเปรอเติมสุขให้ตัวเองแบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง  ตัวอย่างเช่น ป้าเอื้อย – สราลีศ์ ผลเกิด กับสโลแกนประจำตัว “ไม่มีแฟนก็แค่ลำพัง แต่ไม่มีตังค์ทนไม่ได้ค่ะ!” สาวโสดหกทศวรรษที่สูงวัยมาอย่างเปี่ยมคุณภาพท่านนี้ เธอเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว มีร้านค้าออนไลน์ และมีเคล็ดวิชาครองโสดอย่างสุขมาแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ ด้วย นั่นคือ 1) เที่ยวเองไม่ง้อทัวร์ 2) สัตว์เลี้ยงดีต่อใจ 3) ฟิตเนสฟิตปั๋ง 4) ออมเงินเพื่ออนาคตหลังเกษียณ

โสดพร้อมเปย์ (หนัก)

รายงานจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส และการจดทะเบียนหย่าจากกรมการปกครองพบว่า ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2550 – 2560) การจดทะเบียนสมรสของคนไทยลดลง 5.1% สวนทางกับจำนวนการจดทะเบียนหย่าที่เพิ่มขึ้นถึง 19.7%  ตัวเลขนี้สอดคล้องกับข้อมูลสถิติของ MeetNLunch เว็บไซต์หาคู่ระดับพรีเมี่ยมที่ระบุว่าตัวเลขคนโสดวัยทำงานในสังคมไทยมีจำนวนกว่า 40% หรือประมาณ 17 ล้านคนของจำนวนประชากรทั้งหมด ไม่ต่างกับตัวเลขคนโสดของชาวอาทิตย์อุทัยที่ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีชายชาวญี่ปุ่นถึง 25% และหญิงชาวญี่ปุ่นถึง 15% ที่ไม่มีประวัติการแต่งงานก่อนอายุ 50 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขไม่เคยสูงขนาดนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ในขณะที่ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติปี 2561 ระบุว่าคนโสด (ที่มีอายุมากกว่า 20 ปีตามเกณฑ์อายุที่จดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมาย) มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัวมากกว่าคนมีครอบครัวเฉลี่ยประมาณ 11%  และเมื่อเปรียบเทียบรายจ่ายในด้านต่างๆ แล้วก็พบว่าคนโสดใช้จ่ายมากกว่าคนมีครอบครัวในหลายด้าน เช่น จ่ายค่าอาหารนอกบ้านสูงกว่า 12% จ่ายค่าน้ำมันสูงกว่า 4% จ่ายเพื่อความบันเทิงสูงกว่า 5% และจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากกว่าถึง 40%  มีเพียงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเท่านั้นที่คนมีครอบครัวใช้สูงกว่าคนโสดราว 48%  นอกจากนั้นเมื่อดูข้อมูลความสามารถทางเศรษฐกิจเรายังพบว่าทุกวันนี้สาวโสดพร้อมเปย์วัย 31-40 ปีส่วนใหญ่มีรายได้มากพอที่จะกู้ซื้อที่อยู่อาศัยในราคา 3 ล้านบาทขึ้นไปได้โดยผ่อนชำระเงินกู้เฉลี่ยแค่ 20,000 บาทต่อเดือน

ปรับโมเดลธุรกิจรับเงินคนโสด

เมื่อน้องหมา น้องแมว น้องปลา น้องงู น้องกระต่าย ฯลฯ ถูกยกฐานะจากสัตว์เลี้ยงประจำบ้านให้กลายเป็นลูกรักมัดใจคนโสด เรื่องอาหารการกิน เสื้อผ้าหน้าผม ที่หลับที่นอน ของบรรดาน้องๆ เหล่านี้จึงกลายเป็นธุรกิจเซ็กเมนต์ใหม่ที่มีตัวเลขการเติบโตน่าสนใจอย่างยิ่ง

กรมปศุสัตว์ระบุว่าในปีพ.ศ. 2560 คนไทยมีสัตว์เลี้ยงมากถึง 13.2 ล้านตัว แบ่งเป็นน้องหมา 61% แมว 24% และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีก 15% โดยมูลค่าตลาดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงนั้นไต่ระดับขึ้นไปสูงถึง 32,230 ล้านบาท แบ่งเป็นอาหารสัตว์ 14,600 ล้านบาท สถานพยาบาล 10,200 ล้านบาท และสินค้าสำหรับสัตว์อีก 7,430 ล้านบาท โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของอาหารสัตว์นั้นมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 20-30% เหตุเพราะคนโสดสมัยนี้รักสัตว์เลี้ยงอย่างกับลูก อาหารธรรมดาๆ จึงไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป มันต้องอาหารชั้นดีระดับพรีเมี่ยมเท่านั้น! นอกจากนี้การเติบโตของโรงแรมสัตว์เลี้ยง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฯลฯ ที่คนสามารถเข้าไปเล่นกับน้องหมาน้องแมวได้ก็มีอัตราการเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น The Barkyard BKK คอมมูนิตี้สัตว์เลี้ยงในซอยสุขุมวิท 26 ที่ด้านในมีสนามหญ้า สระว่ายน้ำ และโรงแรมไว้บริการสัตว์เลี้ยงอย่างหรูหรา

มาดูเทรนด์ร้านอาหารกันบ้าง Ichiran Ramen คือหนึ่งโมเดลตัวอย่างที่น่าสนใจในประเทศญี่ปุ่น ร้านราเมงนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ที่เมืองฟุกุโอกะ รองรับลูกค้าที่เข้ามาทานราเมงแบบคนเดียวโดยมีฉากกั้นระหว่างที่นั่งเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ซึ่งสำหรับในประเทศไทยก็มีคนนำเข้าแนวคิดนี้เปิดเป็นร้านราเมงข้อสอบ หรือร้าน Eenmaal ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มจัดโต๊ะเก้าอี้สำหรับหนึ่งคนไว้ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีวิถีสันโดษโดยเฉพาะ นั่นคือชอบมาทานคนเดียวและอยากให้เวลากับตัวเองในร้านอาหารดีๆ

ซึ่งหากจะวิเคราะห์กันดีๆ แล้ว โมเดลธุรกิจสไตล์นี้ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการขาดพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้ที่ต้องการอยู่คนเดียว อย่างในประเทศไทยเราก็พบเห็นร้านอาหารญี่ปุ่นหลายแห่งที่จัดพื้นที่สำหรับลูกค้านั่งทานคนเดียวบนเคาน์เตอร์บาร์ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวโต๊ะนาน ยกตัวอย่างเช่นร้าน Hama Ichi ที่ขายอาหารปิ้งย่างแบบชายหาด หรือร้าน Sake no Mise ที่ขายเมนูสไตล์อิซากาย่า เป็นต้น

คนเดียวเที่ยวถึงใจ (กว่า)

ผลสำรวจเทรนด์การท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมาของอโกด้า โดย YouGov พบว่าความนิยมของชาวเอเชียในการเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวนั้นจะตกอยู่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่เสียเป็นส่วนมาก นั่นคือ Gen Millennials 41% และ Gen Z 38% ในขณะที่ทางโลกตะวันตก เทรนด์นี้กลับร้อนแรงในกลุ่มคนอายุมากกว่า นั่นคือกลุ่ม Baby Boomer 39% และ Gen X 24%  สิ่งที่น่าสนใจคือแรงจูงใจที่ทำให้ผู้คนอยากเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวนั้น คือการพักผ่อนให้สบายใจ การได้ทำอะไรที่แตกต่างไปจากกิจวัตรเดิมๆ และการมีโอกาสไปสัมผัสกับวัฒนธรรมของผู้คนต่างถิ่น

จึงไม่น่าแปลกใจที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เริ่มปรับกระบวนยุทธ์มาจับกลุ่มเป้าหมายคนโสดเปย์หนักนี้แล้ว โดยนำเสนอการท่องเที่ยวเมืองรองแบบ Unseen เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตแท้ๆ และความท้องถิ่นนิยม เช่นเส้นทางท่องเที่ยว ‘ลำพูน…ไม่ลำพัง ทริปตัวคนเดียว 3 วัน 2 คืน’ พร้อมเส้นทางแนะนำสำหรับโซโลทราเวลเลอร์ที่มองหาความสงบ บรรยากาศอบอุ่นน่ารัก มีศิลปวัฒนธรรมล้านนาและของกินอร่อยๆ ให้ลิ้มลอง ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมสักการะพระธาตุหริภุญชัย ทานมื้อเที่ยงที่ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย ชมสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่วัดจามเทวี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน ฯลฯ  ผนวกกับการที่แอพพลิเคชั่นการจองที่พัก จองพาหนะ การวางรูทเดินทาง ข้อมูลร้านกินดื่มและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวยุคใหม่สามารถออกแบบการเดินทางด้วยตนเองได้อย่างสะดวกสบาย จึงไม่น่าแปลกใจว่าจำนวนนักท่องเที่ยวสไตล์โซโลทราเวลเลอร์นี้ มีแต่จะขยับสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี

พอเห็นเค้าลางๆ กันแล้วใช่ไหมว่าสเตตัส “โสด” ในยุคนี้ไม่ได้ผูกติดอยู่กับความเหงาเศร้าสร้อย หรือความกล้าๆ กลัวๆ ที่จะโบยบินอีกต่อไป คนโสดสมัยใหม่ได้ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตที่มีคุณภาพ สามารถท่องโลกกว้างได้อย่างอิสระ เปย์เต็มเหนี่ยวได้ทั้งเรื่องกิน เที่ยว ความสุข และสุขภาพ  ที่สำคัญพวกเขาและเธอกำลังกลายเป็นเซ็กเมนท์ใหม่ที่ชวนฝันของนักการตลาด เพราะหากเอาอกเอาใจกันได้ถูกทางแล้วล่ะก็ รับประกันว่าเขาและเธอจะเทเม็ดเงินก้อนโตให้ธุรกิจของคุณได้แบบไม่ยั้ง!

อ้างอิง : Thaiquote, Facebook มนุษย์ต่างวัย, matichon, nippon, marketeeronline, sentangsedtee, brandinside.asia, eenmaal, the barkyard bkk, thai tourism thailand, ichiran

 


ผู้เขียน
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์

เป็นเหมือนร้านค้าสร้างสรรค์ที่ชวนให้ใครต่อใครมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตั้งแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปจนถึงดีไซน์ในอีกซีกโลก อีกมุมหนึ่งเขาคือคนล่องเรือ เดินเมืองเก่า ที่ไม่เคยหยุดเดินทางเพราะความหลงใหลวิถีชีวิตท้องถิ่น

glove clinic คลินิกสุขภาพเพื่อ LGBTQ ลบภาพสำส่อนสู่เฮลตี้ไลฟ์สไตล์

230
SHARE

KEY FOCUS

– การสื่อสารแบรนด์กับผู้บริโภค LGBTQ ไม่ใช่แค่เทรนด์การตลาดที่วูบวาบตามกระแส แต่คือการจับกลุ่มเซ็กเมนท์ใหม่ของสินค้าและบริการในโลก

– งานบริการด้านสุขภาพที่ดีต้องการทีมงานที่มีทัศนคติถูกต้อง พร้อมมีสัมพันธภาพที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ

– แอดมินเพจเฟสบุ๊คคือคนสำคัญที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อให้ผู้มีความเสี่ยงกล้าเดินเข้ามารับบริการด้านสุขภาพ

– glove คือ community of Love ที่พร้อมส่งมอบความสบายใจแก่ลูกค้ามากกว่าแค่การมาตรวจรักษาโรค ทุกคนสามารถเดินเข้ามาปรึกษาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในฐานะเพื่อน เปลี่ยนนิยามของการมาคลินิกตรวจสุขภาพทางเพศจาก “ส่ำส่อน” สู่ “สุขภาพดี”

ในเดือนมิถุนายนของทุกปี เรามักจะได้เห็นภาพพาเหรดคอลเล็กชั่นสินค้า LGBTQ จากแบรนด์ดังระดับโลกวางขายถล่มทลายทั้งในตลาดออนไลน์และออฟไลน์เพื่อร่วมฉลองเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ Pride Month) อาทิคอลเลคชั่น BETRUE ของ Nike ที่นำธงแปดสี (Pride Flag) มาเป็นกิมมิกในการออกแบบ ในขณะที่แก้วสีรุ้งของ Starbucks โดดเด่นด้วยตัวอักษรคำว่า ‘LOVE’ มีวางจำหน่ายเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา หรือกระทั่งแบรนด์ขวัญใจครอบครัวอย่าง Disney ก็มี Rainbow Disney Collection ที่มาพร้อมกับตุ๊กตา Mickey Mouse สีรุ้ง เสื้อยืด เสื้อกล้าม กระเป๋าสะพาย หมวก เข็มกลัด ที่คาดผม ฯลฯ โดยจะวางขายเฉพาะที่ร้านค้าของ Disney เองเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีงานบริการด้านการท่องเที่ยวอีกหลายแบรนด์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมาย LGBTQ โดยเฉพาะ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน (ตัวเลขประมาณการณ์ปัจจุบันอยู่ที่ 6.64 ล้านล้านบาท) และเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปถึงร้อยละ 40 โดยเมื่อเร็วๆ นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตอกย้ำจุดแข็งข้อนี้ด้วยการเป็นโต้โผจัดการประชุมใหญ่ภายใต้ชื่องาน LGBT + Travel Symposium ส่งสัญญาณให้ตลาด LGBTQ ทั่วโลกเบนเข็มทิศมาเที่ยวเมืองไทยกันมากขึ้นในอนาคต

