One of three columns
One of three columns
One of three columns

MAT Vaccine For Business EP.2

82
SHARE

สร้างประสบการณ์หน้าร้าน อย่างไรให้ปัง!

ในยุคนี้ เป็นยุคที่นักการตลาดแทบจะไม่ได้แยกออกจากผู้ประกอบการแล้ว เพราะออนไลน์สร้างโอกาส ให้คนทุกคนสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ แล้วผู้ประกอบการทุกคนที่จะขายของได้ ต้องมีหัวใจการตลาด ซึ่งการที่สมาคมการตลาดเริ่มต้นจัดทำ live จากแนวคิดว่าอยากจะช่วยเหลือผู้ประกอบการในยุคโควิด เพราะว่าหลายๆคนอาจจะมีสินค้าที่ขายของอยู่แล้ว หรือบางคนอาจจะทำงานประจำแต่สถานการณ์นี้ต้องหยุดงานไปรายรับไม่มี ซึ่งทางเลืกที่หลายๆคนทำก็คือเริ่มขายของ เราก็เลยชวนผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์การขายของออนไลน์มาสอนว่าต้องทำยังไง และเอาสูตรสำเร็จจากประสบการณ์ของทุกท่านมารวมกัน

จากตอนที่แล้ว ในเรื่องของการเปิดร้านออนไลน์ การสร้าง branding สินค้าที่ไม่ต่างทำอย่างไรให้ต่าง วันนี้มาคุยกันต่อ หากว่าเราหลังจากEP.1 ได้เริ่มเปิดร้าน มีชื่อร้าน มีสินค้าเตรียมพร้อมขาย ในสินค้าที่มีมากมาย ทำยังไงให้คนมาซื้อกับเรา เราจะสร้างประสบการณ์อย่างไร? ซึ่งยังอยู่กับทั้ง 3 ท่าน
จากตอนที่แล้ว
คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาด และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด
คุณธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและวางแผนกลยุทธ์การตลาด บริษัท สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 10 คนไทยที่ได้รับการคัดเลือกจาเฟซบุ๊กให้เป็น Alpha Tester หรือทดลองเครื่องมือการตลาดใหม่ๆบนเฟซบุ๊กรายแรก
คุณยุทธนา เทียนธรรมชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเดย์ เฟรช จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลไม้ออนไลน์คนแรกของประเทศไทย

จริงๆแล้วการสร้างความประทับใจสำหรับการมีหน้าร้านก็ง่าย เพราะการบริการที่ดี พนักงานที่ยิ้มแย้ม ต้อนรับและตอบคำถาม ก็สามารถสร้างประสบการณ์ และความประทับใจได้ แล้วถ้าเป็นหน้าร้านออนไลน์ เราจะทำยังไงให้คนเลือกเรา? และสร้างประสบการณ์ที่เรียกว่า Seamless Experience

เราต้องมี Seamless Experience อธิบายคำนี้ง่ายๆ คืออะไร?

ในภาพการขายออนไลน์สามารถคิดให้เกิด Seamless Experience ได้โดย

การเริ่มคิดตั้งแต่ลูกค้าที่ยังไม่เคยคิดอยากได้สินค้าเราเลย > จนเริ่มสนใจ แล้วรู้จักเราหรือยัง พอรู้จักเราแล้ว > เลือกซื้อเรารึเปล่า หากเทียบกับคู่แข่ง จนกระทั่งติดต่อมา > แล้วจ่ายเงินหรือยัง หรือจะซื้อเพิ่มมั้ย จะส่งของอย่างไร เป็นต้น

คำถามเหล่านี้ คือคำถามที่ทุกธุรกิจ ต้องมีคำตอบ เพื่อจะหาให้ได้ว่า ขั้นตอนต่างๆที่ลูกค้าจะมามีประสบการณ์กับร้านของเรา เราจะคุยกับ หรือทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกราบรื่น และประทับใจที่สุดในทุกๆขั้น

ถ้าเราเริ่มแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่ม ก็จะเริ่มมีคำตอบมากขึ้น ว่าเราจะสร้าง Seamless Experience ได้อย่างไร (ศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวข้องก็จะมีคำว่า Consumer Journey, Funnel Marketing ซึ่งท่านที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อได้)

อยากได้ > รู้จัก > เลือก ให้แต่ละขั้นตอนต่อเนื่อง โดยไม่หลุดหายไป

เพราะหลายครั้งที่ลูกค้าคุยกับเราแล้ว แต่ก็ไปเลือกซื้อกับร้านอื่น ขอยกตัวอย่างวิธีที่จะดึงให้ลูกค้าอยู่กับเราตั้งแต่ต้นจนจบ จากการกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้าชิ้นนี้คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่ไม่เคยรู้ตัว พอเกิดความอยากได้แล้วมาเลือกเรา จนซื้อของเรา

ถ้าการที่ลูกค้าจะเลือกพิมพ์เพื่อค้นหาร้านเรา แปลว่าเราต้องสร้างแบรนด์เป็นที่รู้จักในระดับนึง ถ้าเราเป็นร้านใหม่ วิธีที่จะทำให้ลูกค้ามาเจอเราได้ คือการตั้งชื่อเพจ ยึดจากคีย์เวิร์ดบางคำ บรรจุภัณฑ์ราคาถูก ขายส่ง จากโรงงาน

กลุ่มลูกค้ามักจะเห็นเราจากหน้าฟีด วิธีที่ง่ายที่สุด คือการใช้เครื่องมือโฆษณาของ Facebook เราจะพูดถึงเครื่องมือโฆษณาในตอนท้าย แต่สิ่งที่ลูกค้าเห็นจริงๆ คือ Content ของรูปภาพ หรือวิดีโอที่เราใช้สื่อ

“การที่เราจะสื่อสารกับลูกค้า เราควรรู้ว่า เรื่องราวที่จะเล่าให้คนเห็นผ่านฟีด กลุ่มที่เราจะเล่า เป็นกลุ่มที่รู้จักเราหรือยัง?”

ในกรณีของ สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ ขายยางกัดของเด็ก รูปผลไม้ / ยีราฟ ในช่วงปี 2012 คนไทยยังไม่รู้จักยางกัด รู้จักเพียงจุกนมหลอก (pacifier) ฉะนั้นเข้าใจว่าลูกค้าจะไม่มีความต้องการ คือ คนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องการ หรือต้องใช้มัน

จึงนำไปสู่ Content ให้ความรู้ว่า “ลูกของคุณกำลังเอามือเข้าปากบ่อยๆ น้ำลายไหลเยอะ หงุดหงิด รอ้งไห้ โดยไม่มีสาเหตุใช่มั้ย?” “อาการเหล่านั้นเป็นเพราะว่าเด็กๆเริ่มคันเหงือกแล้ว เค้าก็เลยต้องเอานิ้วไปกดเหงือกให้นิ่มลงเพื่อที่ฟันจะโผล่ขึ้นมาง่ายขึ้นนั่นเอง”เมื่อเลือกยิงโฆษณาไปที่กลุ่มคุณแม่ เค้าก็จะรู้แล้วว่าอาการที่ลูกเค้าเป็น สาเหตุมาจากการคันเหงือกนั่นเอง หลังจากนั้น ก็คัดกลุ่มคนที่เคยดูวิดีโอ หรือเคยเห็นโฆษณานี้แล้ว ยิงโฆษณากลับไปต่อว่า “ตัวสินค้าของเรามีหลากหลายและมี มอก. จับถนัด กัดสนุก”

“การทำ Content สวยงามก็สำคัญ แต่การเลือกเรื่องราวที่จะเล่าให้ลูกค้าที่ถูกกลุ่ม สำคัญกว่า การลงทุนทำโฆษณาแต่เล่าให้คนฟังผิดกลุ่มย่อมไม่เกิดประโยชน์อยู่แล้ว”

เมื่อสื่อสารถูกคน ลูกค้าติดต่อมาหาเราแล้ว Seamless Experience ในฝั่งของสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ มองว่าเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่ลูกค้าทักเข้ามา โดยปกติ มีแอดมิน 2 คน จะมีการแบ่งช่วงเวลาทำการ ( 05.00 – 00.00 น.) ซึ่ง KPI การตอบข้อความลูกค้าของ สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ คือ ต้องไม่เกิน 5 นาที (มาตรฐานของ Facebook คือ 15 นาที คุณจะได้สัญลักษณ์ตอบเร็ว) เพราะว่าการตอบเร็ว จะได้เปรียบในยกแรก เพราะถ้าคุณมีปฏิสัมพันธ์อย่างรวดเร็วก็จะลดโอกาสที่ลูกค้าจะไปเลือกร้านอื่นได้มากขึ้น

เรื่องที่ร้านค้ามักลืมไปคือ ฟังก์ชั่นข้อความตอบกลับอัตโนมัติ ที่ Facebook ในเวลาที่คุณไม่สะดวกตอบคำถาม แต่ลูกค้ามักคาดหวังให้เราตอบในทันที ดังนั้น เราควรตั้งข้อความตอบกลับไว้ เช่น ขอบคุณลูกค้าที่ให้ความสนใจสินค้าและบริการของเรา ร้านของเราเปิดเวลา xx.xx -xx.xx น. ถ้าลูกค้ามีธุระด่วน สามารถ add line หรือโทรมาได้ที่ xx xxx xxxx เป็นต้น จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกเข้าใจได้มากขึ้น

สำหรับสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ แอดมินจะเรียกแทนตัวเองด้วยชื่อเล่น และเรียกว่าคุณแม่ ซึ่งก็มีเรื่องที่ลูกค้าเป็นคุณน้ามาเลือกซื้อสินค้าให้หลาน ก็ค่อยปรับการคุยไปตามเหมาะสม แต่การเรียกแบบเจาะจงจะสร้างความรู้สึกดีให้กับลูกค้า และในกรณีลูกค้าเก่า เทคนิคที่ช่วยได้คือป้ายกำกับ ซึ่งเป็นอีกฟังก์ชั่นที่มีใน Facebook Inbox ให้คุณระบุได้เลย ซึ่งเมื่อลูกค้าทักเข้ามา แอดมินสามารถดูได้เลยว่าเป็นลูกค้าเก่าหรือไม่ หรือที่ง่ายกว่านั้นคือการเลื่อนขึ้นไปดูแชทด้านบน ซึ่งกรณีลูกค้าเก่า แอดมินของสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์จะตามขึ้นไปดูด้วยว่า ลูกค้าเลยส่งรีวิวลูกเค้ากลับมาหรือไม่ ถ้าเคย หรือมีการถามชื่อลูกเค้าแล้ว การทักทายจะเปลี่ยนเป็น สวัสดีค่ะ คุณแม่น้องxx วันนี้รับอะไรดีคะ ซึ่งทำให้ได้ผลตอบรับที่ดี การคุยเป็นกันเองมากขึ้น การใช้สติ๊กเกอร์ช่วย การทักทาย การจำชื่อลูกค้าได้ จะช่วยให้ร้านของเราดูโดดเด่น น่ารัก น่าสนใจกว่าร้านอื่นๆ เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญ

