One of three columns
One of three columns
One of three columns

MAT Vaccine For Business EP.5

2.6k
SHARE

ปรับกระบวนทัพรับความเปลี่ยนแปลง

หัวข้อสำคัญสำหรับ EP นี้ พูดถึง วิถีชีวิตหลังโควิด ในช่วงที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นมาบ้างแล้ว ผู้ประกอบการและนักการตลาดต้องมีการเตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปอย่างไร หลายๆครั้งได้ยินคำว่า “New Normal” มาบ้างแล้ว ซึ่งใครๆก็พูดถึงคำว่า “New Normal” แต่อาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีผลกระทบต่อธุรกิจของเราอย่างไร

วันนี้เราจะได้มาพูดคุย และ ฟังประสบการณ์จากนักธุรกิจที่มีการปรับตัวก่อนที่จะมี “New Normal” และทำสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยน พลิกวิธีคิดเพื่อการอยู่รอด กับแขกรับเชิญสุดพิเศษ 2 ท่าน
1. คุณคงยศ วรรณนิตย์ Co-founder ฌาบีบีเฮ้าส์ ร้านอาหารฮาลาล​ชื่อดังที่แม้แต่แม่ชมพู่ยังต้องมาอุดหนุน
2.คุณแคทลียา ท้วมประถม MD. The Design Essential Co.,Ltd ผู้ขยายกิจการครอบครัว สู่ผู้นำด้านธุรกิจออกแบบของไทย

ทั้ง2 ท่านเริ่มต้นธุรกิจจากการเป็น SMEs จนเติบโตขึ้น และตอนนี้ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด วันนี้เราจะมาคุยเกี่ยวกับว่าทั้งสองท่านพาธุรกิจผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างไร

จุดเริ่มต้นของฌาบีบีเฮ้าส์ เริ่มต้นเปิดสาขาแรกที่จุฬา จากหุ้นส่วนของคุณคงยศที่ต้องการรักษาสูตรอาหารฮาลาลของคุณแม่ เมื่อมีผลตอบรับที่ดีจึงสขายสาขาที่สอง ไปที่ประชาอุทิศ23

ธุรกิจของคุณแคทลียา เริ่มจากรุ่นคุณย่า ขายของที่ริมถนนพาหุรัถ รุ่นคุณพ่อที่เริ่มซื้อตึก มาถึงรุ่นคุณแคทลียา มีความตั้งใจที่จะต่อยอดธุรกิจของครอบครัวให้ต่อเนื่องไป และด้วยใจรักในการทำธุรกิจ จากธุรกิจการ์ดแต่งงาน ในรุ่นของคุณแคทลียา ได้พัฒนาให้เติบโต นอกจากร้านที่มีชื่อเป็นที่รู้จัก คือ ANYA อยู่ที่ทองหล่อ ที่พาหุรัถ ก็ยังมีสาขาอยู่ที่ประเทศพม่า และ ประเทศลาว และมีการต่อยอดธุรกิจด้านออกแบบดีไซน์ และ Branding design ชื่อ The design essential ด้วย

จากช่วงเวลาที่กำลังไปได้ดี เมื่อเกิดโควิด ทั้ง 2 ท่านได้รับผลกระทบอย่างไร และตั้งหลักอย่างไรบ้าง