กลุ่ม LGBTQ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยซึ่งถือว่ามีข้อได้เปรียบเชิงวัฒนธรรมเป็นทุนอยู่แล้ว เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับเพศทางเลือกอย่างมาก (Gay-friendly) เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีข้อจำกัดทางศาสนา

เห็นช่องว่าง สร้างโอกาส

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของไทยแล้ว งานบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Wellness) ก็เป็นอีกธุรกิจที่ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง (เมืองไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลิสต์ต้นๆ ของ Medical Tourist Destination มายาวนาน) ในประเด็นนี้ นพ. เกริก อัศวเมธา ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อพูดคุยกับเราว่า “มันคือโอกาสทางการตลาดที่ผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQ ในประเทศและกลุ่มนักท่องเที่ยวยังขาดพื้นที่ตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบบครบวงจร”

“มันเป็นปัญหาใต้สะดือที่พูดยาก คนไข้มักเขินอายและกลัวจะโดนตำหนิ หมอเห็นบางครั้งพยาบาลส่งผู้ป่วยไปคลินิกรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแม้ว่านั่นจะรักษาอาการเฉพาะของโรคได้ แต่มันก็ไม่ครบวงจร เพราะคนไข้อาจติดเชื้ออื่นมาจากการมีเพศสัมพันธ์อีกก็ได้ มันทำให้เขาหมดโอกาสที่จะดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ”

ด้วยแนวคิดนี้ นพ.เกริก จึงตัดสินใจจับมือกับหุ้นส่วนที่คิดตรงกันอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ นพ.ศุภวัฒน์ วีรภัทรรุ่งโรจน์ เพื่อนหมอที่สนิทกัน รวมถึง ชาญวิทย์ ปาคำ และ วาสนา เสถียรธรรมวิทย์ สองที่ปรึกษาด้านโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่คร่ำหวอดในวงการมายาวนาน เปิดตัว glove clinic” เป็นคอมมูนิตี้ด้านสุขภาพสำหรับชาว LGBTQ ที่มีบุคลิกกลางๆ ให้บริการตั้งแต่การป้องกันโรค (ด้วยการฉีดวัคซีน) ไปจนถึงการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ (รวมถึง HIV) พร้อมเน้นจุดขายด้านการให้คำปรึกษาการดูแลไลฟ์สไตล์ทางเพศ การวางแผนครอบครัว ฯลฯ

“บทบาทหลักของ Glove Clinic คือการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เราตั้งใจทำอะไรที่มากกว่านั้น เราอยากสร้างพื้นที่นี้ให้เป็นคอมมูนิตี้ของความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้ผู้เข้ารับการบริการรู้สึกสะดวกใจที่จะพูดคุยรวมถึงกล้าที่จะเดินเข้ามาตรวจเช็คในวันที่เขาไม่มั่นใจว่าตนเสี่ยงติดโรคอะไรมาหรือไม่” นพ.ศุภวัฒน์ บอกกับเราถึงความมุ่งหวังที่จะทำลายค่านิยมผิดๆ ว่าโรคทางเพศเป็นเรื่องของคนส่ำส่อนเท่านั้น

“สำหรับพวกเราทุกคนที่นี่ คนที่ sexually active ไม่ได้ทำผิดอะไรเลย การที่เขามาตรวจโรคก็เป็นไปเพื่อสุขภาวะที่ดี เป็นเรื่องของการมีเฮลตี้ไลฟ์สไตล์ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง”

ปั้นโมเดลธุรกิจให้ตอบรับความต้องการส่วนลึก

แม้ว่า glove clinic จะเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฏาคม 2562 แต่ทีมงานที่ร่วมก่อตั้งล้วนมีประสบการณ์ในวงการมาร่วม 20 – 30 ปี พวกเขารู้ว่ากลยุทธ์สำคัญที่จะนำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จต้องประกอบไปด้วยหลักการ 5G อันได้แก่ 1) Good Team – ทีมเวิร์คที่ดี 2) Good Service – บริการที่เป็นมิตร 3) Good Attitude ทัศนคติที่เปิดกว้าง 4) Good Location & Environment – สถานที่ตั้งที่เข้าถึงง่าย มีบรรยากาศอบอุ่น และ 5) Good Networking – มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคลากรในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

“การมีเน็ตเวิร์คที่ดีมีส่วนช่วยให้ผู้เข้ารับการบริการรู้สึกสบายใจ ทั้งยังช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับองค์กรด้วย เช่น ถ้าผลเลือดของคนไข้เป็นอะไรที่มากกว่าขอบเขตการรักษาของคลินิก เราก็จะคอนเน็คคนไข้ไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือไปที่โรงพยาบาลที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของคนไข้ และมีศักยภาพที่ดีพอในการรักษาโรคเหล่านั้น”

ชาญวิทย์และวาสนา สองที่ปรึกษาที่เรียกได้ว่าคร่ำหวอดและอยู่เบื้องหลังการก่อตั้งคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มามากมายหลายแห่งบอกกับเราว่า “คลินิกแต่ละแห่งล้วนมีกลุ่มเป้าหมายที่ไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน ใครที่เป็นเกย์จ๋าๆ หรือสายดาร์ก ก็จะไปตรวจที่คลินิกแห่งหนึ่งย่านถนนสีลม ในขณะที่ glove clinic เราจับกลุ่มเกย์ที่ไม่เปิดตัวมาก อาจยังเขินอายและต้องการพื้นที่ที่ทำให้เขาสบายใจที่จะเดินเข้ามารับการตรวจ”

ทั้งสองย้ำว่าการออกแบบบริการและการใช้จิตวิทยาเชิงพื้นที่จะมีความสำคัญต่อกลุ่มเป้าหมายมาก “สำหรับ glove clinic จะแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในออกเป็นหลายฟังก์ชั่น เช่นมีพื้นที่นั่งพักผ่อนสบายๆ คลายกังวลก่อนพบแพทย์ มีพื้นที่นั่งคอยที่หลบเร้นเป็นส่วนตัวสูงสุด รวมไปถึงการออกแบบบริการ (service design) ที่ตั้งใจให้ผู้รับบริการได้อยู่ในห้องเพียงห้องเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ โดยเจ้าหน้าที่ รวมถึงแพทย์และที่ปรึกษา จะเป็นผู้เข้ามาให้บริการอย่างเป็นส่วนตัวภายในห้องตรวจ ตั้งแต่การเจาะเลือด การพูดคุย การฟังผล ฯลฯ เป็นงานบริการแบบครบวงจรที่จบในห้องเดียว”

“ทำเลย่านราชเทวีมีภาพลักษณ์ที่เป็นกลางๆ ไม่ดูเกย์จ๋าและไม่บ้านนอกเกินไปสำหรับชาวเกย์ ทั้งยังอยู่ใกล้ BTS มาก ช่วยให้ผู้เข้ารับบริการเกิดความสบายใจที่จะเดินทางมาตรวจ ซึ่งเราเปิดรับดูแลคนไข้ทุกเพศ ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็น LGBTQ เท่านั้น”

ในเรื่องของการสร้างรายได้ ทีมงานคุณภาพกลุ่มนี้มองว่า Glove Clinic จะสร้างรายได้จาก 3 ช่องทางคือ 1) Test – การตรวจเชื้อ 2) Treat – การรักษาด้วยยา และ 3) Prevention – การป้องกันการติดเชื้อ  ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักจะมาจากการ Treat และ Prevention เป็นส่วนใหญ่ แต่ทีมงานมุ่งหวังว่าในอนาคตคลินิกจะมีรายได้จากการ Test มากขึ้น “เพราะเราอยากสร้างค่านิยมใหม่ที่ถูกต้องในสังคม คือให้คนที่มี Sexually Active Lifestyle รู้จักประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง เช่นเข้ามาตรวจเช็คร่างกายกันทุกๆ 3 เดือน รวมถึงเราจะมีการให้คำปรึกษาระยะยาว (Consultation) สำหรับครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งตรงนี้เรามองว่าเป็นจุดแข็งสำคัญของ Glove Clinic ที่ถึงแม้จะไม่ได้สร้างรายได้โดยตรง แต่จะส่งผลให้ผู้รับบริการกลับมาหาเราอีกในวันข้างหน้า”

ยอดไลค์น้อย แต่หลังบ้านเพียบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อออนไลน์เช่น “เพจเฟสบุ๊ค” คือช่องทางการพูดคุยกับกลุ่มเสี่ยงที่เวิร์คที่สุด โดยเฉพาะในช่วงการเริ่มต้นบทสนทนาก่อนตัดสินใจเข้ารับการตรวจรักษา ชาญวิทย์เล่าว่า “ทุกคนที่มีข้อสงสัยมักจะสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตก่อนว่ามีคลินิกใดให้บริการบ้าง หลายคนเข้ามาอ่านเพจเราจริงจัง แต่เขาจะไม่กดไลค์หรือคอมเมนท์เลย เพราะเขาไม่อยากเปิดเผยตัวตน แต่หลังบ้านนี่ส่งข้อความกันวุ่นเลยนะ เพราะเขาสบายใจที่จะคุยกับเราเป็นการส่วนตัวมากกว่า บางรายคุยกันอยู่เป็นปีกว่าจะยอมเข้ามารักษา”

“แอนมินเพจมีบทบาทสำคัญมาก เราต้องมีทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญมาคอยตอบพื่อให้คนถามรู้สึกสบายใจ และเกิดความเชื่อมั่นมากที่สุด ส่วนเรื่องที่โพสต์บนไทม์ไลน์เราก็ไม่ควรเน้นแต่เรื่องโรคติดต่อทางเพศ แต่ควรนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ LGBTQ ทั้งหมด เป็นการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ สร้างรอยยิ้มให้คนอ่าน ไม่ใช่เปิดเข้ามาเจอแต่เรื่องโรคติดต่อเครียดๆ เหล่านี้ล่ะคืออินไซต์ที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ที่สั่งสมมา” วาสนากล่าวเสริม

“ความไว้เนื้อเชื่อใจสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศ ถ้าเราซื้อใจคนกลุ่มแรกได้แล้ว การบอกต่อจะเกิดขึ้นเอง และนั่นคือเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญที่สุด”

อ้างอิง : voice tv, nike, marketingoops, shopDisney

CREATIVE JUICE

ชื่อนี้มีที่มา

เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายหลักของคลินิกนี้คือชาว LGBTQ ที่ยังมีความเขินอาย ไม่ใช่แนวแรงๆ และไม่เปิดตัวมาก การตั้งชื่อที่ส่อความเกย์เกินไปอาจทำให้ลูกค้าไม่สะดวกใจที่จะเข้ามาหา ทีมงานจึงนำคำว่า “love” ที่สื่อถึงความรัก มาผสมกับตัวอักษร “g” ที่สื่อถึงกลุ่มเกย์ ผนวกกันกลายเป็นคำว่า “glove” พร้อมโลโก้รูปมือโอบหัวใจแสดงถึงความรักและการดูแลเอาใจใส่ สังเกตว่าชื่อคลินิกจะใช้ตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมดเพื่อสื่อถึงความเท่าเทียมกันของคนทุกเพศทุกวัยด้วย


ผู้เขียน
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์

เป็นเหมือนร้านค้าสร้างสรรค์ที่ชวนให้ใครต่อใครมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตั้งแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปจนถึงดีไซน์ในอีกซีกโลก อีกมุมหนึ่งเขาคือคนล่องเรือ เดินเมืองเก่า ที่ไม่เคยหยุดเดินทางเพราะความหลงใหลวิถีชีวิตท้องถิ่น

ORACLE Modern CX Summit

SHARE

ไม่ควรพลาด! Oracle ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงาน “Modern Customer Experience Summit”

เปิดให้ลงทะเบียนแล้ววันนี้ ดูรายละเอียดและสำรองที่นั่งก่อนใคร ที่ : http://bit.ly/2ph9qNN

ในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ที่ The St.Regis Bangkok 8:30 – 16:00 น.

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Priceza E-Commerce Summit 2020 สุดยอดงานอีคอมเมิร์ซ รวบรวมผู้บริหารและกูรูชั้นนำระดับประเทศ!