และสุดท้าย การปิดการขาย สิ่งที่ทำให้ลูกค้าหลุดมือไป คือ การเพิ่มช่องทางการซื้อของ เช่น ไม่รับบัตรเครดิต ไม่รับการชำระเงินปลายทาง เป็นจุดที่ทำให้ร้านค้าพลาดโอกาสไปโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้น Seamless Experience การซื้อ ก็ต้องง่ายด้วย Facebook เองก็มี ช่องทางการชำระเงิน ในส่วนการจัดการร้านค้า สมัครได้ง่ายบุคคลธรรมดาก็สมัครได้ ต้องเปิดใจลองสิ่งใหม่ เพื่อจะให้ลูกค้ารู้สึกกับเราว่าการซื้อของเป็นเรื่องง่าย

“ถ้าเราแก้ตามปมเหล่านี้ ร้านของคุณก็จะขายได้ง่ายขึ้น”

ปัญหาที่มักพบ ณ ช่วงเวลาปิดการขายทางออนไลน์ คือการถามข้อมูลลูกค้าเก่า “ซ้ำ”

ทำให้เกิดความไม่ประทับใจ สาเหตุ เกิดจากการที่แอดมินตอบข้อความตามแพทเทิร์นทุกครั้ง
ถ้าพบว่ามีการทักทายจากลูกค้าเก่า ให้ย้อนดูข้อคววาม แล้วเรียกพูดคุยด้วยชื่อของลูกค้า ห้ามถามที่อยู่ซ้ำ และเทคนิคสำคัญ คือ การสรุปรายการซื้อและแจ้งยอดชำระเงินให้ลูกค้า ก่อนถามที่อยู่จัดส่ง การปล่อยให้ลูกค้ามีช่วงเวลาสลับไปทำอย่างอื่น หรือออกจากการคุยไปหาที่อยู่จัดส่งมาแจ้ง อาจทำให้ลืมเราไป หากลูกค้าทราบยอด และทำการชำระเงินแล้ว อย่างไรก็ต้องส่งที่อยู่จัดส่งมาให้อย่างแน่นอน

ต่อเนื่องมาถึงการวางระบบทำงานหลังบ้าน ที่มีการตกลงกับคู่ค้าที่ฝากขายสินค้า ตัวอย่างจากร้านของคุณแอม ยุทธนา ที่ร้านจะรับผิดชอบ เคลมสินค้าของแบรนด์คู่ค้าที่นำสินค้ามาฝากขาย เพื่อดูแล และอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่เลือกซื้อผ่านทางร้านของคุณแอม

กรณีเครื่องปั่นอาหารเด็กเสีย ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาดำเนินการรวมการจัดส่งสินค้า ประมาณ 1 สัปดาห์ แต่สิ่งที่คุณแอมเล็งเห็นคือ ด้วยระยะเวลานั้น คืนนี้คุณแม่ (ลูกค้า) จะทำอาหารให้ลูกกินอย่างไร จากกรณีดังกล่าว ทางร้านจะส่งสินค้าตัวใหม่ให้ลูกค้าก่อน แล้วจึงเป็นส่วนของร้านกับแบรนด์คู่ค้าในการแลกสินค้าเคลมกันในลำดับถัดไป

เมื่อหมดช่วงเฝ้าระวังแล้ว ทำยังไงถึงจะเชื่อมต่อประสบการณ์ Offine กับ Online?

ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ว่าจะติดต่อมาทางช่องทางไหนก็คือ ร้านเดียวกัน ประสานให้พนักงานทุกคนทำงานและทราบข้อมูลกันได้อย่างราบรื่น คือ ระบบ โปรแกรม Excel ก็ถือเป็นระบบอย่างนึง ซึ่งช่วยในการเก็บข้อมูล ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และหมายเหตุ
ถ้าหากวางแผนการใช้ฐานข้อมูลร่วมกันในทุกช่องทางของร้าน เหมือนเป็นการได้คุยกับพนักงานคนเดียวกันกับที่ลูกค้าได้เจอที่หน้าร้าน

การทำ crisis management หรือ การเชื่อมต่อประสบการณ์ที่ดี ระบบ จะเป็นตัวช่วย เมื่อคุณมีพนักงานมากกว่าหนึ่งคน มีร้านมากกว่าหนึ่งสาขา จะต้องมีตัวเชื่อม ที่คุณจะสามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ กำหนดข้อมูลที่ใช้เป็นตัวกลางในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ใช้เบอร์โทรศัพท์ ในการค้นหาและระบุ ประวัติการซื้อ ความชอบของลูกค้า หรือมีข้อร้องเรียนเรื่องอะไร เท่านี้พนัดงานก็สามารถเห็นในสิ่งเดียวกัน และร้านก็จะมีข้อมูลที่มีค่ากับการขายของเรา

คาถาขายดี 3 คำ “ตอบไว ใส่ใจ ส่งเร็ว” – คุณหนึ่ง ธัญญ์นิธิ

การตอบไว สำคัญมากในยุคออนไลน์ ตามที่ได้มีการพูดถึงไปแล้ว
ใส่ใจ คือ การที่เรารับผิดชอบลูกค้า รวมถึงการให้ความช่วยเหลือที่นอกเหนือจากสินค้าและบริการของร้าน
ส่งเร็ว การเตรียมตัว สอบถามข้อมูลกับทางหน่วยงานขนส่ง เพื่อให้ส่งสินค้าก่อนการตัดรอบสุดท้ายในแต่ละวัน ในกรณีของไปรษณีย์ไทย EMS ลูกค้ากรุงเทพฯ และปริมณฑล จะได้สินค้าในวันรุ่งขึ้น

จากประสบการณ์ ของคุณหนึ่ง ธัญญ์นิธิ การทดลองใช้บริการขนส่งอื่น ในช่วงเวลาที่มีโปรโมชั่น เพื่อลดต้นทุน แต่ใช้เวลาจัดส่งนานถึง 4 วัน ทางร้านจึงยอมที่จะจ่ายในราคาปกติ เพื่อที่จะรักษาเวลา ให้ลูกค้าได้ของที่รวดเร็วดีกว่า อีกทั้งยังสร้างความสบายใจให้กับลูกค้าที่ต้องรอหลังการชำระเงินให้กับทางร้านมาก่อนด้วย จึงเป็นที่มาของคาถา 3 คำ

ทั้งหมดนี้ คือการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ผ่านการสร้างคุณค่า 2 อย่าง

  1. การสร้างคุณค่าในเรื่องราว / คอนเทนต์ ที่นำไปสู่ การมองเห็น การซื้อโฆษณา และอื่นๆ คอนเทนต์ยิ่งมีความหมายกับลูกค้า ยิ่งช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น
  2. การสร้างคุณค่าในความสัมพันธ์ สร้างพื้นที่ของเราในใจของลูกค้าให้ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะให้ลูกค้าอยู่กับเราไปอีกนานๆ

คุณจี๊ป สุรศักดิ์ แนะนำว่าการเริ่มขายของออนไลน์ เริ่มต้นจาก Branding สร้างเรื่องราว ดึงหัวใจของแบรนด์ออกมา ถ้าไม่รู้จะขายอะไร ให้ลองคิด ว่าอยากขายใคร ซึ่งคนที่เราอยากขาย มีปัญหาอะไรที่เค้าอยากแก้เป็นอย่างแรก แล้วค่อยเริ่มจากตรงนั้น

คุณแอม ยุทธนา ใช้หลักการเดียวกัน มาใช้ในการคิดคอนเทนต์ง่ายๆ ของเครื่องดูดฝุ่นไร้สาย จากคนที่รักความสะอาด แล้วเห็นว่าเส้นผมอยู่บนพื้นตลอด นำไปสู่การถ่ายภาพ พร้อมการตั้งคำถามชวนคิดว่า คุณจะหยิบไม้กวาดมากวาดทุกชั่วโมงมั้ย นี่คือการสร้างคอนเทนต์จากปัญหา เพื่อบอกว่าคุณมาช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ลูกค้า

“แต่ถ้าเรามีสินค้า เมื่อจะสร้างแบรนด์ คำถามคือ สินค้าเราดีกว่าคู่แข่งอย่างไร และจะโดนใจลูกค้า สร้างคุณค่า สร้างประโยชน์ให้ลูกค้าอย่างไร นั่นคือ Branding”

การส่งไว ก็เป็น Branding, บรรจุภัณฑ์ที่ดี ข้างนอกชำรุด แต่สินค้าไม่เสียหาย ก็คือ Branding และนี่คือสิ่งที่เราสร้างขึ้น ไม่ใช่จากการทำคอนเทนต์ หรือเนื้อหา แต่ต้องมาจากจุดเริ่มต้นของธุรกิจเรา ว่าทำประโยชน์ หรือสร้างคุณค่าอะไรให้ผู้บริโภค

“สินค้าที่ขายเหมือนกัน แต่ละร้านก็มีจุดต่างที่ทำให้ไม่เหมือนกัน ซึ่งราคาเป็นเรื่องที่เปรียบเทียบง่ายที่สุด แต่สิ่งที่ยากกว่า คือประสบการณ์ที่ให้ลูกค้าไม่เหมือนกัน”

อย่างที่ยกตัวอย่าง การรับเปลี่ยนสินค้า เครื่องปั๊มนม หากต้องใช้เวลาดำเนินการถึง 7 วัน คุณแม่(ลูกค้า) คงยอมซื้อชิ้นใหม่ ถือเป็นต้นทุนประสบการณ์ที่ลูกค้ามองเห็นว่า ร้านเข้าใจในความสำคัญของสินค้าที่มีต่อลูกค้า

Branding จึงเกิดจากสิ่งที่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ และสร้างประสบการณ์ แล้วค่อยนำมาเล่าให้คนฟังเป็น Story telling นั่นเอง

ถ้าสินค้าของเรา มีลูกค้าเป็นผู้สูงวัย ขายในออนไลน์จะดีมั้ย แล้วควรจะเป็นช่องทางไหน?