ในด้านของธุรกิจ wedding ช่วงปลายปีที่ผ่านมา เห็นตัวเลขที่คนแต่งงานน้อยลง ขนาดของงานเล็กลง และใช้เงินกับการทำการ์ดแต่งงานน้อยลง จากที่เริ่มเห็นถึงสถานการณ์นี้ก็เกิดความคิดที่จะปรับตัวตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดโควิด แล้วในช่วงแรกที่เกิดโควิด ก็นั่งคิดว่าคงมี 2 ทางเลือก จะแค่อยู่รอด หรือจะรวยขึ้น เพราะมีความเชื่อว่าในทุกวิกฤตมีโอกาส หากมองว่าปรับตัวแค่อยู่รอดก็เป็นการกรอบตัวเอง แต่หากมองว่าอยากจะรวยขึ้น จะมีวิธีการไหนบ้างที่จะทำให้เรารวยขึ้น
สำหรับวิธีรับมือ คือ เริ่มต้นจากการย้อนกลับไป ตั้งคำถาม อยากรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรจากเรา และมีปัญหาอะไร เนื่องจากทางร้านทำของชำร่วยงานศพ สิ่งที่ถูกถามถึงคือ มาส์ก สเปรย์และเจลแอลกอฮอล์ ก็คิดว่า ถ้าลูกค้าต้องการ เราต้องหามาให้ จึงเริ่มผลิตแอกอฮอล์เจล และมาส์ก ที่เป็นของตัวเอง เริ่มจากการที่ผลิตมาแจก จนมาถึงการทำมาผลิตให้กับลูกค้า แต่ก็ยังมีคำถาม ว่าของที่เรามี คนอื่นในตลาดก็มี แล้วทำยังไงถึงจะขายดีกว่าคนอื่น

วิธีการที่ทุกคนนำไปใช้ได้เลย เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้น อย่างแรกคือตั้งสติ ปรับทัศนคติ ทำให้เกิดทางเลือก แล้ววิธีแก้ปัญหาจะตามมา

สำหรับร้านฌาบีบี ก่อนมีโควิด ไม่ได้เน้นการขายเดลิเวอรี่ เนื่องจากเมนูแป้งของที่ร้านนั้น เน้นทานร้อน ทานที่ร้านจะอร่อยที่สุด แต่เมื่อต้องปิดหน้าร้านจากสถานการณ์โควิด ยอดขายหายไปกว่า 90% จึงรีบประชุมทีม ปรับบรรจุภัณฑ์ และวัตถุดิบจากเมนูที่มี ถ่ายรูปและทำการโปรโมทตามช่องทางต่างๆ และเริ่มทำการตลาดด้วยการออกไปส่งของ หาลูกค้าด้วยตัวเอง ในทุกครั้งที่ออกไปทำให้สามารถนำข้อมูลต่างๆกลับมาประชุมทีม พัฒนา ปรับปรุง ทั้งการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และคุณภาพของอาหารให้ดีขึ้น จนกระทั่งยอดขายกลับขึ้นมาถึง 500%

จุดเด่นของร้านฌาบีบี คือ แป้งอินเดีย กินคู่แกงไทยมุสลิม เสริมด้วยบรรยากาศของร้านตกแต่งสไตล์คาเฟ่ เป็นร้านอาหารฮาลาลที่เปิด 11.00-02.00 น.
นอกจากคุณภาพ และความอร่อยแล้ว เมนูของร้านฌาบีบี ยังมีความครีเอทีฟ เป็น unique selling point ของร้านเพิ่มเข้าไปอีก ผู้ประกอบการที่มีความจริงใจ เป็นหัวใจที่ทำให้สามารถรักษาฐานลูกค้า และยังสนับสนุนกันในยามที่เจอปัญหาได้

ทั้งสองท่านคิดว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ที่สายป่านไม่ยาว ควรบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างไร

ในมุมมองคุณแคทลียา ธุรกิจขนาดกลางและเล็กก็มีความสามารถที่จะปรับตัวได้ง่าย คุณแคทลียาให้ความสำคัญกับ การวางแผนกำหนดการจ่ายเงิน และตรวจสอบกำหนดรายรับ เพื่อให้เพียงพอค่าใช้จ่าย

ในส่วนการทำงาน ก็ระดมสมองกับทีมงานว่าธุรกิจ หรือส่วนงานไหนที่พอจะสามารถทำให้เกิดรายได้ในช่วงเวลานี้ ยิ่งไปกว่านั้น คือการให้ความมั่นใจกับพนักงานว่า ตัวเราจะพาทุกคนผ่านไปได้ ในสถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าวิธีการไหนจะดีที่สุด แต่คุณแคทลียาเลือกที่จะไม่หยุดนิ่ง หากธุรกิจที่1 ไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ก็รีบหาทางธุรกิจที่2 หากพอเห็นทางเป็นไปได้ ก็ทดลองธุรกิจที่3 เพิ่มเติม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความหวังและกำลังใจของพนักงาน

ในมุมของร้านอาหาร เริ่มจากประมาณการรายจ่าย พูดคุยกับพนักงานต่างชาติว่าต้องการกลับบ้านหรือไม่ ทำให้ลดรายจ่ายส่วนหนึ่ง วันแรกที่เริ่มปิดร้าน ตรวจพบสต็อควัตถุดิบอยู่เต็ม จากการเตรียมขายปกติ เมื่อพูดคุยกับหุ้นส่วน จึงเลือกใช้วิธีการโปรโมททุกเมนูที่มี ภายใน 1 สัปดาห์ ยอดสั่งอาหารกลับมามากกว่าปกติ จนต้องทำการจ้างคนเพิ่ม เนื่องจากแป้งโรตีเป็นเมนูที่ต้องใช้การทำมือ ทำให้ได้เพิ่มรายได้ให้แก่คนที่ว่างงานช่วงเวลานั้น และจากการฟื้นตัวได้เร็ว จึงไม่ได้กระทบกับกระแสเงินสดมากนัก เพราะมีรายได้จากการประชาสัมพันธ์ออนไลน์

สำหรับร้านอาหารที่ ต้องการปรับตัว และสร้างความแตกต่าง คุณคงยศให้คำแนะนำว่าปัจจุบันลูกค้า สนใจการเล่าเรื่องมากขึ้น วัตถุดิบมาจากที่ไหน มีกระบวนการอย่างไร เป็นส่วนช่วยสร้างจินตนาการและบรรยากาศการทานอาหารให้ลูกค้ามากขึ้น และจากการสังเกต ลูกค้ามักจะเสียดายค่าขนส่งอาหาร คุณคงยศเองได้ติดต่อกับรุ่นน้องที่รวมทีมบริการส่งอาหาร และติดต่อคู่ค้าบริการส่งอาหารต่างๆ ในทุกช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้น

ปัญหาของร้านอาหารที่ทำเดลิเวอรี่ คือ ค่าขนส่งที่สูงกว่าราคาอาหาร เมื่อมีโปรโมชั่นลดค่าขนส่งก็สามารถทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ความท้าทายจากยอดขายที่โตขึ้น คือ การทำอย่างไรที่จะใช้ช่วงเวลานี้ ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ต่อไปได้

การขยายจะผลให้ยั่งยืน สามารถนำเรื่องของการตลาดมาใช้ได้ โดยการให้ความสำคัญกับ Database ด้วยการเก็บข้อมูลง่ายๆ ในโปรแกรม Excel เพื่อนำไปต่อยอด สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเพิ่มเติมได้อีก
ลูกค้าคือคนที่จะบอกทิศทางว่า สินค้าหรือบริการอะไรที่ประทับใจ แล้วพร้อมที่จะสนับสนุนต่อไป
เรื่องราวของร้านฌาบีบี ที่บอกเล่าอย่างจริงใจ จะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นว่าร้านนี้ก็จะขายสินค้าดีๆอย่างจริงใจเช่นกัน

ในมุมของคุณแคทลียา สำหรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว จะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีก

ในธุรกิจการทำการ์ดแต่งงาน ปัจจุบันมีรูปแบบที่ลดขนาดของงาน และพิธีการลง สำหรับคุณแคทลียาที่มองเห็นความชำนาญของธุรกิจตัวเองว่า เป็นการทำงานออกแบบ ที่ส่งเสริมให้ทำของชำร่วย และการ์ดแต่งงานได้ดี ธุรกิจหนึ่งของเราอาจจะเป็นการ์ดแต่งงาน แต่ของชำร่วยนั้น เมื่อนำมาประยุกต์ ผูกโบว์สีชมพูเป็นของชำร่วยงานแต่ง ผูกโบว์สีดำคือของชำร่วยงานศพ ใส่กล่องสวยเป็นของพรีเมี่ยม เมื่อเปลี่ยนมุมมองให้กว้างขึ้น ก็จะเห็นหนทางที่จะปรับเปลี่ยนได้มากขึ้น ซึ่งคุณแคทลียาใช้ประเมินวิธีการต่างๆ ได้ใน1วัน ภายใน1วัน จะเห็นผลตอบรับที่เป็นไปได้ หากช้ากว่านั้น จะถือไม่รอด