15
SHARE

กลับมาอีกครั้ง Priceza E-Commerce Summit 2020 สุดยอดงานอัพเดทเทรนด์อีคอมเมิร์ซให้ทันโลกสำหรับผู้ประกอบการ อัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระ พ่วงด้วยวิทยากรจากองค์กรชั้นนำพร้อมเสิร์ฟความรู้ให้คุณในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 นี้

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เปิดเผยว่า จากผลตอบรับที่ดีทะลุเป้าของงานในปีที่ผ่านมา ต่อยอดความสำเร็จให้เกิดงาน Priceza E-commerce Summit 2020 ขึ้นอีกครั้ง โดยในปีนี้ทาง Priceza จะเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของเทรนด์ E-Commerce ในปีหน้า ซึ่งวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจากข้อมูล Visitor กว่า 14 ล้านคนต่อเดือนที่เข้ามาใช้บริการในแพลตฟอร์มของ Priceza ซึ่งจะทำให้เห็นเทรนด์ที่สำคัญของผู้บริโภค อาทิ ประเภทสินค้าที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ทิศทางมูลค่าสินค้าที่มีการซื้อขายมากที่สุด เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มยอดขาย และกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด พร้อมข้อมูลเตรียมความพร้อมกับอีคอมเมิร์ซในปี 2020 ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมงานจะได้อัพเดทข้อมูลเชิงลึกก่อนใคร

“จุดมุ่งหมายที่สำคัญของงาน คือยกระดับวงการธุรกิจ E-Commerce ไทยให้เติบโตในระดับอาเซียนผ่านการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในองค์กรชั้นนำ”
นายธนาวัฒน์ กล่าว

จับตาเทรนด์และกระแส E-Commerce ในปี 2020 ที่คุณต้องรู้

เทรนด์อีคอมเมิร์ซในปี 2020 นั้นจะเป็นการหลอมรวมการค้ายุคใหม่โดยเชื่อมโยงออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน และยังคงมองหาวิธีก้าวตามเทคโนโลยีให้ทัน เพื่อที่จะช่วยส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการในธุรกิจ E-Commerce ในการบริหารและปรับกลยุทธ์ให้เท่าทันสถานการณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆก่อนใคร โดยภายในงาน Priceza E-Commerce Summit 2020 ได้รวบรวมเหล่าวิทยากรมากประสบการณ์จากองค์กรชั้นนำทั่วประเทศไทย ที่จะมาแชร์ประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึก อาทิเช่น

  • Thailand E-Commerce Trends 2020 | คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย
    ในปี 2020 ผู้ประกอบการจะรู้ว่าเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่กำลังจะมาเป็นอย่างไรเพื่อที่จะได้รับมือ มองหาโอกาส และปรับกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของตัวเอง
  • Cross Border E-Commerce เจาะช่องลุยตลาดต่างประเทศปี 2020 | คุณจารุสตรี สุวรรณวงศ์ (Amazon) Head of Amazon Global Selling Thailand
    แนะช่องทาง ชี้โอกาสโกอินเตอร์ เจาะตลาดต่างประเทศสำหรับผู้ประกอบการไทย ไปที่ไหน และไปอย่างไร?
  • เทคนิคการขายบนมาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย ให้ยอดขายถล่มทลาย | คุณนัฐพล บุญภินนท์ Managing Partner N-Squared eCommerce
    เรียนรู้การสร้างยอดขายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย และมาร์เก็ตเพลส ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างรายได้และเติบโตไปด้วยกัน
  • The New Retail กรณีศึกษาจริงจาก Officemate และ B2S | คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
    กรณีศึกษาสุดล้ำของ OfficeMate และ B2S
  • การบริหาร OMNI-Channel ยอดขายพันล้านจาก TV Direct | คุณทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน)
    ฟังจากตัวจริงในการทำ OMNI Channel หรือการค้าหลากหลายช่องทางผสานเป็นหนึ่งเดียว อย่าง TV Direct
  • ตีแผ่ Facebook Conversational Commerce สร้างยอดขายหลักล้าน | คุณเมธิศร์ มุกดาสิริ Client Partnership, Retail & E-commerce Face Facebook Thailand
    ใช้ Social Media ระดับเทพทำการตลาดอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและสร้างยอดขายอย่างยั่งยืน

และประเด็น Hot Topic ในแวดวง E-Commerce อีกมากมายที่คุณต้องรู้ในปีหน้า

รวมสุดยอดกูรู E-Commerce จากบริษัทชั้นนำ

เท่านี้ยังไม่พอ!! นอกจากความรู้จะคับแน่นแล้ว วิทยากรภายในงานที่ร่วมตบเท้าเข้าเสวนาโปรไฟล์ก็แน่นไม่แพ้กันจากบริษัทชั้นนำ

  • คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา Priceza CEO & Co-founder นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย
  • คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
  • คุณธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย
  • คุณทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน)
  • คุณสมยศ เชาวลิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจ.ไอ.บี คอมพิวเตอร์ กรุ๊ป จำกัด
  • คุณบูม หมู่ศิริเสิศ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ษริษัท เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ จำกัด
  • คุณดวงดาว มหะนาวานนท์ ผู้อำนวยการสายงานพัฒนาธุรกิจช่องทางใหม่ Sabina Fareast Co., Ltd.
  • คุณจารุสตรี สุวรรณวงศ์ Head of Amazon Global Selling Thailand
  • คุณนัฐพล บุญภินนท์ Managing Partner N-Squared eCommerce
  • คุณเมธิศร์ มุกดาสิริ Client Partnership, Retail & E-commerce Face Facebook Thailand
  • คุณสิรีธร พรหมมาวิน Senior Search Quality Analyst Google Thailand
  • คุณประพนธ์ศักดิ์ กัมพลพันธ์ Head of eCommerce : L’Oreal CPD Thailand

 

ย้อนดูไฮไลท์งาน Priceza E-commerce Trends ปี 2019

 

สำรองที่นั่งเข้างานราคาพิเศษจำนวนจำกัดได้แล้ววันนี้

จากการเปิดให้สำรองที่นั่งรอบ VIP ได้รับการตอบรับดีเยี่ยม จนทำให้ตั๋ว Super Early Bird จำหน่ายหมดภายใน 2 วัน นอกจากนี้ผู้ร่วมงานจะได้รับข้อมูลสาระสำคัญและเป็นประโยชน์อีกมากมายมาอัพเดทเพื่อใช้เป็นไอเดียในการสร้างโอกาสทางธุรกิจก่อนใครได้ที่งาน Priceza E-Commerce Summit 2020 ณ โรงแรม S31 สุขุมวิท
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00น. – 17.00น.

  • ติดต่อบัตร Corporate Ticket และ Partnership ได้ที่ E-mail [email protected]
  • ติดต่อร่วมเป็นพันธมิตรและสนับสนุนงานได้ที่ [email protected]

ซื้อบัตรเข้างานราคาพิเศษด่วนจำนวนจำกัด ได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Priceza-E-Commerce-Summit-2020

หมายเหตุ : หัวข้อสัมมนาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

พิเศษ สำหรับสมาชิกของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
รับโค้ด >>> PZ200C
เพื่อรับส่วนลดในการซื้อบัตรเข้างาน Priceza E-commerce Summit 2020 

ผู้เขียน
Priceza

Personal Branding in Social Media: ในวันที่ภาพลักษณ์ผู้บริหารบนโลกโซเชียลสำคัญกว่าที่คิด

1.1k
SHARE

KEY FOCUS

  • การสื่อสารองค์กรผ่านอัตลักษณ์ผู้บริหารในโซเชียลมีเดีย (Personal Branding in Social Media) คือการสื่อสารตัวตน ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนมุมมองของผู้บริหารผ่านการบอกเล่าเรื่องราวส่วนตัว ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และจุดยืนต่อประเด็นต่างๆ ในสังคมที่กำลังได้รับความสนใจ
  • คอนเทนต์ในการทำ Personal Branding นี้อาจไม่เกี่ยวกับธุรกิจเลยก็ได้ แต่เน้นที่แพชชันและไลฟ์สไตล์ของผู้บริหาร ซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอยู่ดี
  • คอนเทนต์ที่ดีในการทำ Personal Branding ต้องมีคุณสมบัติคือ 1) แตกต่างและโดดเด่น 2) เป็นตัวของตัวเอง และ 3) เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

คุณเชื่อหรือไม่ว่าองค์ประกอบสำคัญข้อหนึ่งที่จะทำให้แบรนด์เข้าไปนั่งในใจของผู้บริโภคได้ ก็คือภาพลักษณ์ของ ‘เจ้าของ’ หรือ ‘ผู้บริหารองค์กร’ นั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งสมาร์ทโฟนที่เราทุกคนสามารถเข้าถึง ‘ตัวตนบนโลกออนไลน์’ ของผู้บริหารเหล่านี้ได้เพียงปลายนิ้วคลิก  ชุติมา ดำสุวรรณ นักวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategist) ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ และเจ้าของเพจ Communicate Different ผู้คร่ำหวอดในวงการพีอาร์มาเกือบ 20 ปีย้ำกับเราในวันนี้ว่า “การสื่อสารการตลาดให้องค์กรด้วยกลยุทธ์แบบเดิมๆ นั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ใหม่นั่นก็คือการสื่อสารแบรนด์ผ่านอัตลักษณ์ของผู้บริหารในโลกโซเชียล เพราะนี่คือช่องทางหลักที่ผู้บริโภคจะเชื่อมโยงกับแบรนด์ทั้งในวันนี้และอนาคต”

 

ไลฟ์สไตล์และแพชชันของผู้บริหารสร้างสรรค์ภาพลักษณ์องค์กรได้

ในมุมมองของชุติมา ทุกวันนี้การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้บริหารบนสื่อโซเชียลนั้น ต้องมุ่งเน้นที่การบอกเล่าถึงตัวตน ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนมุมมองของผู้บริหารท่านนั้นต่อประเด็นต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนในสังคม หรือพูดง่ายๆ อีกนัยหนึ่งก็คือ ‘ไม่ได้มาขายของ’ นั่นเอง

การทำ Personal Branding ให้กับผู้บริหารองค์กรหรือเจ้าของสินค้า คือการนำเสนอตัวตนของเขาด้วยคอนเทนท์ในมุมของไลฟ์สไตล์และแพชชั่น ซึ่งมีกระบวนการทำงานโดยการค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ เพื่อสำรวจว่าคนในสังคมพูดถึงผู้บริหารท่านนั้นอย่างไร รวมทั้งติดตามข่าวที่ปรากฏในสื่ออื่นๆ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประมวลผล จนเราได้ชุดข้อมูลใหม่จากโลกภายนอก ที่ไม่ใช่ข้อมูลแบบที่องค์กรต้องการนำเสนอแต่เพียงฝ่ายเดียว

“ข้อมูลอีกด้านที่สังคมมีต่อผู้บริหารท่านนั้น คือหัวใจสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ว่าเราจะนำเสนอภาพลักษณ์แบบใดกลับคืนออกไปสู่สังคม”

โดยปกติการสื่อสารแบรนด์ก็จะนำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือสินค้าถูกมั้ยคะ แต่สำหรับการทำ Personal Branding นี้มันคือการสื่อสารบุคคล เนื้อหาที่นำเสนอจึงมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่
1) ความสนใจของบุคคลท่านนั้น เช่น เป็นคนรักสัตว์ ชอบถ่ายภาพ รักการวิ่งออกกำลัง ฯลฯ
2) ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ความสามารถพิเศษด้านอาชีพการงาน
3) การแสดงความเห็นต่อเรื่องราวต่างๆ เมื่อจำเป็น ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้บริหารท่านนั้นเป็นผู้หญิง หากมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นแม่เกิดขึ้นในกระแสสังคม หรือในโอกาสของวันสตรีสากล ผู้บริหารหญิงของเราก็ควรออกมาแสดงจุดยืนต่อประเด็นเหล่านี้ในโซเชียลมีเดียส่วนตัวของเธอด้วย เป็นต้น

ยุคเปลี่ยน สื่อเปลี่ยน สารเปลี่ยน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียคือปัจจัยหลักที่ทำให้ ‘วิธีการ’ และ ‘กระบวนการ’ สื่อสารระหว่างผู้บริหารกับผู้บริโภคในโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของความรวดเร็ว ความน่าติดตามของเนื้อหา และการเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ของผู้บริโภค ทั้งหมดนี้ทำให้การวางกลยุทธ์เรื่อง Personal Branding กลายเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญกว่าที่เราคาดคิด

งานสื่อสารเป็นงานที่ต้องวางแผนและกำหนดกลยุทธฺ์เป็นขั้นตอนนะคะ ในอดีตการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้บริโภคจะกระทำผ่านสื่อมวลชนในงานแถลงข่าวหรือการให้สัมภาษณ์ผ่านโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันเราสามารถโพสต์ข้อความพวกนั้นลงโซเชียลมีเดียได้ทันที ซึ่งจริงๆ ถือว่าเป็นดาบสองคม เนื่องจากข้อความสามารถแพร่กระจายไปได้เร็วมาก บางทีก็เป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อภาพลักษณ์ขององค์กรมากเช่นกัน