กรณีลูกค้ากลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้ทำการตลาดกับลูกค้า โดยไม่คาดหวังการซื้อ เพราะการซื้อจะมาจากลูก/หลาน หลักการเดียวกับสินค้าเด็กอ่อน ที่พ่อแม่เป็นผู้ซื้อ คำถามคือ ทำยังไงให้เกิดความสนใจ จนนำไปสู่การฝากซื้อ ซึ่งช่องทางที่ลูกค้ากลุ่มนี้ใช้งานบ่อยครั้ง คือ Line จากการส่งข้อความทักทายที่ใช้อยู่เป็นประจำ และ Youtube ที่สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย ของคนวัยนี้ เช่น แจ้ ดนุพล, The Impossible เราลองหาวิธียิงโฆษณาไปหา ให้เกิดการไปบอกความต้องการ ที่ลูก หลาน จะหาข้อมูล และซื้อมาให้

เคล็ดลับ การยิงโฆษณา Facebook ให้เกิดยอดขาย

ข้อแรกที่สำคัญ คือ ห้ามซื้อโฆษณา ผ่านมือถือ ระบบการซื้อบนมือถือ จะเป็นการซื้อ Engagement base คือ เป็นการซื้อการมองเห็น คนที่มามักจะกดไลค์ แชร์โพสของเรา แต่ไม่ใช่คนที่ซื้อ อีกส่วน คือ การทำเทส โดยการแบ่งเงินเพื่อซื้อโฆษณาในลักษณะที่ต่างกัน 2-3 แบบ ทดลองให้รู้ว่าคอนเทนต์ไหน หรือกลุ่มเป้าหมายไหน ทำให้เกิดยอดขายจริง แล้วค่อยลงเงินก้อน กับโฆษณาตัวนั้น

จากประสบการณ์ของคุณหนึ่ง ธัญญ์นิธิ มีลูกค้าที่ทักแชทมาสั่งสินค้าที่เพิ่งลงโฆษณา ทั้งที่ไม่ได้กดไลค์ จนถึงลูกค้าที่สั่งซื้ออเดอร์ใหญ่ แต่ไม่กดไลค์เพจ ทราบได้จากกล่องข้อความของเพจจะมีข้อมูลกดไลค์ของลูกค้าที่มีต่อเพจของเรา เมื่อเชิญให้กดไลค์เพจ ลูกค้ามองว่าไม่จำเป็น เมื่อต้องการซื้อจะทักมาเอง เราจึงต้อง เลือกจุดประสงค์ของการทำโฆษณาให้ถูกต้องก่อน

การเลือกจุดประสงค์ของการทำโฆษณาให้ลึก ทำอย่างไร

  • ขั้นตอนแรก เข้าไปที่ การจัดการโฆษณา ผ่านคอมพิวเตอร์
  • ตั้งกลุ่มเป้าหมาย จากความเข้าใจไลฟ์สไตล์ลูกค้า
  • เลือกใช้เครื่องมือโฆษณา ให้ตรงวัตถุประสงค์

ยกตัวอย่างสินค้าสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ เป็นสินค้าแม่และเด็ก ไม่ได้ตั้งเป็นกลุ่มคนตั้งครรภ์อย่างเดียว แต่ตั้งว่า คนที่สนใจเครื่องปั๊มนม ซึ่งคนที่สนใจมักจะเป็นคุณแม่อยู่แล้ว

“การเลือกกำหนด ความสนใจ (Interest) ที่ไม่มีคนนึกได้ จะทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ช้ำ” ความหมายคือ กลุ่มเป้าหมายที่เห็นโฆษณาของเราจะไม่ถูกโฆษณาประเภทอื่นส่งโฆษณาหา

ยกตัวอย่าง คนขายเสื้อผ้า ตั้งความสนใจว่า H&M หรือ Zara ก็คือ คนที่สนในเสื้อผ้า ก็จะทำให้กลุ่มเป้าหมายแคบขึ้น

“เวลาคุณจะทำโฆษณษา ควรเลือกกลุ่มเป้าหมายที่กระชับ ไม่ใช่กลุ่มที่มีขนาดใหญ่เกินไป”

อธิบายให้เห็นภาพ คือ เมื่อคุณต้องการจะยิงโฆษณา กลุ่มเป้าหมายมีประมาณ 7 ล้านคน คุณกำหนดเงิน 150 บาท Facebook จะให้คนเห็นประมาณ 1,000 คน จะต้องใช้เวลากี่วันที่คนจะเห็นครบ

สูตรที่สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ใช้ มี คือ ทำคอนเทนต์เพื่อให้คนรู้จัก ให้คนเห็นเยอะ แล้วเลือกคนที่ดูโฆษณานั้น มาเกณฑ์กำหนดเป็น กลุ่มคนที่จะยิงโฆษณาขายของใส่ ในลำดับต่อไป

เครื่องมือ Reach ช่วยให้คนเห็นจำนวนมาก เพิ่มจำนวนการเข้าถึง เงิน 1,000 บาท ทำให้คนเห็นโฆษณา 100,000 คน หลังจากนั้น คุณค่อยเริ่มขายของ จากกลุ่มคนที่รู้จักคุณแล้ว ด้วยเครื่องมือส่งข้อความ หรือสิ่งอื่นต่อไป

ท่านสามารถเข้าไปรับชม ย้อนหลังได้ที่ Facebook fanpage : MAT Society
และขอฝากให้ทุกท่านติดตามรับชมสด ทุกวันอังคาร เวลา 2 ทุ่มตรง


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

New Normal Behavior but Same Old Needs

32
SHARE

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคำคัพท์ยอดฮิตในช่วง COVID-19 Crisis คือคำว่า ‘New Normal’ หรือแปลเป็นไทยว่า ‘ความปกติใหม่’ ซึ่งรวมทั้งความคิดและ การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน การทำธุรกิจ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การช้อปปิ้ง การท่องเที่ยวและสันทนาการต่างๆ จนถึง วิธีการทำงานจากที่บ้าน – Work from Home (WFH) ซึ่งเป็นหนึ่งใน ‘New Normal’ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียในเวลาเดียวกัน

จากการสัมภาษณ์คนทำงานจำนวน 400 ตัวอย่างทาง Asia Mobile Panel ของกลุ่มบริษัทอินเทจ พบว่าคนทำงานรู้สึกปลอดภัยจากเชื้อไวรัส ทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น จากการ WFH แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกในเชิงลบ จากการขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ขาดชีวิตชีวาในการทำงาน รู้สึกเครียดและโดดเดี่ยว

โดยทั้ง Gen Y และ Gen X เห็นด้วยว่า การทำงานที่บ้านลด Waste Time ในการเดินทาง การประชุม การพบปะที่ไม่จำเป็น ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่าง 2 Gen ชัดเจน คือเรื่องเวลาคุณภาพกับครอบครัว และการประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งคำตอบเป็นผลมาจาก Values of Life Stage ที่แตกต่างกัน นั่นคือ ในขณะที่ คน Gen X ส่วนใหญ่ แต่งงานมีครอบครัวแล้ว และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากการมีครอบครัวที่ต้องดูแล คน Gen Y ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้แต่งงาน

Every Coin Has 2 Sides

ในขณะที่มีข้อดีมากมาย แต่คนทำงานกลับมีความเครียดเพิ่มขึ้นจากการ WFH โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถชดเชยด้วยการคุยกันผ่านมือถือ หรือการประชุมผ่าน Virtual Meeting

 

การได้พูดคุยแบบ Chit Chat กับเพื่อนร่วมงาน แม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องงาน แต่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้การทำงานแต่ละวันของคนทำงานมีชีวิตชีวามากขึ้น การได้พบปะผู้คนเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้วย ซึ่งทั้ง 2 Gen มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในเรื่องนี้

นอกจากนี้ความไม่พร้อมในระบบ และเทคโนโลยี ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้คนรู้สึกเครียดกับการ WFH

จุดแตกต่างที่น่าสนใจระหว่างคนทำงาน 2 Gen คือ เรื่องของ การมีห้อง, มุม หรือโต๊ะทำงานที่เป็นสัดส่วนที่บ้าน ซึ่งจะเป็นข้อกังวลใจสำหรับ Gen Y ที่ไม่ใช่แค่เพื่อการทำงานเท่านั้น แต่ต้องพร้อม ‘ออกสื่อ’ ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีการประชุมผ่าน Virtual Platform เช่น Zoom หรือ Microsoft Teamsที่ต้องเปิดให้เห็นหน้า เห็นสถานที่กัน

 

 

New Normal Practice but Same Human Needs

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด เทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากขึ้นเพียงใด หรือไม่ว่าจะอยู่ใน Generation ใด ความต้องการ ของคนยังประกอบไปด้วย 3 ด้านหลักๆ คือ 1. Functional Needs 2. Emotional Needs และ 3. Social Needs

Functional Needs: นับว่าเป็นพื้นฐานหลักที่ต้อง Fulfill ก่อน Needs ใดๆ เสมือนเป็นปัจจัย 4 พื้นฐาน ที่ทุกคนต้องมี ในกรณีของ WFH ก็หมายถึงระบบและกระบวนการที่เอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ถ้าเป็นการตลาดก็หมายถึง Prerequisite Benefits ของสินค้าและบริการ

Emotional Needs: เป็นส่วนสำคัญที่สมองของคนจะจดจำ ดังนั้นไม่ว่าจะทำการตลาดใดๆ ถ้าเน้นแต่ จะขายแค่ Product Functional Benefits ก็จะไม่สามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้บริโภคได้ โดยปราศจากประโยชน์ทางอารมณ์

Social Needs: เนื่องด้วยคนเป็นสัตว์สังคม การได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การได้รับการยอมรับ การชื่นชมจากผู้อื่น เป็นสิ่งสำคัญที่เติมเต็มความรู้สึก เรื่องความสำเร็จในชีวิต

การศึกษาในครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของ Social Needs เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าการ WFH จะมีข้อดีมากมายในแง่ Functional Needs แต่คนทำงานก็ยังโหยหาการได้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศเพื่อที่จะได้มี Physical Relationship กับผู้อื่น ในทางการตลาดเราก็จะเห็นได้ชัดจากการเติบโตของการใช้ Influencer Marketing ที่นำ Social Needs ของผู้บริโภคที่ต้องการ Being Right + Being Liked มาเป็นแกน ในการโปรโมทสินค้าและบริการ

Source of Image


ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

ไพรซ์ซ่า (Priceza) สรุปภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2019 พร้อมชี้ทิศทางปี 2020 ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

21
SHARE

ไพรซ์ซ่า (Priceza) เผยตัวเลขมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2019 มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 (COVID-19)ในประเทศไทย ผลักผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท โดยในปี 2020 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35% จากปีก่อนหน้า

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา ได้จัดงานแถลงข่าว “Priceza Virtual Conference สรุปภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทย ปี 2019 และทิศทางปี 2020 ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ” เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ผ่านระบบ Online Conference รับกระแส Social Distancing ในประเทศไทย