สิ่งที่ทีมของเราเก่ง จะไปต่อได้ เมื่อเรามองเห็นว่าสินค้าหรือบริการที่เราทำอยู่ มีอะไรที่สามารถปรับออกมาใช้ได้ การนำเจลแอลกอฮอล์ และมาส์ก มาจัดเป็นของพรีเมี่ยมก็ทำให้แตกต่าง

สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ระยะสั้น หลังกลับมาเปิดร้านได้ ต้องพร้อมรับลูกค้าหน้าร้าน ไปพร้อมกับการเตรียมเดลิเวอรี่มากขึ้น เพราะคนเริ่มคุ้นชินกับการสั่งอาหาร การออนทัวร์ก็จะขยายพื้นที่ ให้คนรู้จักและนำคนมาหน้าร้าน สุดท้ายก็ต้องดูพฤติกรรมลูกค้าและปรับตัวอยู่เสมอ

ความฝันของร้านอาหาร เมื่อขยายจากสาขาที่1 ไปสาขาที่2 จะรู้ได้อย่างไรว่าเราพร้อมจะขยายสาขาแล้ว และการเลือกทำเล ต้องทำอย่างไร

จากที่เปิดร้านมา6-8เดือน เห็นผลตอบรับที่ดี เกิดความมั่นใจว่าจะไปต่อได้ เมื่อตัดสินใจขยายสาขา จึงเริ่มที่จะทำความเข้าใจลูกค้า หากเลือกเปิดในพื้นที่ของคนมุสลิม ก็จะมีร้านอาหารในพื้นที่ ซึ่งทำให้พิจารณาว่า ควรขยับออกมาในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ได้ลูกค้ามุสลิม และลูกค้าทั่วไป เข้าถึงได้ง่ายด้วย

การเลือกตามกลุ่มเป้าหมาย และ พฤติกรรมของลูกค้า เลือกพื้นที่ใกล้เคียง ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจในรูปแบบที่ลูกค้าของเราชอบ คือ หัวใจของการมีหน้าร้าน

ขอให้ทั้งสองท่าน ฝากแนวคิดทิ้งท้าย

คุณแคทลียา – ตอนนี้เป็นช่วงเวลาการรีดค่าใช้จ่ายที่พอกพูน รีดศักยภาพของทีมงานที่ยังนำออกมาใช้ไม่เต็มที่ และอย่าท้อแท้ง่ายๆ คนที่ชนะคือคนที่ทดลองไปเรื่อยๆ จนพบทางที่ใช่ ขอให้มีความสุขกับการต่อสู้กับโควิด หลังจากนี้เราจะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้น ดีขึ้น และสนุกกับการททำธุรกิจมากขึ้น ไม่ว่าจะมีคลื่นอะไรเข้ามาในชีวิต เราจะผ่านไปได้

คุณคงยศ – ธุรกิจร้านอาหาร หัวใจการเอาตัวรอดตอนนี้คือ ออนไลน์และเดลิเวอรี่ เป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของยุคปัจจุบัน อย่าจำกัดตัวเอง หมั่นพัฒนาตัวเอง และสร้างความน่าสนใจในการดึงดูดลูกค้า passionในการทำธุรกิจ ไม่ยอมแพ้ passionในอาหาร นำมาเขียนเรื่องราวจนลูกค้าอยากลอง ส่งต่อพลังให้ทีม และพาร์ทเนอร์

สรุปสุดท้าย หัวใจของความเปลี่ยนแปลง คือการไม่ยอมแพ้ พยายามอย่างไม่ท้อ ดึงศักยภาพที่ยังไม่ถูกใช้ออกมา ขอให้ทุกท่านผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างปลอดภัย

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาฯ ของมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

2.5k
SHARE

ประกาศผล!