ชุติมายกตัวอย่างว่าในบางกรณีที่ผู้บริหารอาจจะพูดถึงเรื่องบางเรื่องในสื่อโซเชียลแบบร้อนแรงไปนิด แม้ต่อมาท่านจะลบโพสต์นั้นออกไป แต่ก็มักจะมีคนเก็บไว้ได้ทันและเผยแพร่ต่ออย่างรวดเร็ว บางทีคำพูดเพียงประโยคเดียวก็สามารถสร้างประเด็นอ่อนไหวได้อย่างมาก ผู้บริหารจึงต้องระมัดระวังอย่างมากก่อนจะโพสต์อะไรก็ตามลงในโซเชียลมีเดียส่วนตัว

ทางที่ดีแล้วท่านควรต้องมีการวางแผนระยะยาวอย่างเป็นระบบเลยล่ะ เพราะหากมีการวางกลยุทธ์ที่ดีก็จะทำให้สามารถคาดการณ์ปัญหาหรือการแสดงความเห็นที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่วยให้ท่านเตรียมตัวได้เร็วในกรณีที่ต้องตอบคำถามสังคม คล้ายๆ กับการเตรียมคำตอบให้สื่อมวลชนในงานแถลงข่าว

การทำงานร่วมกับนักวางกลยุทธ์ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะทำให้การสื่อสารคอนเทนท์ในโลกโซเชียลของผู้บริหารคนหนึ่งน่าติดตาม และมีเสน่ห์กว่าของคนอื่นได้

ภาพลักษณ์ที่ดีของผู้บริหาร = ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่านอกจากผู้บริหารจะมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารขับเคลื่อนองค์กรแล้ว ‘ตัวตน’ ของเขาหรือเธอก็ยังมีส่วนสำคัญต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย คอนเทนท์ส่วนตัวที่ผู้บริหารนำเสนอในโลกโซเชียลนี้อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกิจเลยก็ได้ แต่เมื่อใดที่ภาพลักษณ์ของผู้บริหารดูดี มันย่อมส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย

อีกทั้งนอกจากเรื่องงานแล้ว คนเรายังมีมุมอื่นๆ ในชีวิตอีกมากมายที่น่าสนใจ เช่นบางท่านชอบศึกษาธรรมะ บางท่านรักสัตว์ บางท่านชอบถ่ายรูป ฯลฯ คอนเทนท์ที่เรานำเสนอจะสะท้อนตัวตนของผู้บริหารได้ในหลายมุม ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องธุรกิจ และคุณเชื่อไหมคะว่าคนในโลกโซเชียลสนใจ และติดตามคอนเทนท์ในลักษณะนี้มากกว่าด้วย

น้อยมากที่ภาพลักษณ์ของผู้บริหารไม่ดี แล้วภาพลักษณ์ขององค์กรจะดีได้

ชุติมาอธิบายต่อว่าสำหรับผู้บริหารที่ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักของสาธารณะชน ก็สามารถเริ่มต้นทำ Personal Branding ได้ด้วยตนเอง โดยเริ่มจากโจทย์ง่ายๆ ว่า คุณอยากนำเสนอตัวตนของคุณอย่างไรผ่านเฟซบุ๊กของคุณ

แต่หากต้องการสร้างคอนเทนท์ให้มีความต่อเนื่องแบบมืออาชีพ อันนี้ก็ต้องอาศัยมืออาชีพเข้าช่วย ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นคนชอบถ่ายรูป ที่บ้านมีกล้องถ่ายรูปหลากหลายแบบ นักวางแผนกลยุทธ์อาจหยิบยกเรื่องนี้มานำเสนอผ่านมุมมองของคนนอก ทำให้ตัวท่านดูมีความน่าสนใจ โดยที่ท่านเองอาจไม่รู้ตัวเลยว่าไลฟ์สไตล์บางอย่างของท่านนั่นแหละ คือวัตถุดิบชั้นดีต่อการสร้างสรรค์คอนเทนท์

โดดเด่น + เป็นตัวเอง + มีคุณค่าต่อผู้อื่น = หัวใจของ Personal Branding

ท่ามกลางมหาสมุทรของข้อมูลในโลกโซเชียล คำถามสำคัญที่ชุติมาหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์ให้เราฟังคือ “คุณจะทำอย่างไรให้ผู้คน หยุด – อ่าน – ชม คอนเทนท์ที่คุณนำเสนอพร้อมกับกดไลค์และแชร์ต่อ”

ซึ่งหลักสำคัญนั้นมีง่ายๆ เพียงสามข้อคือ

1) คุณต้องแตกต่างและโดดเด่น ไม่อย่างนั้นคนจะไม่ตามอ่านเรื่องของคุณ ดังนั้นทีมวางกลยุทธ์ต้องระลึกไว้เสมอว่าคอนเทนท์ใดที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของผู้บริหารโดดเด่นขึ้นมาได้
2) ต้องเป็นตัวของตัวเอง การวางภาพลักษณ์นี้ไม่ใช่การสร้างมนุษย์คนใหม่ขึ้นมา แต่ต้องเป็นตัวตนจริงของคนๆ นั้น ดังนั้นในทุกๆ โพสต์ต้องให้ความรู้สึกเสมือนว่าเจ้าของเพจเป็นผู้โพสต์เอง ไม่ใช่ admin มาโพสต์ให้ แม้กระทั่งคำลงท้ายต่างๆ อย่างเช่น “คะ” “ค่ะ” หรือการใช้สรรพนามก็ต้องเป็นสำนวนของเจ้าของเพจทั้งหมด นักวางแผนกลยุทธ์อาจเป็นผู้เขียนเนื้อหาให้ แต่เจ้าของเพจจะต้องเป็นผู้ตรวจทานและแก้ไขเสมอ
3) ต้องมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คอนเทนท์ที่มีคุณค่าต่อสังคมจะได้รับการไลค์และแชร์มากที่สุด โดยเฉพาะคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับการให้กำลังใจ รองลงมาคือการคาดการณ์ต่างๆ จากความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน รวมถึงการให้แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิต

การสื่อสารผ่านอวจนภาษา เช่นการแสดงสีหน้า ท่าทางขณะพูดคุย การเลือกเครื่องแต่งกาย ทุกอย่างที่ปรากฏในภาพหรือวิดีโอที่เป็นคอนเทนท์ของเราล้วนมีผลต่อภาพลักษณ์ของเราทั้งสิ้น

ชุติมาทิ้งท้ายไว้ว่าสำหรับโซเชียลมีเดียของผู้บริหารความถี่ในการโพสต์ที่เหมาะสมคือราว 15-16 ครั้งต่อเดือน หรือ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและช่องทางที่ผู้บริหารจะเลือกใช้ในการสื่อสารด้วย เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม Youtube หรือ Podcast  และคอนเทนท์ที่ดีคือคอนเทนท์ที่ทำงานด้วยตัวเองได้ สามารถเรียกยอดไลค์ยอดแชร์ได้แบบออร์แกนิก ซึ่งหากคอนเทนท์ไหนยังทำงานได้ดีอยู่ เราก็ไม่ควรโพสต์เรื่องใหม่ทับลงไป ควรปล่อยให้มันได้ทำงานอย่างเต็มที่ก่อน

ประวัติโดยย่อ

อ้วน – ชุติมา ดำสุวรรณ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์การทำงานกว่า 20 ปีทั้งในด้านชุมชนสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กรในหลากหลายธุรกิจ ก่อนจะตัดสินใจก้าวออกมาทำธุรกิจของตัวเอง ชุติมาทำงานด้านการสื่อสารแบรนด์ให้กับ Jim Thompson อยู่ถึง 14 ปี ปัจจุบันเธอเป็นเจ้าของเพจ Communicate Different และเป็นนักวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารให้กับผู้บริหารระดับสูง ทั้งในองค์กรธุรกิจและพรรคการเมือง

 

CREATIVE JUICE

บุคคลในฝันที่ชุติมาอยากทำ Personal Branding ให้มากที่สุดคือ ตูน – บอดี้สแลม เพราะนอกจากจะเป็นศิลปินคนโปรดแล้ว ยังรู้สึกประทับใจในความมุ่งมั่นอันแรงกล้าจากภาพยนตร์เรื่อง “ก้าวคนละก้าว” ที่ทำให้เห็นว่าผู้ชายคนนี้เป็นตัวของตัวเอง เสียสละ และเข้าใจคนอื่นอย่างมาก


ผู้เขียน
ชัชรพล เพ็ญโฉม

ชอบคิด ชอบเขียน ชอบเดินทาง ชอบชิม ชอบดู ชอบฟัง ชอบสิ่งเร้าจิตทั้งปวง

รวิศ หาญอุตสาหะ เจ้าของพ็อดคาสท์ Mission to the Moon กับภารกิจการส่งต่อแรงบันดาลใจที่เขาว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของมนุษย์

113
SHARE

KEY FOCUS

  • หน้าที่สำคัญของมนุษย์คือการส่งต่อแรงบันดาลใจระหว่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ Mission to the Moon พยายามทำอยู่
  • สิ่งที่ดีของหนังสือ How to คือมันช่วยให้เราอยากทำอะไรสักอย่างหลังอ่านจบ แต่ข้อเสียคือบางคนอ่านแล้วลอกแนวคิดมาทั้งดุ้นโดยไม่คำนึงถึงบริบทในชีวิตตนเอง
  • 3 ปัจจัยในธุรกิจที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เผชิญปัญหาคือ “คน” “ระบบ” และ “เงิน”
  • ในอนาคตวิชาจิตวิทยาจะเป็นอีกศาสตร์การเรียนรู้ที่สำคัญไม่แพ้ศาสตร์ด้าน AI
  • การลงพื้นที่สังเกตพฤติกรรมผู้บริโภคและการวิเคราะห์ data science บนโลกออนไลน์คือหัวใจสำคัญของธุรกิจ
  • ความสำเร็จเพียงหนึ่งครั้ง…ไม่ได้พิสูจน์ว่าคุณจะทำอะไรก็ได้ในชีวิต

หลายคนอาจรู้จัก แท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทศรีจันทร์สหโอสถ ผู้พลิกชีวิตแบรนด์ SRICHAND เครื่องสำอางเพื่อผิวคนไทยให้กลับมาครองใจสาวๆ เอเชียได้อีกครั้ง แต่วันนี้สมาคมการตลาดขอคุยกับรวิศในอีกบทบาทหนึ่ง นั่นคือการเป็น ‘นักเล่าเรื่อง’ ของเขา ที่สามารถย่อยเรื่องราวสารพัดให้ฟังเข้าใจง่ายและสนุกไปเสียหมด

แท็บ – รวิศ ในวันนี้เป็นเจ้าของ podcast และ facebook page ในชื่อเดียวกันคือ Mission to the Moon ซึ่งเรามองว่าเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่ช่วยเติมความรู้ด้านการทำธุรกิจ การตลาด และข้อคิดหลากหลายในการใช้ชีวิต ที่ส่งผ่านแรงบันดาลใจให้คนไทยก้าวเดินตามความฝันของตัวเอง

จุดเริ่มต้นในการทำพ็อดคาสท์ Mission to the Moon

“ผมทำ podcast นี้มาได้เกินขวบปีแล้วครับ ก็มีหัวข้อพูดคุยกับผู้ฟังทุกวัน (รวม 448 ตอน ณ เดือนมิถุนายน 2562) จุดเริ่มต้นเกิดจากที่ผมพยายามหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อรองรับโลกธุรกิจที่กำลัง disrupt อย่างรวดเร็ว ช่วงแรกผมคิดว่าจะนำองค์ความรู้พวกนั้นมาเขียนเป็นบทความ แต่ไม่สามารถทำได้เพราะสิ่งที่อยากเขียนมีเยอะมาก และมันต้องใช้แรงขับเคลื่อนมากกว่าการพูด สุดท้ายผมจึงเลือกช่องทางการถ่ายทอดผ่าน podcast แทน ซึ่งเมื่อการแชร์ความรู้นี้มาอยู่ในฟอร์แมทของการพูด หัวข้อในแต่ละตอนจึงต้องไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ฟังสามารถติดตามได้ง่าย สอดคล้องกับบริบทของการฟัง podcast ที่คนส่วนใหญ่จะฟังในขณะขับรถ หรือขณะนั่งทำงาน มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะเปิดแบบตั้งใจมากๆ เช่นถ้าเป็นข้อมูลเรื่องตัวเลข ผมก็จะนำเสนอในเชิงเปรียบเทียบว่าตัวนี้น้อยกว่าหรือมากกว่าแค่นั้น เพื่อให้ผู้ฟังติดตามได้ง่ายที่สุด”