ไพรซ์ซ่าชี้ข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของตลาดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศ ขณะเดียวกัน ประเทศที่มีมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุดได้แก่ประเทศจีน 25 เปอร์เซ็นต์, ประเทศเกาหลีใต้ 22 เปอร์เซ็นต์ และประเทศอังกฤษ 22 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ หมายความว่า ถึงแม้คนไทยจะรู้สึกว่ากระแสการซื้อขายออนไลน์เป็นที่นิยม แต่หากดูจากสถิติประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ยังคงสามารถเติบโตได้อีกอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูล ETDA สัดส่วนมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเฉพาะ B2C (Business-to-Consumer) และ C2C (Consumer to Consumer) ในปี 2019 มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่าช่องทาง E-Marketplace เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้ในการซื้อของออนไลน์ในสัดส่วนมากขึ้น จากปี 2018 อยู่ที่ 35% เติบโตมาเป็นสัดส่วนมากถึง 47% ในปี 2019 นอกจากนี้สัดส่วนของช่องทาง Social Media และ E-tailer/Brand.com มีมูลค่าลดลงตามสัดส่วน

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 จากผลพวงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 (COVID-19) ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้นกว่า 29 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 จากผลพวงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 (COVID-19) ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้นกว่า 29 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย

ไพรซ์ซ่า เราเป็นผู้ให้บริการ Multi-Channel E-commerce Platform ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์สามารถเพิ่มยอดขายออนไลน์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิด19 ได้มีบทบาทร่วมช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตราการปิดห้าง-ศูนย์การค้า อาทิ เครือเซ็นทรัล (Central Online, Tops, Powerbuy) แม็คโคร Makro, Index Living Mall, HomePro , Advice, นายอินทร์ (Naiin), Sound Proof Bro และ Nadz โดยไพรซ์ซ่าได้ช่วยดันยอดขายออนไลน์ให้เติบโตขึ้นโดยเฉลี่ยมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ทดแทนรายได้ออฟไลน์ที่หายไป

สินค้าของผู้ประกอบการนอกจากจะปรากฎบนเว็บไซต์ไพรซ์ซ่าแล้ว ยังได้รับการโปรโมทไปกับพันธมิตรของไพรซ์ซ่า ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์รีวิวสินค้า, Youtubers, Facebook Influencers ต่างๆ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มโอกาสขายสินค้าให้ได้มากขึ้น

“จากนี้ต่อไป การขายอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) จะไม่ใช่ทางเลือก
แต่เป็นทางรอดของธุรกิจค้าขายในยุคหลังโควิด-19” นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา กล่าว


ผู้เขียน
Priceza

MAT Vaccine For Business EP.1

1
SHARE

เมื่อวันอังคาร ที่ 14 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา สมาคมการตลาดฯ เริ่มต้นตอนแรก ในชื่อตอน “การตลาด online เริ่มยังไงให้รอด” จะโฟกัสที่การขายของ ซื้อมา-ขายไป สำหรับผู้ไม่เคยมีหน้าร้าน และผู้ที่มีหน้าร้าน แต่ยังไม่เคยบุกโลกออนไลน์ เพื่อระบายสต็อค ได้รับเกียรติจาก กับ 3 วิทยากร

คุณธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและวางแผนกลยุทธ์การตลาด บริษัท สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 10 คนไทยที่ได้รับการคัดเลือกจาเฟซบุ๊กให้เป็น Alpha Tester หรือทดลองเครื่องมือการตลาดใหม่ๆบนเฟซบุ๊กรายแรก
คุณยุทธนา เทียนธรรมชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเดย์ เฟรช จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลไม้ออนไลน์คนแรกของประเทศไทย
คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาด และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด

สำหรับการเริ่มต้น

วิธีที่ง่าย และไม่มีต้นทุน คือ บัญชีส่วนบุคคล หรือการเข้าร่วม กลุ่ม ใน facebook
หากใช้ Instagram ให้เน้นการโพสต์ และการกดติดตาม แม้กระทั่ง Line กลุ่มเพื่อนที่เรามี เคยมีคนที่สร้างยอดขายจากกลุ่มเพื่อนได้เป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งช่องทางเหล่านี้เราสามารถเริ่มต้นได้เลยทันที
หากเป็น Market place อย่าง Shopee หรือ Lazada ก็สามารถสร้าง account ได้ฟรี

อย่าเพิ่งโฟกัสที่การทำโฆษณา แต่ให้ทำความคุ้นเคยกับการขายบนโลกออนไลน์ก่อน รู้จักการโพสต์ และการเขียนให้คนมีอารมณ์ร่วมที่จะซื้อ

ต่อมา คือ การทำความรู้จักสินค้าตัวเอง วัตถุดิบที่มี ว่าอะไรที่จะสามารถนำมาขายในช่องทางออนไลน์ หรือต้องมีการขนส่งได้ และเหมาะกับการขายในช่องทางไหน ยกตัวอย่าง บาบีคิวพลาซ่า (ร้านปิ้งย่าง) ที่ไลฟ์ขายซอส บนช่องทาง facebook เป็นต้น

ในสถานการณ์นี้ ทุกคนเปลี่ยนมาขายของออนไลน์ สิ่งสำคัญคือ ดึงจุดเด่นสินค้าเราออกมา เล่าเรื่องให้ชัด และน่าสนใจ

แต่ถ้าสินค้าเราไม่มีอะไรต่างเลย เราต้องสร้างความต่างเอง เช่น การตั้งราคา, ทำแพ็คเกจจิ้ง, ถ่ายภาพให้ดูดี ก็ช่วยดึงความสนใจจากลูกค้าได้ หรือแม้กระทั่ง การเลือกทำเล ว่าสินค้าของเราเหมาะจะขายที่ไหน Facebook Instagram หรือ Twitter

ด้วยหลักการของการตลาด สินค้าต้องถูกดึงจุดเด่นออกมา สร้างเรื่องราวที่ตอบโจทย์ให้กับลูกค้า โลโก้ หรือชื่อ ก็ยังเป็นเรื่องรอง จากเรื่องราวสินค้าที่เราต้องการสื่อสาร เมื่อมีเรื่องราวของสินค้า เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าแบรนด์ของเราควรจะชื่ออะไร มันจึงสะท้อนหัวใจของแบรนด์

เมื่อพูดถึงว่าจะขาย ที่ไหนดี

ในแต่ละ แพลตฟอร์ม ก็มีจุดเด่น และพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน ถ้าคุณมีเรื่องราว Facebook เป็นช่องทางที่เหมาะกับการเล่า เพราะผู้เล่น Facebook ยินดีที่จะกดอ่านจนจบ
โดย Instagram ให้ลักษณะของ photobook เน้นการถ่ายภาพ ซึ่งกล้องโทรศัพท์มือถือก็เพียงพอ ให้เน้นที่องค์ประกอบหลัก คือเรื่องแสง ก็สามารถถ่ายภาพให้สวยได้ เหมาะกับสินค้าแฟชั่น ของสวยงาม บิวตี้ คอสเมติก

Shopee หรือ Lazada เหมาะกับสินค้าที่เป็นแบรนด์ หรืออยู่ในกระแส เช่น หน้ากาก เจลล้างมือ แอลกอฮอล หรือแบรนด์อย่าง dettol เพราะคนจะทำการ search หาสิ่งเหล่านี้ใน Market place อยู่แล้ว ถ้าวางราคาดีๆคนก็จะเลือกซื้อของเรา ซึ่งทั้งสอง platform นี้ ก็มีเครื่องมือการตลาดตลาดเป็นของตัวเอง เช่นการ live หรือ การซื้อโฆษณาให้เป็นสินค้าแนะนำ เพื่อสนับสนุนผู้ขาย เช่นกัน

การขายซื้อค้า ซื้อมาขายไปหรือแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก หากเลือกขายใน Shopee Lazada ก็สะดวก เพราะคนจะค้นหาจากชื่อแบรนด์อยู่แล้ว จะชนะกันที่ราคา รีวิว และการดูแลลูกค้า

คุณจี๊ป สุรศักดิ์ ได้เล่าถึงเทรนด์เทรนด์สินค้าที่เกิดขึ้นกับวอลล์มาร์ท ห้างใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาที่ผ่านมาว่า สินค้ายอดนิยมในช่วงโควิด แบ่งออกเป็น 4เฟส เฟสแรก คือ สินค้าความสะอาด เฟสที่สอง คือ กระดาษชำระ เฟสที่สาม คืออาหาร
และในเฟสที่สี่ คือ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทรงผม แม้ในประเทศไทยเอง ก็จะเริ่มเห็นผู้ชายซื้อปัตตาเลี่ยน ผู้หญิงทำสีผม เนื่องจากอยู่บ้านกันเป็นเวลานาน

ซึ่งวันนี้ ถ้าเราจะมาขายหน้ากาก ก็คงไม่ทันแล้ว ถ้าเราไม่มีของจะขาย ให้ลองมองว่า สัปดาห์ถัดไปเราควรจะขายอะไรดี

การสร้างคอนเทนต์ ให้คุณเริ่มต้นด้วยทำไม? (Start with WHY)

ตอนนี้หมดยุคของการบอกว่าสินค้าเรามีดีอย่างไร แต่ต้องเน้นที่การเล่าเรื่องที่เป็น benefit สำหรับลูกค้า ว่าทำไมเขาถึงต้องเลือกเรา
ยกตัวอย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ หากพูดถึงคุณสมบัติว่า เพจเราขายโต๊ะ เก้าอี้ ที่แข็งแรง ทนทาน ประกอบง่าย น้ำหนักเบา คือการเล่าด้วย What

หนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจาก Luxury Furniture ที่ไม่เคยขายได้บน facebook จากคุณแอม ยุทธนา ได้ดึงจุดเด่นออกมาของธุรกิจออกมาเป็นคอนเทนต์

“เรามีประสบการณ์กว่า 30 ปี สามารถออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะกับบ้านที่คุณมี เพียงแค่ส่งรูปบ้านของคุณมา เราสามารถสร้าง perfect match furniture อำนวยความสะดวก และดูแลคุณเอง” คือการที่บอกว่า WHY ทำไมคุณต้องเลือกเรา ซึ่งทำให้เกิดยอดขาย ขึ้นมาได้จริง

อีกตัวอย่าง จากสินค้าของคุณหนึ่ง ธัญญ์นิธิ คุณหนึ่งเล่าว่า “การขายของเด็กเล็กต้องเน้นที่why เราจะไม่เล่าเรื่องแค่ว่า อันนี้คือยางที่เอาไว้จับขวดนม แต่เราจะขายเรื่องราวการสร้างพัฒนาการ ที่เค้าได้ฝึกหยิบ ฝึกจับ และมีแรงในการถือของได้ง่ายขึ้น

การสร้างคอนเทนต์เชิงให้ความรู้ จะทำให้คนที่เข้ามาดู เชื่อถือเรา ว่ารู้จริง จนเกิดการแชร์ต่อ ทำให้เราเป็นที่รู้จัก และเมื่อนำคอนเทนต์นั้นไปทำโฆษณา ก็จะช่วยให้โฆษณาได้ในราคาที่ถูกลง

ถ้าคุณทำคอนเทนต์ได้ดีจะมีผลไปถึงการทำโฆษณาด้วย เพราะเฟสบุ๊คจะมีการให้คะแนน ถ้าคะแนนดี ค่าโฆษณาก็จะถูกลง และการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่แคบลง หรืออ้างอิงจากลูกค้าจริง ให้ facebook ช่วยหาคนที่คล้ายกัน และสื่อสารได้ตรงกับคนที่ต้องการอยู่แล้ว จะช่วยให้เราเจาะตลาดแล้วขายได้ง่ายขึ้น

ของกินบนออนไลน์ขายอย่างไรดี?