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาฯ
ของมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
มีผู้ผ่านการคัดเลือก จำนวน 16 คน จากผู้สมัครรับทุนจากมูลนิธิฯ จำนวน 44 คน

ขอแสดงความยินดีกับนิสิต นักศึกษาๆ ทุกคนที่ผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้

ทั้งนี้ขอให้นิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก ส่งอีเมล์ไปที่ : [email protected] (คุณฝน) เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนโดย
1. แจ้งชื่อ – นามสกุล – ชื่อเล่น
2. แจ้งชั้นปีที่ศึกษาอยู่ปัจจุบัน
และขอให้นิสิตนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือก เข้าร่วมกลุ่ม line Official (@matsociety อย่าลืมใส่เครื่องหมาย@นำหน้า) และ Facebook (MAT Society) เพื่อรับข่าวสาร และการนัดหมายในอนาคต

หมายเหตุ :
– นัดรายงานตัว วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563  เวลา 12.00-15.00 น.
– แต่งกายชุดนักศึกษาถูกระเบียบ (ผู้หญิงใส่กระโปรงยาว รองเท้าหุ้มส้น ผู้ชายผูกไทด์)

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ  สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย 02-679-7360-3  (คุณฝน)

ประกาศผลรายชื่อผู้ได้รับทุนการศึกษา ปี 2563

 

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ภาพบรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจําปี 2563 และสัมมนาพิเศษ

2.5k
SHARE
 

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์เซ็นเตอร์พอยท์ เทอมินอล 21 ห้อง Grand Ballroom และได้เชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุมพร้อมอัพเดตเทรนด์ ไปกับสัมมนาพิเศษ“The changing trend of social commerce in Thailand” โดย คุณธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ Co-Founder, Small World for Kids Co.,Ltd. และ เป็น 1ใน10 Facebook Alpha Tester ของไทย

หลังจากนั้นเเริ่มการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี 2563 แถลงผลการดำเนินงานประจำปี 2562 ของสมาคมการตลาดฯและมูลนิธิเพื่อการศึกษาฯ โดย คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมฯ , คุณบุรณิน รัตนสมบัติ เลขาธิการสมาคมฯ ,คุณวิไลวรรณ กาญจนกันติ กรรมการเหรัญญิก และดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมแถลงผลงาน โดยผลงานตลอดปีที่ผ่านมา อีกทั้ง สมาชิกยังได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและซักถามทำความเข้าใจในระบบการดำเนินการของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และนับเป็นโอกาสอันดีที่สมาชิกได้มาพบปะพูดคุยกัน ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะและความเห็นชอบ เพื่อคณะกรรมการดำเนินการจะได้นำไป พิจารณาเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป และสิ้นสุดที่การเลือกตั้งนายกสมาคมการตลาดฯ วาระช่วง 2563 – 2565 ในปีนี้ คุณอนุวัตร เฉลิมไชย​ Head of Ceramics Business บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด มหาชน ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมการตลาดฯคนใหม่

สมาคมการตลาดฯต้องขอขอบคุณสมาชิก และผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน หากเพียงลำพังที่คณะกรรมการบริหารสมาคมการตลาดฯ คิดทำโครงการต่าง ๆ ขึ้นมาแล้วไม่มีแรงสนับสนุนจากจากทุกฝ่าย สมาคมการตลาดฯ คงไม่ยืนหยัดได้อย่างแข็งแรง และสร้างสิ่งดีงามเพื่อวงการการตลาดของไทยมาจนถึงในวันนี้🙏🙏

 

 

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT Vaccine For Business EP.4

2.5k
SHARE

Tribal Marketing การตลาดหมู่เฮาช่วยเรายามโควิด

วันนี้มีแขกรับเชิญ 3 ท่าน คือ
คุณภาวรินทร์ รามัญวงศ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน”
คุณปาณพล จันทรสุกรี ผู้ก่อตั้งกลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส”
คุณอนัณทินี จิตจรุงพร ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและกลยุทธ์การสร้างแบรนด์