ทิศทางการนำเสนอคอนเทนท์ของ Mission to the Moon เป็นยังไง

“Mission to the Moon ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อแชร์ประสบการณ์ระหว่างผู้อ่านและผู้ฟัง podcast ครับ คือผมรู้สึกว่าชีวิตการทำงานของเราทุกคนล้วนต้องเจอทั้งอุปสรรคและความสำเร็จ ผ่านทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย ซึ่งตัวผมเองที่ผ่านมาก็ได้รับแรงบันดาลใจและได้บทเรียนจากหลายๆ สิ่ง ไม่ว่าจะในเรื่องงานหรือเรื่องชีวิต

ผมเชื่อว่ามนุษย์เราส่งต่อแรงบันดาลใจกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หรือบางทีก็ส่งต่อในรุ่นเดียวกันนี่แหละ สำหรับผมแล้วมันเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งของมนุษย์เลยนะ

คุณเคยสังเกตไหมครับว่าในบางวันที่เราเศร้ามากๆ พอได้อ่านข้อความหนึ่งจากหนังสือ หรือจากเฟสบุ๊ค แล้วคุณกลับรู้สึกดีขึ้นมาได้  ไอ้ ‘ข้อความ’ นั่นแหละคือสิ่งที่ส่งต่อแรงบันดาลใจจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งแล้ว หรือในบางครั้งเราก็สามารถใช้ประสบการณ์ของเราให้คำแนะนำกับผู้ฟังที่ส่งคำถามมา ซึ่งหัวใจของ Mission to the Moon ก็คือตรงนี้ เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยากเล่าเรื่อง และหวังว่าสิ่งที่เราเล่าจะส่งแรงบันดาลใจไปถึงใครสักคนที่ฟังอยู่

ทำไมคุณถึงชอบเล่าเรื่องนู้นเรื่องนี้ให้คนฟัง

“จริงๆ ผมเป็นคนพูดเยอะมาตั้งแต่เด็กแล้วครับ (หัวเราะร่วน) จะว่าไปจุดเริ่มต้นมันเกิดจากการที่ผมเริ่มเขียนหนังสือก่อน ซึ่งมันก็ต้องใช้กระบวนการคิดเพื่อหาวิธีถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในหัวเราให้คนอื่นเข้าใจ การเล่าเรื่องสำหรับผมไม่ง่ายเลยนะ ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนพอสมควร ก่อนที่เราจะเขียนให้คนอ่านหรือจะพูดให้คนฟังได้ดี”

โครงสร้างในพ็อดคาสท์แต่ละตอนเกิดขึ้นได้อย่างไร

“อืมม…ผมเป็นคนที่สมัครรับข่าวสารจากหลายๆ แห่งครับ เรียกได้ว่าแทบทุกสำนักข่าว ทุกแหล่งข้อมูลธุรกิจ ฯลฯ คือผมมีข้อมูลในหัวเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้นำเรื่องสดใหม่ ณ วันนั้นมาเล่าหรอก เพราะนั่นเป็นหน้าที่ของสำนักข่าวเขาอยู่แล้ว แต่ผมจะเอาเรื่องที่ยังไม่เก่าและน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ฟังมานำเสนอ เช่น ทำไมเครื่องบิน Boeing 737 Max รุ่นใหม่ล่าสุดถึงโดนระงับการใช้งาน หรือทำไม Jay-Z ถึงเป็นนักร้องคนแรกที่ทำเงินเกินพันล้านเหรียญได้ ฯลฯ นอกจากนี้ผมก็มีหัวข้อที่หนักๆ ในเชิงธุรกิจบ้าง รวมถึงการรีวิวหนังสือที่ผมอ่าน ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยม ที่ผ่านมาพ็อดคาสท์ที่ยาวที่สุดของผมจะเป็นการตอบคำถาม ซึ่งมักจะทำในวันอาทิตย์ ผมตั้งใจให้เวลาตรงนี้มากหน่อย เพราะบางคำถามมันเป็นประโยชน์กับคนฟังได้อีกหลายคนเลย”

คุณคิดเห็นอย่างไรกับหนังสือ How to ที่มักจะเป็น Best Seller ตามร้านหนังสือ

“ผมคิดว่าเหตุผลแรกคือเพราะมันย่อยง่าย สองคือพอเราอ่านหนังสือ How to จบเรามักจะอยากเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง มันแตกต่างจากหนังสือกลุ่มที่อ่านแล้วได้ความรู้ แต่คุณจะลุกขึ้นมาทำอะไรหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่อง แต่หนังสือ How to ก็มีข้อเสียเหมือนกันนะ เพราะบริบทของเนื้อหาจากแต่ละวัฒนธรรม เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่ง ไทย มันไม่ได้เหมือนกัน บางทีการนำ How to ของวัฒนธรรมอื่นมาใช้ทั้งหมดก็อาจทำให้เละได้ หลักสำคัญคือเราต้องทำความเข้าใจวิธีคิดของผู้เขียน แล้วค่อยนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องตามบริบทชีวิตหรือธุรกิจของเรา ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าหนังสือประเภท How to นี้จะคุณจะเจอคำว่า “รวย” กับ “ผอม” เยอะมาก  มันแสดงให้เห็นว่านี่คือค่านิยมที่คนทั่วไปอยากรวยกับอยากผอมหุ่นดี (หัวเราะ)

อย่าลืมนะครับว่าผู้เขียนเขาแค่ทำหน้าที่แบ่งปันสิ่งที่เขาได้สัมผัส ฉะนั้นเวลาเราอ่านก็อย่าเคลิ้มตามหมด ให้รู้จักถกเถียงกับหนังสือด้วย เพื่อค้นหาเหตุและผล รวมไปถึงหลักคิดในบริบทที่แตกต่างกัน ก่อนนำมาปรับใช้กับชีวิตเรา

คุณคิดว่า SMEs ไทยติดบ่วงในเรื่องไหนบ้าง

“เรื่องคน เรื่องระบบ และเรื่องเงิน คือสามสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เจอปัญหาครับ โดยเฉพาะคนกับระบบนี่เรื่องใหญ่ เพราะเงินสมัยนี้ยังพอหาทางเข้าถึงได้ ส่วนตัวผมมองว่า ‘คน’ เป็นปัญหาที่ยากที่สุด และความยากของคนไม่ใช่ใครอื่นนะ คือตัวเราเองนี่แหละ เพราะเรามักมีความเชื่อบางอย่างที่ผิดๆ แต่เราคิดว่าถูก มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้จึงมีอาชีพ ‘โค้ช’ เกิดขึ้นมาเพื่อให้คำแนะนำ

ผมเชื่ออย่างยิ่งว่าเรื่องคนจะเป็นเรื่องที่เราได้ใช้เวลากับมันมากขึ้นในอนาคต เพราะงานอื่นๆ สามารถถูกแทนที่ด้วย AI หมด

ดังนั้นนอกเหนือจากศาสตร์เรื่อง AI ผมคิดว่าศาสตร์ที่จะมีความสำคัญอย่างมากในวันหน้าคือเรื่องจิตวิทยา และมนุษยวิทยา เพราะถ้าเราเข้าใจโครงสร้างความคิดของคนนะ เราจะรู้หมดเลยว่าตอนนี้เขาคิดอะไรอยู่ เรื่องนี้ไม่ง่ายครับ เพราะขนาดแฟนที่อยู่กันมาสิบกว่าปีเรายังไม่รู้ความคิดเขาทั้งหมดเลย นับประสาอะไรกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าที่เรารู้จักเพียงแค่ผิวเผิน”

คุณมองเรื่อง Customer Journey ของลูกค้ากับธุรกิจทุกวันนี้อย่างไร

“ประการแรกคือเราไม่สามารถสรุปแนวคิดการทำงานใดๆ จากแค่ในห้องประชุมครับ ห้ามเด็ดขาด เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารนี่แหละที่ควรจะลงพื้นที่ไปสัมผัสกับชีวิตของผู้คนจริงๆ เราต้องไปคุย ไปสัมภาษณ์ ไปสังเกตพฤติกรรมของเขาให้มากที่สุด อย่าลืมนะครับว่าสิ่งที่เราตั้งสมมติฐานไว้ในห้องประชุมนั้นอาจจะผิดหมดเลยก็ได้ หรือคำตอบที่ผู้บริโภคตอบมาในแบบสอบถามก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการจริงๆ แต่ถ้าเราออกไปสังเกตพฤติกรรม การจับจ่าย การใช้ชีวิต ฯลฯ ของผู้บริโภคด้วยตาตัวเอง นั่นแหละเราถึงจะได้รับคำตอบที่น่าจะเป็นจริงที่สุด

และอีกวิธีหนึ่งคือการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านโลกออนไลน์ วิธีนี้ก็เป็นประโยชน์มากในการทำธุรกิจ เพราะเราจะเห็นพลวัตของข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งก็คือพลวัตของคนที่นั่งอยู่หลังจอคอมหรือจอมือถือนั่นแหละ การวิเคราะห์ big data บนโลกดิจิทัลจะทำให้เราเห็นเลยว่ามนุษย์สองคนที่อายุเท่ากัน ใช้ชีวิตคล้ายๆ กัน ก็ยังมี customer journey ที่แตกต่างกันได้แบบคนละเรื่อง”

ตั้งแต่กลับมาทำงานที่ศรีจันทร์ มีงานไหนที่คุณคิดว่าคุณก้าวพลาดบ้างมั้ย

“ปี 2015 การรีแบรนด์ดิ้งศรีจันทร์ของเราประสบความสำเร็จมาก เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีภาพลักษณ์ร่วมสมัยมากขึ้น สังเกตได้จากการที่ผู้บริโภคหรือคนทั่วไปกลับมาพูดถึงแบรนด์เราอย่างท่วมท้น ตอนนั้นผมมั่นใจในตัวเองมาก คิดว่าจากนี้เราคงจะทำอะไรก็ได้แล้ว เริ่มอยากแหวกแนวเพราะความเชื่อมั่นที่มากเกิน ซึ่งนั่นเป็นชุดความคิดที่ผิดมากครับ หลังจากนั้นแค่สองปี (ปี 2017) ผลิตภัณฑ์ที่เราออกใหม่ถ้าไม่เสมอตัวก็ขาดทุน ถือเป็นปีที่แย่มากๆ

ความผิดพลาดทั้งหมดเกิดจากอีโก้ของผมเอง มันทำให้ผมเรียนรู้ว่าความสำเร็จเพียงครั้งเดียวไม่ได้พิสูจน์ว่าเราจะทำอะไรก็ได้ในอนาคต

สรุปว่าการทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งคือหนทางเดียวในการพัฒนาธุรกิจที่ถูกต้อง หาใช่การคิดเอาเองของผู้บริหารที่เคยประสบความสำเร็จมาก่อน เหมือนกับที่ บิล เกตส์ เคยพูดไว้ว่า ความสำเร็จเป็นครูที่แย่มาก อันนี้เป็นเรื่องจริงครับ ช่วงปี 2017 เป็นปีที่ผมและทีมงานได้รับบทเรียนจากข้อผิดพลาด ซึ่งก็ถือว่าเป็นประโยชน์มหาศาลในการก้าวเดินต่อไปของบริษัท ทำให้เราวางแผนการทำงานอย่างรอบครอบ จนในปี 2018 เราก็กลับมามียอดขายที่สูงขึ้น และในปีนี้ (2019) ก็เป็นปีที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดเลยที่ขายต่ำกว่าเป้า ทั้งหมดเกิดจากการที่เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง”

ภูมิใจกับธุรกิจที่ทำในวันนี้แค่ไหน และมองอนาคตไว้อย่างไรบ้าง

“ก็ภูมิใจระดับหนึ่งครับ เดี๋ยวนี้คนรู้จักแบรนด์ศรีจันทร์มากขึ้นเยอะ นอกจากนี้เรายังมีแบรนด์คอสเมติกส์ชื่อ ‘ศศิ’ (SASI) และอีกแบรนด์หนึ่งที่กำลังพัฒนาอยู่ โดยจะใส่คำว่า Bangkok คู่ไปกับแบรนด์ด้วยเพื่อสร้างความภูมิใจในเมืองที่เราถือกำเนิด ส่วนในอนาคตผมก็หวังว่าในวันหนึ่งเราจะมีที่ยืนในตลาดระดับภูมิภาคและในระดับโลก นั่นคือความฝัน ถึงแม้วันนี้ประเทศเราจะมีเรื่องแปลกเกิดขึ้นมากมาย แต่ผมก็ยังรู้สึกภูมิใจในความเป็นไทยและในเมืองกรุงเทพนะ ผมว่าเราเป็นเมืองที่เจ๋ง เลยอยากเล่าเรื่องราวของกรุงเทพผ่านผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนาด้วย

ติดตามพ็อดคาสท์ Mission to the Moon ได้ทาง soundcloud:missiontothemoon
อ่านเรื่องราวการส่งต่อแรงบันดาลใจเกี่ยวกับธุรกิจ เทคโนโลยี และข้อคิดในการใช้ชีวิตได้ที่ missiontothemoon.co และทางเฟสบุ๊ค facebook:marketingeverythingbook