ให้เริ่มตั้งโจทย์ว่าเล่าเรื่องรสชาติอย่างไร ง่ายสุดก็คือ รีวิวลูกค้าที่เคยซื้อแล้ว เราขอเค้าง่ายๆ อย่างจริงใจผ่านการเขียนโน๊ตไปกับของที่ส่งให้ลูกค้า ช่วยกลับมาให้ดาว หรือ รีวิวบนเพจ ทำให้การขายไม่ใช่เพียงส่งของแล้วจบไป แต่เกิดการบอกต่อ แล้วให้ผลกลับมาในระยะยาว

สำหรับช่วงเวลาที่จะทำการตลาดให้ได้ผล นั่นก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสินค้า

คุณหนึ่งเสริมว่า ลองดูสินค้าของคุณ ถ้าเป็นสินค้าอาหาร คุณควรไลฟ์ก่อนเที่ยง ตอนเขา เริ่มหิว และสร้างความต่าง กรณีที่ประสบความสำเร็จ คือ ทำแล้วนั่งกินให้คนดู เพื่อกระตุ้นความอยาก หรือไลฟ์ตอนกลางคืน อาจจะมีคนหิวแล้วกดสั่งอาหารก็ได้

สำหรับใครที่กำลังจะเริ่มต้น ไม่ต้องกังวลกับยอดไลค์ หรือยอดดูไลฟ์ ในการเลือกช่วงเวลาที่จะไลฟ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้ยึดจากลูกค้าเป็นหลักว่า prime time ที่ลูกค้าของเราจะนั่งดูไลฟ์ที่ยาวกว่า 10 นาทีได้นั้น คือช่วงเวลาไหน หรือช่วงเวลาไหนที่การไลฟ์ จะช่วยกระตุ้นความต้องการของลูค้าได้ แล้วโปรโมท นัดหมายเวลากับคนดูด้วย

สิ่งที่ยากที่สุดคือการเริ่มต้น ทำแล้วอย่าหยุด หากยังไม่ประสบความสำเร็จ ให้ตั้งคำถามว่าทำไมถึงยังไม่มียอดไลค์ ยอดดู แล้วค่อยๆปรับ แต่ต้องทำต่อไปเหมือนหนูถีบจักร

สิ่งสุดท้ายสำหรับการเริ่มต้นนี้ คือการเตรียมการทำงานหลังบ้าน และระบบขนส่ง

คุณแอมแชร์ประสบการณ์ การขายผลไม้ มีเรื่องสี ขนาด ที่ไม่สามารถควบคุม ของจริงให้กับภาพที่โฆษณาแต่สิ่งที่ทำได้คือการเลือกบริการขนส่งที่เหมาะสม และมีคุณภาพ
การขายอาหารเอง ก็มีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการขนส่ง ที่เราไม่สามารถให้ลูกค้าไปเรียกร้องจากขนส่งได้

เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าจากเรา เราต้องรับผิดชอบ จริงใจกับลูกค้า

ท่านสามารถเข้าไปรับชม EP.1 ย้อนหลังได้ที่ Facebook fanpage : MAT Society
และขอฝากให้ทุกท่านติดตามรับชมสด EP.3 “คิด content ยังไง ให้โดนใจ และสร้างยอด?”
ในวันอังคารที่ 28 เมษายน เวลาเดิม 2 ทุ่มตรง


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ใช้’ใจ’ทำการตลาด ก็จะได้’ใจ’จากผู้บริโภค

25
SHARE

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเกียรติให้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Dream Food of Thai Consumers ที่ได้จากการสอบถามผู้บริโภคทั่วประเทศรวม 1,000 คน ถึงคำจำกัดความและความคาดหวังใน Dream Food ผลบางตอนน่าสนใจ และตอกย้ำ The Rise of Lazy Economy ในหมู่ผู้บริโภคอายุน้อย

What is Thais’ Dream Food?

เมื่อพูดถึง Dream Food หรืออาหารในอุดมคติ ‘สิ่งที่เห็นได้’ ได้แก่วัตถุดิบ และกระบวนการปรุง นับเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ โดย 5 ลักษณะแรกที่ผู้บริโภคนิยามคำว่า Dream Food คือ ต้องปรุงสดใหม่, ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ, สะอาด, ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล และ ใช้วัตถุดิบออร์แกนิค ซึ่งจากคำนิยามนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมผู้บริโภคถึงนึกถึง อาหารที่บ้าน หรือ อาหารที่แม่ทำ เป็นอันดับแรกของ Dream Food เพราะแม่มักทำอาหารสดใหม่ และใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่คัดสรรมาอย่างดีแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ด้วยอายุ จะเห็นว่า

คนวัยกลางคนขึ้นไปมองหา คุณค่าทางโภชนาการและอาหารที่เป็นยา
มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงาน

โดยวัยรุ่นเชื่อว่า ราคาที่สมเหตุสมผล เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของอาหารใน

อุดมคติ
และวัยเริ่มทำงานให้ความสำคัญกับเรื่องความสะดวก หาซื้อได้ง่าย

ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการเติบโตของ Food Delivery Service ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม Early Jobbers

 

 

“จากข้อมูลของ GET ในปีที่ผ่านมา เคยมีออเดอร์สั่งชานมไข่มุกมากกว่า 3 แสนแก้ว ในหนึ่งเดือน และมียอดสั่งอาหารว่างตลอดทั้งวันและบางครั้งการสั่งซื้อก็อยู่ในระยะทางน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งแปลว่า คนสั่งจากร้านที่อยู่ใต้ตึกหรือตึกข้างๆ ให้มาส่งที่ทำงาน”

 

ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม KFC จึงติด 3 อันดับแรกของอาหารในอุดมคติของผู้บริโภคอายุน้อย เนื่องจากความสะดวกและราคาที่จ่ายได้นั่นเอง และชี้ให้เห็นว่า The Rise of Economy ยังคงเป็นหนึ่งเทรนด์หลัก ของ Gen รุ่นใหม่ ที่ผู้คนต่างอยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน มีความคาดหวังเรื่องความสะดวกสบายและความรวดเร็วเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ถึงแม้ว่างานวิจัยครั้งนี้จะถามเกี่ยวกับอาหาร แต่สิ่งที่เราเรียนรู้และปรับนำไปใช้ได้กับการตลาดใน Industry อื่นๆ คือ

1. ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับ Visible Reason-To-Believe (RTB) มากกว่า Invisible End Result ใน Moment of Purchase ดังนั้นการให้ผู้บริโภครู้ที่มาที่ไปของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตจึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่สามารถละเลยได้ = Being Transparent

2. ธรรมชาติเป็นหนึ่งใน RTB ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ = Being Natural

3. ผู้บริโภคอายุน้อยให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายมากขึ้นเรื่อยๆ = Being Convenient

4. การจะครองใจเป็น Trusted Brand ของผู้บริโภคได้ ต้องมีความสม่ำเสมอต่อเนื่องทั้งตัวสินค้า/บริการ เริ่มตั้งแต่ ความใส่ใจในการสรรหาวัตถุดิบหรือส่วนผสมของสินค้า ความตั้งใจผลิตและส่งมอบสินค้าที่ดี เพื่อสร้างความมั่นใจในประสบการณ์การใช้สินค้า/ บริการนั้นๆ ด้วย = Being Mindful (Human-Centric, Not Product)


ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

ขอความร่วมมือในสถานการณ์โควิด-19

2.5k
SHARE

09 เมษายน 2563

เรื่อง      ขอความร่วมมือในสถานการณ์โควิด-19

เรียน     ท่านผู้บริหารด้านการตลาด การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการสมาคมฯ และสมาชิกทุกท่าน

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19)  ซึ่งดำเนินมานับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลกภายในระยะเวลาอันสั้น ทางภาครัฐจึงได้ขอความร่วมมือจากประชาชนคนไทย ในการลดการเคลื่อนที่ของประชากร ลดการสัมผัสโรคด้วยการอยู่บ้าน และลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโดยหลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดหรือชุมชน รวมถึงมีการยกระดับมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์ กล่าวคือ การออกพระราชกำหนดการบริหารงานราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม ประกาศกรุงเทพมหานคร ตลอดจนประกาศล่าสุดของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) ซึ่งมีเนื้อหาที่สอดคล้องกันอย่างชัดเจนในการยกเลิกละเว้นกิจกรรมทุกประเภทที่จะก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนมาก หรือยกเลิกการทำงานใดๆ ที่จะทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องมาอยู่ร่วมในสถานที่เดียวกัน

ด้วยความห่วงใย และเพื่อเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จึงใคร่ขอความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ในภาคธุรกิจ ให้มีการจำกัดและควบคุมกิจกรรมการตลาดอย่างเคร่งครัด ให้สอดคล้องกับกฎข้อบังคับต่างๆ ของทางภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ที่มีการใช้บุคลากรจำนวนมากมาปฏิบัติงานร่วมกันทั้งในสถานที่และนอกสถานที่

สมาคมการตลาดฯมีความเชื่อมั่นว่าทุกองค์กรมีความตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันควบคุมการระบาดของโรค โดยการพิจารณายกเลิกหรือชะลอการทำงานผลิตถ่ายทำชิ้นงานโฆษณาหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงออกไปก่อน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด

สุดท้ายนี้ สมาคมการตลาดฯขอขอบคุณในความร่วมมือจากทุกองค์กรที่จะปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงหรือมีประกาศเพิ่มเติมใดๆ ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพมีพลานามัยที่แข็งแรงและหวังว่าเราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว หากมีประเด็นหรือข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ สมาคมจะรีบแจ้งให้ทุกท่านทราบทันที