ภาพประกอบ: Srichand

CREATIVE JUICE

ถ้าเปลี่ยนกรุงเทพได้ คุณอยากเปลี่ยนอะไร

อยากทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่มีความเท่าเทียมกันในการเดินทาง เพราะผมคิดว่ามันเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทชีวิตหลายเรื่อง คนกรุงเทพใช้เวลาเดินทางแต่ละวันเยอะมาก และมีความทรมานด้วย มันส่งผลต่อปริมาณ ‘ความสุข’ ในชีวิต ทั้งในด้านการใช้เวลากับครอบครัว ความเครียดระหว่างวัน ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนในที่นี้ผมอยากเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือเลยครับ เช่นที่อัมสเตอร์ดัมเขาปิดเมืองเพื่อให้จักรยานเข้าอย่างเดียว มีคนเคยกล่าวว่าเมืองที่เจริญไม่ใช่เมืองที่มีรถยนต์แพงๆ แต่เป็นเมืองที่คนทุกฐานะใช้ระบบขนส่งมวลชนร่วมกันต่างหาก”

ถ้ามีโอกาสนั่งดื่มกับใครก็ได้ คุณอยากใช้เวลานั้นกับใคร

“มีสามคนครับ หนึ่งคือคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (นักเขียน) สองคือคุณอานันท์ ปันยารชุน (อดีตนายกรัฐมนตรี) และอีกคนที่ผมอยากดื่มด้วยแต่ท่านไม่อยู่แล้วคือ อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผมรู้สึกว่าคนเหล่านี้มีมุมมองต่อโลกแบบที่ลึกซึ้งแตกต่างจากผม รวิศจะเป็นคนเร็วๆ และฉาบฉวยหน่อย ดังนั้นถ้าเลือกได้จึงอยากนั่งดื่มและสนทนากับคนที่ลุ่มลึก มันเป็นเสน่ห์ที่ผมอยากสัมผัส”

สถานที่ท่องเที่ยวที่ให้แรงบันดาลใจกับคุณ

“ส่วนตัวผมไม่ได้เป็นคนที่เที่ยวเยอะ ถ้าไปทะเลก็จะไปนอนอ่านหนังสือเฉยๆ เวลาเดินทางก็ไม่เน้นกิจกรรม ชอบนั่งเฉยๆ ไม่ต้องทำงานก็พอ (หัวเราะ) สถานที่พักผ่อนที่ผมจะเลือกต้องตอบโจทย์พฤติกรรมข้อนี้ มีมุมเงียบๆ ให้ผมได้อยู่นิ่งๆ ผมมองว่าความเงียบคือ Luxury อย่างหนึ่งนะครับ ในอนาคตเราอาจต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความเงียบนี้ เป็นพื้นที่ที่เราได้ตกผลึก ได้ทบทวนตัวเอง อันนี้ผมไม่ได้หมายถึงความเงียบในเชิงปฏิบัติธรรมนะ แค่เป็นการอยู่กับตัวเองโดยไม่เล่นมือถือ ไม่ดูซีรีย์ ได้เลือกเสพในสิ่งที่มันไม่พุ่งใส่เรา แต่เป็นเราเองที่ค่อยๆ ละเลียดกับมัน เช่นการอ่านหนังสือเป็นต้น”

ไอดอลของคุณ

“พี่ต่อ – ธนญชัย ศรศรีวิชัย ผู้กำกับหนังโฆษณา ครับ สำหรับผมพี่ต่อเป็นคนที่ถ่อมตัวมาก มองโลกในแง่ดีมาก ที่สำคัญคือมีความเพียรมากกว่ามนุษย์ทั่วไป สังเกตจากเวลาทำงานร่วมกัน พี่ต่อจะใส่ใจทุกรายละเอียดแม้เป็นจุดเล็กๆ การทำงานแบบนี้สะท้อนถึงความตั้งใจจริงของมนุษย์และความเป็นมืออาชีพ ส่วนการมองโลกในแง่ดีที่ผมได้ยินมา คือช่วงที่เกิดไฟป่าที่เชียงใหม่ แล้วไฟกำลังลามถึงที่ที่พี่ต่อซื้อไว้ ซึ่งแทนที่พี่เขาจะหาวิธีป้องกันไฟ เขากลับเริ่มค้นหาข้อมูลว่า “ไฟป่ามีประโยชน์อย่างไร” มันเป็นคำถามที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงนะ ผมว่าอันนี้คือทัศนคติที่ดี เป็นการมองสถานการณ์หนึ่งๆ ในเชิงบวก พี่ต่อเป็นคนหนึ่งที่ให้แรงบันดาลใจผมมากๆ ในการดำเนินชีวิต”

 

More Image

ผู้เขียน
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์

เป็นเหมือนร้านค้าสร้างสรรค์ที่ชวนให้ใครต่อใครมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตั้งแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปจนถึงดีไซน์ในอีกซีกโลก อีกมุมหนึ่งเขาคือคนล่องเรือ เดินเมืองเก่า ที่ไม่เคยหยุดเดินทางเพราะความหลงใหลวิถีชีวิตท้องถิ่น

อังคณา ลิขิตจรรยากุล เล่าถึงปรัชญา “ใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต” ตั้งเป้าดันแบรนด์พฤกษาเป็นที่รักของลูกบ้านทุกโครงการ

2.5k
SHARE

KEY FOCUS

  • สำหรับบางคนบ้านคือการลงทุนทั้งชีวิต ดังนั้น Storydoing จึงสำคัญกว่า Storytelling ถ้าแบรนด์พูดแล้วไม่ทำ (หรือทำไมได้) ก็ไม่มีประโยชน์ แถมอาจมีโทษด้วยซ้ำ
  • จุดยืนที่ว่า ‘พฤกษาใส่ใจ เพื่อทั้งชีวิต’ มีองค์ประกอบหลัก 5 ข้อได้แก่ 1) เทคโนโลยีการก่อสร้าง
    2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ 3) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต 4) คอมมูนิตี้ และ 5) งานบริการ
  • ความต้องการบางอย่างของผู้คนยังไม่ถูกค้นพบเนื่องจากความไม่รู้ นักการตลาดมีหน้าที่ค้นหา unknown และ unmet needs เหล่านั้นด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และนำมาพัฒนาเป็นโซลูชั่นที่ยกระดับคุณภาพชีวิตได้
  • Social listening ทำให้แบรนด์รู้ว่าตนกำลังสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมอย่างไร คอนเมนท์จากโลกออนไลน์คือตัวช่วยให้แบรนด์สมัยใหม่ปรับตัวได้เร็ว ความเอาใจใส่เป็นเรื่องของใจเขาใจเรา

พฤกษา เรียลเอสเตส ชื่อนี้การันตีความเป็นผู้นำในวงการอสังหาริมทรัพย์ของไทยมายาวนาน ด้วยการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม รองรับทุกความต้องการของชีวิต ทั้งยังไม่เคยหยุดพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อช่วย ‘จัดการชีวิต’ ให้ดีขึ้นอีกหลายระดับ เป็นอีกครั้งที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยมีโอกาสพูดคุยกับ อังคณา ลิขิตจรรยากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานการตลาดองค์กร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่วันนี้เธอได้เผยแนวคิดการทำงานเบื้องหลังแคมเปญสำคัญ พฤกษาใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต

ความหมายของ ‘สื่อสารให้เข้าใจ…ใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต’

แคมเปญนี้เกิดจากวิสัยทัศน์ของคุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (ผู้ก่อตั้งบริษัทพฤกษา) ที่เรานำมาตีโจทย์เป็นพันธกิจของแบรนด์อีกทีค่ะ คุณทองมาเคยกล่าวว่าอยากเห็นคนไทยมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพดี เราจึงนำคำกล่าวนั้นมาขยายความต่อให้เป็นเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนั้นแท็กไลน์ของแบรนด์ที่ว่า “พฤกษาใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต” จึงครอบคลุมทุกบทบาทของสินค้าและบริการที่เรามุ่งมั่นจะทำให้ลูกบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะในความคิดของหลายคนการซื้อบ้านก็คือการลงทุนทั้งชีวิตนะ ที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องดูแล ซึ่งสำหรับพฤกษาแล้ว การใส่ใจไม่ใช่แค่ story telling แต่เป็น story doing คือพูดแล้วต้องทำจริงให้ได้ เพราะโลกการตลาดทุกวันนี้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนมาก แบรนด์ที่ลูกค้าเชื่อถือต้องมีความเป็นของจริง เทคโนโลยีบนโลกออนไลน์เปิดช่องให้เราทุกคนสืบหาความจริงได้ไม่ยาก ดังนั้นถ้าแบรนด์พูดแล้วไม่ทำ มันก็ไม่มีประโยชน์ แถมอาจจะมีโทษด้วยซ้ำ

‘คุณภาพชีวิตที่ดี’ ในความหมายของพฤกษา

คำว่าคุณภาพชีวิตนี้มันขึ้นอยู่กับโจทย์ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายซึ่งไม่เหมือนกัน บางคนซื้อบ้านเพราะเป็นความต้องการพื้นฐาน บางคนซื้อเพราะเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจ เพราะฉะนั้นในระยะยาวมันอาจไม่ได้มีคำตอบตายตัว แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วคุณภาพชีวิตคือเรื่องของความสุข และนั่นเป็นเรื่องหนึ่งที่ลูกบ้านของเราจะรู้สึกสบายใจได้

ปัจจุบันพฤกษามี 5 แกนหลักที่ทุกคนรู้กันว่าต้องให้ใส่ใจ หนึ่งคือ เทคโนโลยีการก่อสร้าง เราเป็นบริษัทที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยควบคุมมาตรฐานคุณภาพและความสม่ำเสมอ สองคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่จะต้องตอบรับกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างตรงจุด สามคือ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต สิ่งนี้คือกุญแจที่จะช่วยให้ชีวิตประจำวันของลูกบ้านสะดวกสบายมากขึ้น สี่คือ คอมมูนิตี้ หมายรวมถึงภาพรวมภายในชุมชนของทุกโครงการ ที่ต้องให้ทั้งความรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น สะดวกสบาย และห้าคือ งานบริการ ซึ่งเราจำเป็นต้องให้ใส่ใจในทุกทัชพอยท์ ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนการซื้อไปจนถึงหลังการขายค่ะ

สิ่งที่เราพยายามทำคือการเข้าใจ customer journey ให้ได้อย่างละเอียดเพื่อจะนำแบรนด์ของเราไปอยู่ให้ถูกที่

เราต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่วันที่เขาคิดจะเลือกซื้อบ้าน ชีวิตช่วงไหนที่คนมองหาบ้านล่ะ เช่น เพิ่งแต่งงาน หรือเพิ่งมีลูก หรือเมื่อลูกค้าตกลงใจเลือกบ้านเราแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการมอบประสบการณ์และบริการที่ดี เริ่มตั้งแต่การติดต่อธนาคาร ส่งสินเชื่อกู้ กระทั่งถึงการส่งมอบบ้าน พฤกษาเรามีทีมตรวจสอบคุณภาพบ้านก่อนส่งมอบ มีการวัดระดับความพึงพอใจ นี่คือประสบการณ์ร่วมที่ลูกบ้านทุกคนของเราจะได้รับค่ะ

ปัจจุบันนี้ พฤกษา เรียลเอสเตท แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็นกี่ประเภท

ถ้าเราใช้ลักษณะหรือรูปแบบของการอยู่อาศัยมาจัดกลุ่ม ปัจจุบันเรามีทาวน์เฮ้าส์ 4 แบรนด์ ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มีโครงการบ้านเดี่ยว 3 แบรนด์คือ The Plant, Passorn และ The Palm ส่วนคอนโดเรามีหลายแบรนด์มาก ตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้าตั้งแต่ระดับ Value ไปจนถึงระดับ Premium

เล่าถึงตัวอย่างการริเริ่มโปรเจ็กท์ที่น่าสนใจของปีนี้

ปีนี้เรามีโครงการ Pruksa Living Tech ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกนนวัตกรรมที่เรากล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ค่ะ โปรเจ็กท์นี้คือการคัดสรรเทคโนโลยีที่เราเชื่อว่าจะตอบโจทย์ความต้องการเชิงลึกของลูกบ้านได้มาพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 หัวข้อหลักคือ Green, Health, Safety, และ Smart และภายใต้หัวข้อเหล่านี้ก็จะมี insight ที่แตกต่างกัน นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมารองรับวิถีการอยู่อาศัยของลูกบ้านพฤกษาค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น O2 Lounge ที่อยู่ภายใต้หัวข้อ Health บริการนี้เราพัฒนาขึ้นจากวิกฤติมลพิษ เรื่องฝุ่นและคุณภาพอากาศ ในบางโครงการเราจึงจัดให้มีออกซิเจนเล้าจน์ (O2 Lounge) เป็นห้องที่ปล่อยออกซิเจนคุณภาพสูงสุดออกมาให้ลูกบ้านได้มานั่งพักปอดพักสมองกันได้ เพราะจากงานวิจัยเราพบว่าสมองของมนุษย์จะปลอดโปร่งขึ้นมากหากได้รับออกซิเจนในระดับที่เหมาะสม นี่คือหนึ่งใน Living Tech ที่เรานำ insight และประเด็นในสังคมมาออกแบบเป็นบริการรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ลูกบ้าน

หรือถ้ามองในมุมของความปลอดภัย (Safety) ทุกวันนี้ครอบครัวที่ซื้อบ้านเดี่ยวจะมีข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยมาก จากแต่ก่อนที่เคยมีประตูแค่สองชั้น (Double gate) วันนี้เราทำประตูสามชั้นให้ลูกบ้านเลย (Triple gate) เชื่อไหมคะว่าการยกระดับเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย มันสามารถจะเปลี่ยนความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยได้มาก

ส่วนในหัวข้อเรื่อง Green ทุกวันนี้เราได้เพิ่มการใช้เทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ไว้ในส่วนกลาง และดีไซน์ระบบหมุนเวียนถ่ายเทอากาศในทาวน์เฮ้าส์ให้ดีขึ้น สุดท้ายในส่วนของ Smart Tech เราได้เพิ่มระบบ Home Automation ไว้ในบางโครงการแล้ว บางโครงการมีกระทั่งกระจกอัจฉริยะที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเสิร์ชเน็ต-เล่นโซเชียลบนกระจกในห้องน้ำได้เลย ซึ่งทั้งนี้เราจะคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด มานำเสนอแก่กลุ่มลูกบ้านที่มีไลฟ์สไตล์และความต้องการแตกต่างกันไป

แนะนำวิธีเก็บข้อมูลวิถีชีวิตมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมให้สักเล็กน้อย

เราได้รับข้อมูลดิบมาจากเครื่องมือที่หลากหลายมากค่ะ ทั้งการทำ social listening การเข้าไปคุยกับลูกบ้าน การศึกษาเทรนด์ เพราะบางครั้งความต้องการบางอย่างของผู้คนยังไม่ถูกค้นพบเนื่องจากความไม่รู้ (unknown & unmet need) เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เราสร้างขึ้นบางทีไม่ได้มาจากคำขอของผู้บริโภคตรงๆ  แต่มันมีเครื่องมืออีกหลายอย่างที่เรานำมาใช้ในการประมวลผลและสร้างบทสรุปร่วมกัน บางทีก็ต้องศึกษาตัวอย่างที่น่าสนใจจากต่างประเทศด้วย ฯลฯ ทีมการตลาดต้องเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อจะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้คนในบริบทที่ต่างกันไป

นอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยี เรื่องของการออกแบบบ้านมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกระตุ้นให้เรารับรู้ว่างานดีไซน์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดีเทลเพียงเล็กน้อยเช่นขั้นบันไดที่เตี้ยลง คนหนุ่มสาวอาจไม่รู้สึกอะไร แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วมันมีผลกระทบมหาศาล ในบางโครงการที่ลูกบ้านเป็นครอบครัวใหญ่ มีปู่ย่าตายายอยู่ด้วย เราก็จะลดความสูงของขั้นบันไดลง หรือปรับบางส่วนให้เป็นทางลาด และทำราวจับให้พอดี นอกจากนั้นเรายังดีไซน์ห้องส่วนตัวชั้นล่างเป็นห้องเอนกประสงค์เพิ่มเติมขึ้นมา ในกรณีที่ครอบครัวไหนมีสมาชิกสูงวัยก็สามารถปรับเป็นห้องนอนได้เลย นี่คือแนวคิดที่พฤกษาพยายามทำให้บ้านทั้งหลังเป็นพื้นที่ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน

การตลาดออนไลน์กับเรื่องแบรนด์ดิ้ง

สื่อออนไลน์มีข้อดีที่เป็นเรียลไทม์ เห็นผลชัดเจน ประมวลผลได้เร็ว สมัยก่อนกว่าเราจะรู้ถึงผลลัพธ์ของโจทย์บางอย่าง เราต้องรอกันเป็นเดือน แต่ทุกวันนี้เราแค่รับฟัง social listening ก็รู้ฟีดแบ็คได้ทันทีว่ามาร์เก็ตติ้งแคมเปญหนึ่งสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมอย่างไร  คอมเมนท์ทั้งดีและไม่ดีจากโลกออนไลน์ช่วยให้แบรนด์จะปรับตัว และขับเคลื่อนการสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าสมัยก่อน

ถ้าแบรนด์รู้ฟีดแบ็คช้า ความเสียหายก็อาจเพิ่มมาก แต่ถ้ารู้เร็ว ก็แก้ไขได้เร็ว มันเป็นเรื่องของใจเขาใจเราด้วย

นอกจากนี้โลกออนไลน์ยังมีประโยชน์ในเรื่องการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เมื่อก่อนเราเข้าใจคนได้ในไม่กี่มิติ จากแค่ข้อมูลประชากรศาสตร์ ฯลฯ แต่วันนี้เรารู้จักลูกค้าคนหนึ่งในแทบทุกมิติชีวิต เช่นรู้ว่าคนๆ นี้มีแนวโน้มกำลังจะซื้อบ้าน เขามีรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างไร ทำงานแถวไหน น่าจะซื้อบ้านแบบไหน การยิงโฆษณาต่างๆ ไปหาเขาก็จะแม่นยำมากขึ้น เพราะเราเข้าใจผู้บริโภคได้ดีขึ้นในทุกมุมค่ะ

ประสบการณ์แบบไหนที่พฤกษาต้องการมอบให้แก่ลูกบ้านทุกคน

เราจะมองลูกบ้านเป็นเสมือนคู่ชีวิต ร่วมกันทำให้ทุกเรื่องดีขึ้น ไม่ได้แบ่งว่าเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็ก ทุกเรื่องสามารถขับเคลื่อนหรือสร้างความแตกต่างได้ ถ้ามันเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของเขา

การสร้างประสบการณ์ที่ดีคือการ delight customer ทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้มากกว่าที่คิดไว้ ได้ประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับเขาคนเดียว

วลีที่ว่า “ใส่ใจ เพื่อทั้งชีวิต” นี้จะต้องอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรของเราเลย ไม่ใช่แค่แคมเปญการตลาด  เราพยายามสร้างจุดยืนนี้ให้อยู่ในใจพนักงานทุกคน เรื่องเล็กน้อยของลูกค้าจะไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับเรา ดังนั้น Story doing เป็นสิ่งที่ฝ่ายการตลาดทำเองคนเดียวไม่ได้นะคะ ทั้งองค์กรต้องช่วยกัน คือถ้าเราไม่ได้ ‘เอาใจไปใส่’ มันก็สร้างเรื่องเหนือความคาดหมายขึ้นไม่ได้หรอก ตั้งแต่พนักงานขาย ฝ่ายก่อสร้าง คนดูแลระบบบริการ ฯลฯ เราต้องพร้อมช่วยเหลือลูกบ้านในทุกขั้นตอน เพราะความสำเร็จสูงสุดของพฤกษาคือการทำให้คำว่า ‘ความใส่ใจ’ นี้ไม่ใช่แค่แท็กไลน์ทางการตลาดเท่านั้น แต่เป็นระเบียบวาระขององค์กรทั้งองค์กรเลย

ภาพ: ศรัณย์ แสงน้ำเพชร


ผู้เขียน
กมลกานต์ โกศลกาญจน์

นักเขียนด้านการออกแบบ วัฒนธรรม และไลฟ์สไตล์

สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ Game Changer แห่ง พฤกษา โฮลดิ้ง แชร์กลยุทธ์ทำงานอย่างไรให้ชีวิตมีสุข

2.5k
SHARE

KEY FOCUS

  • การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรต้องใช้เวลา และผู้บริหารต้องพูดจริงทำจริง ถึงจะสร้างการยอมรับสนับสนุนได้
  • แรงงานคนจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้มี ‘ความสร้างสรรค์’ และ ‘ทักษะ’ ที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้
  • ผู้นำยุคใหม่ต้องเข้าใจและสื่อสารกับคนได้ทั้ง 4 รุ่น คือ Baby Boomer, Gen X, Gen Y และ Gen Z
  • 6 เทรนด์มาแรงในธุรกิจอสังหาฯ ได้แก่ Smart Living, Green Living, Sharing Economy, Ageing Society, Rent and Second-handed Home และ Infrastructure
  • 3 Ps แห่งความสำเร็จของผู้นำคือ 1) Purpose 2) Passion และ 3) Persistence

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้หญิงไทยคนหนึ่งจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในบริษัท FMCG ระดับโลกอย่างยูนิลีเวอร์ได้ แต่คุณจุ๋ม – สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ที่เรานั่งคุยด้วยวันนี้เธอก็ทำสำเร็จมาแล้ว  ในวัยห้าสิบกว่าเรากล้าบอกเลยว่าผู้หญิงเก่งคนนี้ยังไม่หมดไฟ เธอเลือกที่จะพาประสบการณ์ร่วมสามทศวรรษ ‘ข้ามสายธุรกิจ’ มารีแบรนด์และสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับกลุ่มบริษัทพฤกษา โฮลดิ้ง (Pruksa Holding) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่คนไทยรู้จักกันดีมากว่า 25  ปี

เล่าถึงนิยามของ Game Changer ที่คุณบอกว่า ‘เป็นมาตลอดชีวิตการทำงาน’

อันดับแรก คือ เรากล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเสมอค่ะ ไม่ชอบทำอะไรตามคนอื่น ชอบเรื่องท้าทาย
สอง คือ เป็นคนชอบแก้ปัญหา โจทย์เลขยากๆ นี่จะชอบทำ ยิ่งทำได้ก็ยิ่งอยากทำโจทย์ที่ยากขึ้นอีก (หัวเราะ)
สุดท้าย คือ เป็นคนชอบลงมือทำ เราจะภูมิใจก็ต่อเมื่อเห็นผลงานสำเร็จ เป็นคนประเภท action oriented และ achievement driven ซึ่งเวลาเราเจอโจทย์ใหม่ๆ ข้อดีคือมันทำให้เราเป็นคนอ่อนน้อม อีโก้ลดลง ที่สำคัญคือไม่ลืมตัว เปิดใจรับฟัง ได้เรียนรู้ ได้คิด และพัฒนาตัวเอง

ถ้าเรากำลังทำอะไรที่ซ้ำกับเครื่องจักร หรือทำในสิ่งที่หุ่นยนต์ทำแทนได้ อันนั้นเราแย่เลย วันนี้โชคดีที่เรายังมีคุณสมบัติบางอย่างในตัวที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้

มองย้อนไปชีวิตเรามีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า big game changing ในหลายมุมเหมือนกันนะ ในเรื่องงานเราเริ่มต้นจาก support function แล้วก็มาทำ market research แล้วก็โดดมา media ต่อมาย้ายอีกมาเป็นนักกลยุทธ์ จากนั้นค่อยย้ายมาเป็นทัพหน้าทำมาร์เก็ตติ้ง เป็น GM ดูฝ่ายขาย จนสุดท้ายถึงขึ้นมาเป็น CEO  แต่ถ้ามองในมุมของ industry เราเริ่มจากธุรกิจ laundry ก่อน แล้วข้ามมาดูอาหาร มาดู personal care ดู beverage ดูไอศครีม จนล่าสุดย้ายมาดูอสังหาฯ หรือถ้ามองในมุมของ geography เราก็โยกย้ายมาเยอะ จากประเทศไทยข้ามไปดูที่มาเลเซีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9 ประเทศ อะไรแบบนี้

ความภูมิใจสูงสุดตั้งแต่รับหน้าที่แม่ทัพใหญ่ของพฤกษา

ตอนเป็น CEO ของยูนิลีเวอร์ก็ภูมิใจมากแล้ว เพราะบริษัทต่างชาตินี้อยู่ในเมืองไทยมา 80 กว่าปีมี CEO ไทยแค่ 2 คน เราเป็นคนที่ 2 และเป็นคนแรกเลยที่เป็นผู้หญิง แต่ที่ภูมิใจที่สุด ณ วันนี้คือการที่เราได้นำเอาประสบการณ์ที่สั่งสมมา 26 ปี มาช่วยรีแบรนด์และกำหนดวิถีการตลาดใหม่ให้กับธุรกิจของคนไทย เรากำหนดเป้าหมายให้กับแบรนด์ที่ไม่ได้พูดเฉพาะกับคนอื่น แต่เราพยายามเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจากข้างในเพื่อให้มันสร้างอิมแพ็คไปสู่ภายนอกได้เอง

ในบางธุรกิเป้าหมายและ คุณค่าของแบรนด์กับขององค์กรเป็นคนละเรื่องกันเลยคือพูดกับคนข้างนอกอย่างหนึ่ง พูดกับพนักงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรามองว่านั่นไม่ถูกต้อง