 

ขอแสดงความนับถือ

(อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์)

นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

 

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดฯ เพิ่มวัคซีนให้ธุรกิจ สู้วิกฤติ COVID-19

67
SHARE

KEY FOCUS

  1. สร้างตัวตนบนออนไลน์ – เมื่อผู้บริโภคยังจำเป็นต้องกินต้องใช้ การจับจ่ายแค่เปลี่ยนที่ อย่ามองข้ามการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์
  2. ทลายกับดักทางธุรกิจ อย่ายึดติดอยู่กับกรอบเดิมๆ – เพิ่มช่องทางการขายด้วยการเชื่อมต่อทั้ง online และ offline แบบ Omni Channel
  3. รีบปรับ สอดรับกับสถานการณ์ – สิ่งที่เราต้องปรับเปลี่ยน อาจมิใช่แค่ช่องทางการขายอีกต่อไป แต่อาจรวมไปถึงรูปแบบของการทำธุรกิจ หรือ Business Model ที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตอบรับกับสถานการณ์มากขึ้น
  4. การสื่อสารคือการเชื่อมต่อที่ดีที่สุด – เมื่อเปิดแพลตฟอร์มใหม่ คุณต้องมีการสื่อสารให้ลูกค้าทราบ ใช้ภาพเป็นตัวนำให้รายละเอียดที่จำเป็นให้ครบ จบในโพสต์เดียวแบบไม่เยิ่นเย้อ และถือโอกาสพัฒนาปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า มัดใจ ให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ

สมาคมการตลาดฯ แนะนำ check list เพื่อเป็นวัคซีน
เสริมภูมิต้านทานให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ในช่วง COVID-19

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 (COVID-19) สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนทั่วโลก ทำให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกจากบ้านน้อยลง จำกัดการท่องเที่ยว เดินทาง จับจ่ายใช้สอยตามห้างร้านค้า ส่งผลกระทบอย่างหนักกับทุกภาคธุรกิจสินค้าและบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบอย่างรุ่นแรง ทั้งยอดขายและการดำเนินการ

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขอเสนอข้อแนะนำเป็นแนวทางที่ต้องทำเบื้องต้น ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการปรับตัวฝ่าสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้ธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

1. Be Visible with Clarity สร้างตัวตนของธุรกิจในโลกออนไลน์
    • การที่ผู้บริโภคออกจากบ้านมาจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่มีความต้องการจับจ่าย
      ผู้บริโภคยังต้องกินต้องใช้ เขายังคงค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นการสืบค้นและทำธุรกรรม และการซื้อขายทางออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม
    • ดังนั้น หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ ดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นแค่ร้านอาหารตามสั่ง ร้านข้าวแกง
      ร้านขายของชำ ร้านดอกไม้ สปา ทำเล็บ หรือบริการอะไรก็ตาม คนจะเลือกใช้การบริการจากสถานที่ใกล้เคียงที่พักอาศัยมากขึ้น ดังนั้น Location Based Marketing อย่าง Google My Business จะมีบทบาทสำคัญเวลาที่คนต้องการค้นหาธุรกิจหรือบริการในบริเวณใกล้เคียง การสร้างตัวตนให้แก่ธุรกิจของคุณในโลกออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
    • แต่การตั้งนิยามของธุรกิจใน Google My Business เป็นสิ่งสำคัญมาก จะต้องมีความชัดเจน หรือ Clarity คุณต้องเขียนคำนิยามธุรกิจของคุณให้ สั้น กระชับ และแตกต่าง หากคุณเป็นร้านอาหารตามสั่ง การตั้งชื่อว่า ป้าน้อยตามสั่ง อาจฟังแล้วไม่จูงใจเท่า ป้าน้อยตามสั่ง ผัดกระเพราแท้รสเลิศ หรือ หากคุณขายของเฉพาะด้าน ก็ควรระบุลงไปให้ชัดเจน เช่น ร้านขายถ่านคุณสงวน, Floraison ร้านดอกไม้สไตล์อังกฤษ ฯลฯ เวลาคนค้นหาจะได้หาเจอได้ง่ายๆ และเห็นแล้วรู้ทันทีว่าร้านของคุณขายอะไร
    • และที่สำคัญ คุณควรโพสต์รูปภาพประกอบ และข้อเสนอลงในข้อมูลธุรกิจด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่าธุรกิจโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร และ สร้างความน่าเชื่อถือโดยเชิญชวนให้ลูกค้าที่ได้มาใช้บริการหรือติดต่อกับร้านช่วยเขียนรีวิวให้ เพราะยุคนี้ ใครๆ มักจะเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีรีวิวที่ดี
    • เมื่อข้อมูลของคุณครบสมบูรณ์ มีรูปภาพที่แสดงให้เห็นว่าร้านของคุณหน้าตาหรือบรรยากาศเป็นอย่างไร มีข้อมูลสินค้าและบริการ รวมถึงมีการรีวิวเรทติ้งดีๆ จากลูกค้า สุดท้ายแล้ว AI (artificial intelligent) ของ google จะทำการประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ เพื่อแนะนำร้านของคุณให้กับคนที่สืบหา มองหาสินค้าและบริการประเภทนี้ในพื้นที่ของคุณ หากอยากอยู่อันดับต้นๆ คุณก็ต้องมีความทุ่มเทในการเติมข้อมูลเหล่านี้ให้แก่ AI ด้วย
2. Shift Mindset & Change Platform – ทลายกับดักทางธุรกิจ อย่ายึดติดอยู่กับกรอบเดิมๆ
      • ในยุคที่เราถูกล้อมด้วยสถานการณ์วิกฤติ บางครั้ง ทางเดียวที่จะออกจากวงล้อมของปัญหาได้ คือการกล้าก้าวออกจากกรอบความคิดเดิมๆ และกล้าสร้างความเปลี่ยนแปลง
      • ไม่ว่าคุณจะอยู่ในธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการ ในช่วงเวลานี้ คือเวลาที่ดีมากในการเริ่มทบทวนโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของช่องทางทางการขายซึ่งมีทางเลือกมากมาย แต่เราต้องมีการผสมผสานช่องทางทั้ง online และ offline แบบ Omni Channel การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
      • หากคุณต้องการขายสินค้า ช่องทาง online platform ต่างๆ มีความสำคัญมากในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, Facebook, Line@, หรือ Thailand Post Mart สำหรับสินค้า OTOP หรือ Thai Mice Connect สำหรับธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดงานและการท่องเที่ยว หากแต่ก่อนยังไม่เคยใช้ช่องทางใหม่ๆ
        เหล่านี้ ก็ถึงเวลาที่จะต้องเปิดรับโอกาสนี้แล้ว
3. Reframe Your Business – รีบปรับ สอดรับกับสถานการณ์
    • จากที่กล่าวมา สิ่งที่เราต้องปรับเปลี่ยน อาจมิใช่แค่ช่องทางการขายอีกต่อไป แต่อาจรวมไปถึงรูปแบบของการทำธุรกิจ หรือ Business Model ที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตอบรับกับสถานการณ์มากขึ้น
    • ในยุคที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการออกมานอกบ้านและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน ผู้คนอาจไม่สะดวกใจที่จะมาใช้บริการที่ร้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาหมดความต้องการที่จะใช้บริการของเรา คุณอาจจะต้องเดินเข้าไปหาเขาให้มากขึ้น ร้านอาหารหลายร้านเริ่มปรับรูปแบบให้เป็นรูปแบบ delivery และเปลี่ยนแนวมาทำ
      chef table แบบตามบ้านมากขึ้น หากคุณเคยทำธุรกิจ catering ให้กับงานอีเวนต์ใหญ่ๆ ตอนนี้อาจต้องปรับรูปแบบมาบุกตลาดอาหารส่งประจำแบบผูกปิ่นโตตามสำนักงาน ร้านนวด ร้านทำผม อาจต้องเริ่มบริการถึงบ้านแบบ home service ให้มากขึ้น Hostel หรือโรงแรมขนาดเล็กที่เคยรองรับแต่นักท่องเที่ยว อาจลองเปลี่ยนมาเป็น การจัด private gathering ที่รวมทั้งอาหารและที่พัก สำหรับกลุ่มเพื่อน ญาติมิตรกลุ่มเล็กๆ ที่หาที่สังสรรแต่ไม่อยากปะปนกับคนอื่นๆ
    • แต่เหนือสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะในช่วง Covid-19 เราต้องมอบความปลอดภัยให้กับลูกค้าของเราด้วยมาตรการรักษาความสะอาดที่รัดกุม พนักงานที่จะออกไปให้บริการต้องมีการตรวจไข้ ตรวจเชื้ออย่างเป็นทางการ และที่ร้านของเราเองก็ต้องมีมาตรการการทำความสะอาดหลายระดับ อาทิ ในทุกๆวัน มีการทำความสะอาดทุกพื้นผิวที่ลูกค้าต้องสัมผัส ทุกอาทิตย์มีการฆ่าเชื้อ การขยายช่วงห่างระหว่างโต๊ะอาหารมากกว่าเดิม การใช้ระยะความห่างในการทำกิจกรรมเพื่อความปลอดภัย Social Distance ฯลฯ และต้องสื่อสารสิ่งเหล่านี้ให้ลูกค้าทราบเพื่อเพิ่มความมั่นใจ รวมถึงแนะนำการดูแลรักษาตัวเองให้แก่ลูกค้าเพื่อแสดงความใส่ใจและห่วงใยไปสู่ลูกค้าของเราอีกด้วย
4. Communicate & Connect
      • ในทุกความสัมพันธ์ การสื่อสารคือการเชื่อมต่อที่ดีที่สุด ในที่นี้รวมไปถึงการทำธุรกิจเช่นกัน หากคุณเริ่มเปิดขายสินค้าในแพลตฟอร์มใหม่ๆ คุณต้องมีการสื่อสารให้ลูกค้าของคุณทราบ ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นง่ายๆ โดยผ่าน Social Platform ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้ง Facebook, IG, และ Line
      • สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มเปิดขายทางออนไลน์ การจะสร้าง fan page ให้มีฐานใหญ่พอที่จะขายนั้นอาจจะช้าเกินไป คุณต้องรู้จักใช้ ช่องทางส่วนตัว personal network ให้เป็นประโยชน์ โดยใช้หลักทวีคูณของการบอกต่อ word of mouth แชร์ลงไปในหน้าเพจของตัวเอง แล้วขอให้เพื่อนๆช่วยแชร์ ให้ลูกค้าเก่าช่วยแชร์ รวมถึงสร้างหรือมอบ deal พิเศษ ที่ทำให้พวกเขาอยากจะแชร์
      • เวลาจะโพสต์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ให้ยึดหลัก ให้ภาพเป็นตัวนำ เพิ่มคำอธิบายที่สั้นและตรงประเด็น อย่าลืมเน้นโยงไปช่องทางการขาย และให้รายละเอียดที่จำเป็นให้ครบ จบในโพสต์เดียวแบบไม่เยิ่นเย้อ คนยุคนี้ไม่อ่านเยอะ แต่ต้องการข้อมูลครบ ดังนั้น เราจึงต้องให้ในสิ่งที่เขาต้องการให้ได้ พร้อมทุ่มเวลาในการตอบคำถาม และตอบรับลูกค้าที่ติดต่อมาทุกช่องทางอย่างรวดเร็ว จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ยอดขายในอนาคตได้
      • สำหรับแบรนด์ที่มีการขายออนไลน์ หรือมี fan page อยู่แล้ว ควรใช้ช่วงเวลานี้ในการพัฒนาปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและทำให้แบรนด์ active อยู่ตลอดเวลา หรือ พัฒนาดีลพิเศษเพื่อมัดใจให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างระบบสมาชิก การเสนอราคาพิเศษ การทำ pre-sale deal ซื้อราคาพิเศษล่วงหน้าเพื่อมาใช้บริการในปีนี้ ฯลฯ