การที่เรามารีแบรนด์พฤกษาในวัยเบญจเพสนี้เปรียบได้การสร้างจุดเริ่มต้นใหม่ให้กับธุรกิจในยุคดิจิทัล พฤกษาจะเป็นทั้ง purposeful company และ purposeful branding นี่คือที่มาของคำว่า ใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต ที่เราพยายามสื่อสารให้ทุกคนรู้ว่าหน้าที่ของเราไม่ใช่แค่ซื้อที่ สร้างบ้าน และขายบ้านเท่านั้นนะ แต่เป็นการส่งมอบบริการและคุณภาพสินค้าให้กับลูกค้าด้วยความสุขในใจของเรา

ขั้นแรกคือเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก House มาสู่ Home ก่อน และปีนี้จะยกระดับเป็น Living Solutions เราต้องการทำมาร์เก็ตติ้งที่มีจิตวิญญาณ เกิดจากความจริงใจ จากปณิธานความมุ่งมั่น ตอนนั้นเราเลือกใช้คุณตูน บอดี้สแลม มาเป็น brand endorser ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาก แบรนด์พฤกษากระโดดมาเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในโซเชียลมีเดียติดต่อกันหลายเดือน ส่วน negative impact ที่เมื่อก่อนเราอยู่อันดับต้นๆ เดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่แล้ว ระดับความพึงพอใจของลูกค้าสูงกว่า 90% ต้องขอขอบคุณสมาคมการตลาดฯ ด้วยที่ให้รางวัลเราในปีที่แล้ว

แนวคิดในการเปลี่ยนแปลง คนและ ัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงสองเรื่องนี้ต้องใช้เวลาค่ะ แต่ที่สำคัญคือต้องมีความจริงใจ ผู้นำต้อง walk the talk คือพูดแล้วต้องทำจริง คนต้องสัมผัสได้ด้วยใจ เขาต้องเชื่อเราก่อนว่าเราไม่ได้ทำเพื่อตัวเองนะ เราทำเพื่อองค์กร เพื่อพวกเขาทุกคน ซึ่งตรงนี้เราจะไปเร่งความคิดคนไม่ได้ แต่เราเร่งที่ตัวเราเองได้ ต้องแสดงผลงานแบบ quick win ถ้าลูกน้องเห็นความทุ่มเทที่มาคู่กับความสำเร็จเมื่อไหร่ การเปลี่ยนแปลงก็จะได้รับการสนับสนุนมากขึ้น

Leadership สไตล์ไหนที่คุณมองว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในโลกปัจจุบัน

ตอนนี้ตลาดแรงงานประกอบไปด้วยคน 4 รุ่น คือ Baby Boomer, Gen X, Gen Y และ Gen Z เรียกว่าเป็นยุคไฮบริด ผู้นำจากยุค Baby Boomer หรือ Gen X อาจจะตามเทคโนโลยีทันบ้างไม่ทันบ้าง แต่จะขยัน อดทน ทุ่มเท ในขณะที่ลูกน้อง Gen Y และ Gen Z ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีเขาก็จะมีแนวคิดและสไตล์การทำงานไม่เหมือนคนรุ่นก่อน ดังนั้นผู้นำที่ดีจะต้องเข้าใจและเข้าถึงคนทั้ง 4 กลุ่มนี้ ต้องเชื่อมโยงความต่างของพวกเขาให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องยากนะ คนรุ่นห้าสิบอย่างเราต้องคบเด็กไว้จะได้ไม่ตกยุค (หัวเราะ) แล้วเด็กรุ่นนี้จริงๆ ก็คือลูกค้าของเราในอนาคต ถ้าเราเข้าใจ insight ของเขาได้ถ่องแท้ เราก็นำมาใช้ในการกำหนดวิถีการทำธุรกิจได้

ความท้าทายในโลกยุค 4.0 องค์กรรุ่นเดอะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง

ต้องปรับเยอะค่ะ เทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะต่อไปธุรกิจทุกแขนงจะใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่มนุษย์ ยิ่งเทคโนโลยี 5G มาเมื่อไหร่ ความเร็วในชีวิตคนก็จะเปลี่ยน ซึ่งถ้าเราไม่ปรับเราก็ไม่รอด องค์กรใหญ่ๆ อย่างพฤกษาเองก็ต้องกลับมาดูโครงสร้างพื้นฐานว่าเรามีความพร้อมแค่ไหนแล้วที่จะรองรับการมาถึงของเทคโนโลยีใหม่  เรามีระบบ Cloud, Internet of Things, Big Data พวกนี้พร้อมแล้วหรือยัง เพราะต่อไปสิ่งที่พูดมานี้จะกลายเป็นกระดูกสันหลังของงานโอเปอเรชั่นและงานมาร์เก็ตติ้งทุกอย่าง แต่สำหรับพฤกษาเราไม่ตกขบวนแน่นอนค่ะ เป้าหมายของเราคืออย่างน้อยเราต้องก้าวให้ไกลกว่าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ

แทกไลน์ใหม่ของแบรนด์ที่ว่าพฤกษาใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต”’มีที่มาที่ไปอย่างไร

มันเริ่มจากพันธกิจของคุณทองมาที่อยากสร้างบ้านคุณภาพดีแต่ราคาไม่แพงมากให้คนไทยได้อยู่อาศัย ซึ่งเราก็มาขยายความต่อว่าสำหรับบางคน บ้านคือการลงทุน ‘ทั้งชีวิต’ นะ เราถึงต้องมุ่งมั่นที่จะส่งมอบบ้านที่อยู่แล้วมีความสุขให้กับเขา ส่วนคำว่า ‘ใส่ใจ’ มีนัยยะถึงพนักงานของพฤกษาทุกคน ที่สามารถจะทำให้ good กลายเป็น great ได้ หากเราทุกคนใส่ใจเพิ่มขึ้นทั้งเรื่องการก่อสร้าง การขาย การบริการ การบริหารงานบุคคล ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรของเราส่งมอบสินค้าและบริการที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้กับสังคมไทย

เทรนด์ไหนบ้างที่จะมีบทบาทต่อธุรกิจอสังหาฯ ในอนาคต

เรามองว่ามี 6 เทรนด์ที่มาแน่ๆ คือ 1) Smart Living เช่นเรื่อง Home Automation ที่ทุกอย่างสั่งการได้จากมือถือ จะเปิดปิดแอร์ เปิดปิดไฟ ตั้งระบบความปลอดภัย แจ้งซ่อม จองคลับเฮ้าส์ ฯลฯ ทุกอย่างจะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยหมด 2) Green Living เช่นจะออกแบบบ้านอย่างไรให้ประหยัดพลังงาน หรือจะนำเทคโนโลยี O2 System มาช่วยลดความเครียดได้ไหม 3) Sharing economy ข้อนี้จะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ไม่สามารถซื้อทุกอย่างเป็นของตัวเองได้ เช่นถ้าบ้านทั้งหลังแพงไป คนยุคใหม่อาจจะซื้อแค่ห้องนอนแล้วแชร์ฟังก์ชั่นอื่นๆ กับเพื่อนบ้าน  4) Ageing Society ชัดเจนว่าการออกแบบบ้านสมัยใหม่ต้องตอบรับกับชีวิตของคนวัยเกษียณ 5) Rent and Second-handed Home เป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ที่มีที่ดินจำกัด ถ้าราคาบ้านใหม่แพงมาก ผู้คนจะหันไปดูบ้านมือสองหรือบ้านเช่าแทน  6) Infrastructure เรื่องนี้กรุงเทพฯ เราเห็นชัดเจนที่สุด ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกันจะส่งผลให้ไลฟ์สไตล์ ‘คนเมือง’ เปลี่ยนไปมหาศาล

คุณมีความเห็นอย่างไรที่นักการตลาดสมัยใหม่บอกว่า ‘Every product is turning into some kind of service’

เป็นเรื่องจริงนะ เดี๋ยวนี้ไม่มีใครซื้อบ้านที่อิฐ หิน ปูน แล้ว เขาซื้อเพราะมันมีคุณค่าอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น หลักๆ คือมีบริการเพื่อไลฟ์สไตล์ที่มีคุณภาพ เช่นเรื่อง Internet of Things, Home Automation ฯลฯ  แบรนด์ดิ้งก็ต้องผูกโยงกับค่านิยม ไลฟ์สไตล์ และภาพลักษณ์ที่เฉพาะเจาะจง แนวโน้มนี้แหละคือสิ่งที่บ่งบอกว่าโปรดักท์ในวันนี้มันคือทั้งเซอร์วิสและอิมเมจ มันเป็น added valued ที่ทำให้เกิดความยั่งยืนต่อแบรนด์ในระยะยาว

สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าหน้าที่ของมาร์เก็ตติ้งคือการสร้างเอกลักษณ์บางอย่างที่ผู้บริโภคชื่นชม แม้เราจะมีเซอร์วิสหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยอย่างไร แบรนด์อิมเมจที่ดีคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเติบโต

พูดถึง โรงพยาบาลวิมุตที่เป็นธุรกิจกลุ่มใหม่ของพฤกษา

เรื่องนี้เป็นความฝันของคุณทองมา – ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัทเลยค่ะ ท่านมองว่าที่อยู่อาศัยคือหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งการรักษาพยาบาลเองก็เช่นกัน โรคภัยไข้เจ็บเป็นอะไรที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณทองมาเห็นว่าโรงพยาบาลรัฐมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็ราคาสูงเหลือเกิน  Pain point นี้คือที่มาของโรงพยาบาลวิมุตที่จะเป็นทางสายกลางให้กับการรักษาพยาบาลที่ดี คนชั้นกลางจะเข้าถึงได้ นี่คือส่วนหนึ่งที่เราตัดสินใจเลือกทำงานกับพฤกษา เพราะเรารู้สึกศรัทธาในปณิธานและความตั้งใจของคุณทองมา จำได้ว่าตอนคุยกันเรื่องนี้เราบอกคุณทองมาว่าเราทำโรงพยาบาลเองคนเดียวไม่ไหวหรอก แต่คุณทองมาบอกว่าถ้าเราไปจับมือกับหุ้นส่วนแล้วเกิดมีความคิดไม่ตรงกัน เช่นถ้าเขาจะเอาแต่เงิน สุดท้ายปณิธานของเราก็จะบิดเบี้ยว เลยตัดสินใจว่ายังไงก็ต้องทำกันเองและหาคนที่มี value ตรงกันมาช่วย

การสร้างสรรค์พลังบวกสำคัญอย่างไร ทำไม ความสุขของทุกคน’ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการบริหาร

ง่ายๆ เลยคือดูจากตัวเองค่ะ เวลาเรามีความสุข งานก็จะออกมาดี ความสุขในการทำงานเกิดจากการที่เรามีจุดมุ่งหมาย เรารู้ว่าเรากำลังทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร ไม่ใช่ทำไปเพื่อรอรับเงินเดือนอย่างเดียว เป้าหมายนี้มีประโยชน์มากนะคะ บางทีแม้ยังเดินไปไม่ถึง แต่เราก็ได้เรียนรู้ ได้พัฒนา และได้เติมเต็มคุณค่าบางอย่างในใจเราเสมอ คนที่จะมีความสุขในการทำงานคือคนที่รู้ว่าตัวเองมีความสำคัญต่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง นั่นคือได้ทำในสิ่งที่ส่งผลต่อคนอื่นๆ ในสังคมด้วย

บุคลิกของผู้นำรุ่นใหม่ที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ต้องมี 3Ps ค่ะ คือ 1) Purpose รู้ว่าจุดมุ่งหมายของเราคืออะไรในชีวิตในการทำงาน ถ้าจุดมุ่งหมายชัดเจน แม้เจออุปสรรคเราก็จะไม่อ่อนไหวท้อถอยง่าย  2) Passion คือมีความรักและภูมิใจในสิ่งที่ทำ หรือที่เรียกกันว่าทำงานด้วยใจ ข้อนี้ทุกคนต้องหาให้เจอ ต้องหัดมองว่างานส่วนไหนที่เรารักแล้วเอาใจไปโฟกัสตรงนั้น
3) Persistence คือมีความวิริยะอุตสาหะ ผู้นำต้องอดทนมากๆ เพราะความสำเร็จมันเกิดจากความทุ่มเทระยะยาว เหมือนนักวิ่งที่อยากได้เหรียญทองโอลิมปิกก็ต้องฝึกๆๆๆ เพื่อที่จะไปแข่งวิ่งเพียงไม่กี่นาทีในงานที่ 4 ปีมีครั้ง

 

ภาพ: พฤกษา โฮลดิ้ง


ผู้เขียน
ชัชรพล เพ็ญโฉม

ชอบคิด ชอบเขียน ชอบเดินทาง ชอบชิม ชอบดู ชอบฟัง ชอบสิ่งเร้าจิตทั้งปวง

สมัครรับข่าวสาร

logo