4 ข้อแนะนำเบื้องต้น เป็นเช็คลิสพื้นฐานที่ทุกธุรกิจควรทำ หากมีส่วนใดที่ธุรกิจยังไม่ได้เริ่ม ก็ควรพิจารณาเริ่มทำทันที ในส่วนสามารถทำได้ และสามารถทำได้เลยโดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจมากนัก

และสิ่งสำคัญในยุคที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว คือ ไม่ว่าโลกจะเป็นอย่างไร คนก็ยังต้องกินต้องใช้ แต่เราในฐานะ
ผู้ประกอบการ ได้นำเสนอในสิ่งที่เขาต้องการแล้วหรือยัง และธุรกิจของเรา มีจุดเด่นมากพอที่จะสร้างความแตกต่างได้หรือไม่ หากยัง ก็ควรใช้เวลาในช่วงวาระแห่งวิกฤตินี้มาเป็นจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคงยิ่งๆขึ้นไป

 “ลงมือทำเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนวิกฤติและข้อจำกัดให้เป็นโอกาสทางธุรกิจของคุณ ทำก่อน ชนะก่อนแน่นอน”


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

The Rise of Lazy Economy

9
SHARE

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถใช้ชีวิตได้ทั้งวันกับสมาร์ตโฟนเครื่องเดียว ตั้งแต่ตั้งนาฬิกาปลุกไปทำงาน เช็กอีเมล เรียกรถแท็กซี่ สั่งอาหารเที่ยง สั่งเครื่องดื่มและขนม ซื้อของสดของแห้งจากซูเปอร์มาร์เก็ต ชำระบิลต่างๆ โอนเงินค่าผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก ประชุมกับลูกค้าต่างประเทศ และเรียกรถกลับบ้านเมื่อหมดวัน

ผู้คนต่างอยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน เคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก ยกเว้นนิ้วที่ใช้กดสมาร์ตโฟน เมื่อทุกอย่างสามารถทำได้ด้วยปลายนิ้ว ความคาดหวังในเรื่องความสะดวกสบายและความรวดเร็ว จึงเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนถึงในยุคที่เราเรียกว่า Lazy Economy หรืเศรษฐกิจขี้เกียจ

จากข้อมูลของ GET ในปีที่ผ่านมา เคยมีออเดอร์สั่งชานมไข่มุกมากกว่า 3 แสนแก้ว ในหนึ่งเดือน และมียอดสั่งอาหารว่างตลอดทั้งวัน ตั้งแต่มื้อเช้า เที่ยง บ่าย และมื้อค่ำ และบางครั้งการสั่งซื้อก็อยู่ในระยะทางน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งแปลว่าคนสั่งจากร้านที่อยู่ใต้ตึกหรือตึกข้างๆ ให้มาส่งที่ทำงาน what a lazy life!

 

บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการสอบถามผู้บริโภคทั้งหญิงและชายรวม 600 คน ในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ไม่น่าแปลกใจว่า Gen Y ซึ่งเป็นหนุ่มสาวออฟฟิศ จะมีการใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่มากขึ้นกว่า Gen อื่นๆ ในขณะที่ Gen X มีแนวโน้มที่จะใช้น้อยลง

ทั้ง 3 Gen เชื่อว่าเหตุผลหลักที่บริการฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นที่นิยมมากขึ้น เป็นเพราะ คนขี้เกียจเดินทาง และยอมจ่ายเพื่อเอาเวลาไปทำอย่างอื่น

นอกจากนี้ Gen X และ Gen Y ยังเชื่อว่าบริการนี้เหมาะสำหรับคนในเมืองที่มีชีวิตเร่งรีบ ในขณะที่ Gen Z มองว่าเป็นบริการสำหรับคนขี้เกียจรอ มากกว่า Gen อื่น

เมื่อพูดถึงผลกระทบจากการเติบโตของธุรกิจนี้ น่าสนใจที่ Gen Z มีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับมลภาวะที่เกิดจากทั้งขยะภาชนะ และมลภาวะทางอากาศ สมกับที่เป็น Eco-Shame Gen

ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากแบรนด์จะเห็นโอกาสทางการตลาดในยุค Lazy Economy แล้ว แบรนด์จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย แบรนด์ที่เริ่มคิดก่อน ทำก่อน ย่อมได้ ส่วนแบ่งทางใจจาก Young Generation แน่นอน เพราะพวกเขาเป็น ‘Action Gen’ ที่จะผลักดันทำให้แบรนด์ต้องคำนึงถึง P Planet ให้มากพอๆ กับ P Profit 

Source of Image

Credit Header image: https://kaboompics.com/photo/6981/blue-pillows-on-a-carpet

Tags:

ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

งานชี้แจงโจทย์ J-MAT Award#29

10
SHARE
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
โดยชมรมยุวสมาชิกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย หรือ J-MAT
ร่วมกับ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด

จัดงานเปิดโครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award ครั้งที่ 29 ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษามูลค่ารวมทั้งสิ้น กว่า 500,000 บาท

พร้อมชี้แจงโจทย์และรายละเอียดการทำแผนการตลาด ภายใต้หัวข้อ “จัดจ้าน สุดไอเดีย” ใน วันพุธที่ 29 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 สยามพารากอน มีนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ เข้าร่วมงานกว่า 897 คน จาก 48 สถาบันทั่วประเทศ โดยมี คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย อุปนายกฝ่ายกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และ คุณพร ดารีพัฒน์ Executive Vice President บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ

โครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award เป็นโครงการที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา ได้นำความรู้ที่ได้ศึกษาในห้องเรียน มาลองปรับใช้กับโจทย์และสถานการณ์ทางการตลาดจริง เป็นการฝึกคิด วิเคราะห์ และประมวลผลเพื่อนำเสนออย่างสร้างสรรค์ พร้อมฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมก่อนที่จะออกสู่สนามการทำงานจริง โดยในปีนี้ มีนิสิต นักศึกษาให้ความสนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เป็นจำนวน 2,938 คน รวม 454 ทีม จาก 49 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

ติดตามรายละเอียดและข่าวสารโครงการได้ทาง

  • https://www.marketingthai.or.th/j-mat-award28
  • Facebook Fanpage ได้ที่ J-MAT
  • Line@ ได้ที่ @smartjmat
  • โทร 02-679-7360-3, 095-952-4453

#JMATAward29
#JMAT
#สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

 

ภาพบรรยากาศวันชี้แจงโจทย์ J-MAT Award ครั้งที่ 29

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563

70
SHARE

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย Asia Marketing Federation (AMF) และสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดทำรายงานพิเศษหัวข้อ “10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563” รายงานฉบับนี้เป็นการจับความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของการตลาดในภูมิภาค ผนวกกับการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญของสมาคมการตลาดจากประเทศสมาชิกในเอเชีย

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย Asia Marketing Federation (AMF) เป็นองค์กรระดับภูมิภาคและเป็นเครือข่ายของสมาคมการตลาดในเอเชีย ที่มีภารกิจสำคัญในการมุ่งพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็งและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมการตลาดในแถบภูมิภาคเอเชีย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศสมาชิกจำนวน 17 สมาคมจาก ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ ไต้หวัน มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา และ บังคลาเทศ

10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563

1. Voice Search Optimization: เทรนด์การค้นหาด้วยเสียง
เมื่อเทคโนโลยี และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจดจำเสียงได้รับความแม่นยำมากขึ้น และมีการตอบสนองอย่างชาญฉลาด ส่งผลให้เทรนด์การค้นหาด้วยเสียงเป็นหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงในยุคนี้

ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการความสะดวกสบายรวดเร็วทันใจ พวกเขาแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน เทรนด์การค้นหาด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อความค้นหาแบบเดิมๆ จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ก้าวไกลและแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายที่ให้ความสำคัญกับสมาร์ทเทคโนโลยีนี้ อาทิเช่น ระบบสั่งการด้วยเสียงอัจฉริยะของ Apple Smartphone, ระบบให้ความช่วยเหลือผ่านการสั่งการด้วยเสียงของ Amazon และ อุปกรณ์สมาร์ทโฮม Xiaomi ของจีนที่สามารถควบคุมด้วยเสียง ในอนาคตอันใกล้การค้นหาด้วยเสียงจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา

2. สินค้าและบริการแบบ Hyper-Personalization ประสบการณ์เฉพาะสำหรับคุณ
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับ Big Data และ AI สร้างโอกาสให้นักการตลาดสามารถสร้างประสบการณ์เฉพาะแบบรายบุคคล ให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แต่การจะพัฒนาให้ทันความคาดหวังของผู้บริโภคให้ได้นั้น นักการตลาดต้องก้าวสู่โลกของการตลาดแบบ Hyper-Personalization Marketing ซึ่งผสานข้อมูลอันหลากหลายแบบมีการใช้ Data Science และ predictive analytics ในการวิเคราะห์และคาดเดาพฤติกรรมผู้บริโภค ทำการตลาดที่สอดคล้องร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร กับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า

Hyper-Personalization เป็นกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์จะต้องลงทุนเพื่อตอบสนองความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ พวกเขาต้องการประสบการณ์ที่รู้ใจและเหมาะกับตัวเขาที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องของกลุ่มเครื่องสำอาง ที่ในปัจจุบันไม่สามารถเหมารวมเรื่องความงามเป็นแบบเดียวได้อีกต่อไป แต่ต้องคำนึงถึงความงามที่หลากหลายและแตกต่าง ทั้งเรื่องของสีผิวและรูปร่าง 

3. Moment-based Marketing: มอบสิ่งที่ใช่ ในเวลาที่ใช่
การใช้ประโยชน์จาก Micro Moments หรือ เสี้ยวเวลาเล็กๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์สามารถจะนำเสนอคุณค่าบางอย่าง ‘ที่เฉพาะเจาะจง’ กับช่วงเวลานั้นๆ ให้แก่ลูกค้าได้

ในปัจจุบัน ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นของลูกค้าไม่ได้เรียบง่ายเป็นเส้นตรงเหมือนเดิมอีกต่อไป แต่มีรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายที่เราต้องเรียนรู้และปรับตัว ตัวอย่างเช่น การโพสต์ที่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้เลย เป็นรูปแบบใหม่ทีย่อกระบวนการ จากการรับรู้ สู่การซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค ให้การตัดสินใจนั้นสั้นและกระชับมาก ดังนั้น นักการตลาดจึงต้องพาแบรนด์เข้าไปอยู่ใน Micro Moment ของกลุ่มเป้าหมายให้ได้ โดยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านการออกแบบการสื่อสารการตลาดและคอนเทนท์ต่างๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือเขาอย่างเหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม

หากพูดถึงเหตุการณ์สำคัญระดับโลก ในปี 2563 นี้ ที่สามารถมาเชื่อมโยงความต้องการผู้บริโภคที่นักการตลาดสามารถนำมาสร้างแบรนด์ หรือส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้ อาทิเช่น โตเกียวโอลิมปิค ในปี 2563 (กรุงโตเกียวจะเป็นเมืองที่สอง เหมือนกับกรุงลอนดอน ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมากกว่าหนึ่งครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) และ การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในปี 2563 (Euro 2020) ทั้งสองเหตุการณ์เป็นโอกาสในการสร้างการเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายได้ตามความเหมาะสม

4. การเติบโตของ Video Search Optimization จะมาแทนที่ SEO แบบเดิมๆ
ผู้บริโภคนิยมใช้สื่อวีดีโอในการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี Video Search Optimization เพิ่มขึ้น ทำให้การขายในปัจจุบันง่ายกว่าที่เคย เพราะเมื่อผู้บริโภคเลือกเข้าไปดูวีดีโอ พวกเขาสามารถทำการค้นหาสินค้าและบริการโดยเพียงแค่แตะที่วัตถุในวิดีโอแล้วทำการซื้อได้เลยโดยไม่ต้องออกจากหน้าวีดีโอนั้นๆ นอกเหนือจากนี้ เทรนด์การหาข้อมูลผ่านวีดีโอสตรีมมิ่งและการหาด้วยเสียงนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่ชื่นชอบและสามารถโต้ตอบกับผู้บริโภคได้มากกว่าจากการอ่านข้อมูลที่พิมพ์ไว้สำหรับการอ่าน

จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดควรจะสร้างสรรค์เนื้อหาแบบ visual มากขึ้น ที่ส่งผลกับการพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลแบบ Data Visualization, อินโฟกราฟฟิกที่น่าสนใจ, ภาพและเนื้อเรื่องที่ส่งผลต่ออารมณ์และความชื่นชอบในทุกช่องทางของการสื่อสารการตลาดและแบรนด์สินค้า

5. Nano Food Printing: นวัตกรรมเครื่องพิมพ์อาหารนาโน สามารถปรับแต่งอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมตอบโจทย์สุขภาพของรายบุคคล
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้ตื่นเต้นไปกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ การพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) แต่เมื่อนาโนเทคโนโลยีก้าวเข้ามา เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถปรับแต่งอาหารและโภชนาการให้ตอบโจทย์สุขภาพของเราได้เป็นรายบุคคล

นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จะเปิดศักยภาพใหม่และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการแปรรูปอาหาร ไม่ใช่แค่เรื่องการวิเคราะห์และสร้างสรรสร้างอาหารและโภชนาการที่ร่างกายคนต้องการ เพิ่มเอนไซม์ที่เป็นประโยชน์ที่ร่างกายต้องการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้น แต่ยังรวมถึงการหลีกเลี่ยงเชื้อโรคและส่วนประกอบทางเคมีอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับผู้บริโภคอีกด้วย

6. Space Technology Revolutionary: ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่มาจากการสื่อสารทางแสงแบบไร้สายจากดาวเทียมที่จะมาแทนสายเคเบิลใยแก้วแบบเดิมๆ
เมื่อเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โอกาสทางการค้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน ทั้งบริษัท tech-startup และผู้ลงทุนเริ่มมองเห็นศักยภาพในการมีโดเมนนอกโลก และการพัฒนาดาวเทียมวงโคจรต่ำเพื่อใช้ในการสื่อสารที่ใช้ดาวเทียมหลายดวงในลักษณะหมู่ดาว (Constellation) จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อครอบคลุมทั่วโลกและด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก แม้จะมีความท้าทายเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองจากประเทศต่างๆ แต่ประโยชน์ที่เทคโนโลยีอวกาศสามารถนำมาใช้นั้นมีความน่าสนใจมาก

เมื่อเทคโนโลยีเลเซอร์ความเร็วสูงในอวกาศมาแทนที่เส้นใยเคเบิลใต้มหาสมุทร ก็จะช่วยให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อไร้ขีดจำกัดทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถสัมผัสกับเทคโนโลยีอัจฉริยะได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ยังหมายถึงความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่นระบบอัตโนมัติของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง เป็นต้น

7. การมาถึงของเทคโนโลยี 5Gs และ bandwidth ขนาดใหญ่: ความเร็วและแรงที่จะเกิดขึ้นจริงในโลกการสื่อสาร
ระบบ 5Gs และ bandwidth ขนาดใหญ่จะช่วยเสริมศักยภาพของการตลาดในอนาคต โดยเฉพาะในเรื่องของ personalized marketing strategies หรือกลยุทธ์การตลาดระดับบุคคล เพราะความเร็วของเทคโนโลยีนี้จะช่วยเรื่องการส่งต่อของข้อมูลให้ลื่นไหล และการทำการตลาด content marketing จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

และเมื่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โลกจะยิ่งมีการเชื่อมต่อในระดับที่สูงขึ้นมาก ดังนั้น เราจะได้เห็นพัฒนาการขั้นสูงของแชทบ็อต และการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆที่ง่ายต่อการใช้งาน และระบบ 5G จะมาเปลี่ยนโลกการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเดิมๆที่เราเคยรู้จัก ให้ก้าวไกลไปอีกขั้น

8. Holographic Technology & Imagining Technology: เมื่อโลกแห่งจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง
เทคโนโลยี 5G จะช่วยทำให้ Holographic Technology & Imagining Technology กลายเป็นเครื่องมือทางเลือกที่มาแทนที่จอโทรทัศน์ที่เป็นภาพ 2 มิติ สำหรับโลกบันเทิงและการสื่อสารในอนาคต

อีกไม่ช้าเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ 3D โฮโลแกรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์สตาร์วอร์ออกสู่ท้องตลาดมากมาย ความเป็นไปได้ของธุรกิจนี้จะขยายไปอีกมากจากการเติบโตของเทคโนโลยี อาทิ โทรทัศน์สามมิติสำหรับความบันเทิง และเกมโฮโลแกรม สำหรับสมาร์ทโฟน 5G ความเร็วสูง ผู้บริโภคจะได้เปิดประสบการณ์การชมภาพยนตร์ในรูปแบบโฮโลแกรมเสมือนจริงที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบความบันเทิงที่คุ้นเคย ตัวอย่างเช่นผู้บริโภคสามารถย้อนกลับไปสัมผัสกับประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต เช่นการดูคอนเสิร์ตเก่าของศิลปินอมตะในอดีตหลายๆท่าน เป็นต้น

9. Co-working Space: ไม่ใช่แค่การแบ่งปันสถานที่อีกต่อไป แต่รูปแบบธุรกิจใหม่คือการแบ่งปันทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ
การแบ่งปันพื้นที่ทำงานร่วมกันนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการและผู้เริ่มธุรกิจมาสักพักหนึ่งแล้ว และเทรนด์นี้ยังนำไปสู่แนวคิดเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy ที่มีการแบ่งปันทั้ง ทรัพยากร และ องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนโดยรวม ซึ่งการดำเนินงานและรูปแบบธุรกิจดังกล่าวเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่และบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นอย่างมาก

แนวคิดสถานที่ทำงานร่วมกันแบบเปิด แบบที่เรียกว่า Co-working space ยังช่วยส่งเสริมการสนทนาและการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ให้ผู้คนสามารถแบ่งปันความคิดอย่างเปิดเผยและพัฒนาโอกาสทางธุรกิจ

เราได้เห็นแนวคิดเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จากวิธีการหลายๆธุรกิจในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น บริการ app ทางโทรศัพท์มือถือ ที่เป็นสื่อกลางให้กับผู้ขับขี่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับบริเวณที่มีความต้องการของลูกค้า ผันตัวเองมาเป็นคนจัดส่งของอิสระ (delivery drivers) แทนที่จะจ้างต้องพนักงานประจำเพื่อจัดส่งสินค้าดังกล่าว

10. Travel intentions for social causes: เทรนด์การท่องเที่ยวเพื่อสังคม
โครงสร้างทางสังคมยุคนี้ เอื้อให้เราสามารถเดินทางได้ง่ายขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง ดังนั้นเราจึงเห็นความเติบโตของเทรนด์การเดินทางรูปแบบใหม่เพื่อช่วยเหลือสังคม และวิธีการท่องเที่ยวก็จะช่วยเติมเต็มความต้องการส่วนตัวของผู้เดินทาง ส่วนหนึ่งมาจากความตั้งใจทำให้ทริปแต่ละทริปมีความหมายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเติมเต็มเป้าหมายให้แก่ชีวิตของตนเองผ่านการให้ การช่วยงานสาธารณประโยชน์ และคืนสิ่งดีๆ กลับสู่สังคมนอกเหนือชุมชนที่พวกเขาพักอาศัยอยู่เท่านั้น


ขอขอบคุณสำหรับการเผยแพร่ข่าวและหากต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย โทร 02 – 679 7360 – 3
ม.ร.ว. สุทธิภาณี ยุคล (หญิงนุ่น) 099 – 979 2963
หรือ จิราภรณ์ พึ่งสัตย์ (จิ๊บ) 085-1994991

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมัครรับข่าวสาร

logo