หัวข้อในวันนี้ มาจากบทความที่คุณทินีเขียน เกี่ยวกับ Tribal Marketing เลยจะขอเริ่มต้นให้ที่มุมมองและประเด็นของ Tribal Marketing ว่าคืออะไร

Tribal Marketing เป็นคำที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยถูกพูดถึง จากเมื่อก่อนใช้อธิบายวิธีการทำการตลาดกับคนที่มีทัศนคติ และนิสัยที่เหมือนกัน เช่น กลุ่มคนรักบิ๊กไบค์ กลุ่มคนรัก Luxury Brand ก็จะมีเว็บไซต์ที่เจาะกลุ่มคนเหล่านี้
ในมุมของตลาดออนไลน์ หรือ มาร์เก็ตเพลสของสถาบันต่างๆ จะกลับกันนิดนึง คือ สร้างตลาดให้กลุ่มคนที่เหมือนๆกัน ในทางที่ว่ามาจากแหล่งเดียวกัน ความเจ๋งของตลาดเหล่านี้คือ เกิดมาก็เป็นคอมมูนิตี้เลย มีความไว้เนื้อเชื่อใจในการคุย และ ขายของ เหมือนช่วยพี่น้องของเรา ในมุมของความเชื่อใจที่ว่า กลุ่มของเรามีมาตรฐานที่ดี และไม่หลอกลวงกัน ไม่เป็นไปในเชิงความรู้สึกของการซื้อขายซะทีเดียว เหมือนมาเจอเพื่อนเก่า มาแชร์เน็ตเวิร์คกันในกลุ่ม

เมื่อพบว่าเกือบ 90% ของสิ่งที่เราใช้ ที่เรารู้จัก เป็นของเพื่อนเราหมด เป็นคน Tribe เดียวกัน ก็ทำให้เกิดความอยากใช้เพิ่มขึ้น

ในช่วงเวลาที่เฟสบุ๊ค Social media มีแต่ความทุกข์ หมดหวัง เต็มไปด้วยเรื่องราวของการค้าขายไม่ได้ เศรษฐกิจไม่ดี ปัญหาอื่นๆอีกมาก เมื่อเกิดกรุ๊ปนี้ขึ้น มันมีความหวังที่เกิดขึ้นอย่างไม่ธรรมดา ที่หลายคนก็รอดได้เพราะ Marketplace ชนิดนี้ ที่ไม่ว่าจะขายอะไรก็มีคนพร้อมที่จะสนับสนุน

ที่มาของ กลุ่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน

คุณภาวรินทร์ เป็น 1 ใน คนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด จากงานที่ทำอยู่ในธุรกิจบริษัทท่องเที่ยว ในช่วงแรกของเดือนเมษายน ที่ต้องอยู่บ้าน แล้วพบว่าทุกคนหมองหม่น ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่แค่เราคนเดียว ธุรกิจของเพื่อนๆต้องปรับตัวสู่การทำออนไลน์ และสั่งกลับบ้าน รวมไปถึงเพื่อนที่ไปชอปปิ้งทุกวัน ก็ออกไปไหนไม่ได้ ทุกคนอยู่ในภาวะที่โดนล็อคไว้หมด ไม่ว่าจะคนขายหรือคนซื้อ

ซึ่งจากการที่มีเพื่อนๆหลายคณะ ทำให้เห็นว่า เพื่อนๆขายของอะไรกันบ้าง และก็ได้เห็นเพื่อนที่ตามหาของกิน เป็นที่มาว่า อยากให้คนเหล่านี้มาเจอกัน จึงสร้างกรุ๊ปให้ทุกคนมาอุดหนุนกันเอง จากการเริ่มต้นชวนเพื่อน 30 คน ที่รู้จักกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนที่เข้ามาโพสขายของจะเป็นการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง มีความสนุก ความเพลิดเพลินที่จะพูดคุยกัน คลายเหงา แล้วก็เกิดการชวนเพื่อนต่อ กลายเป็น 200 คน ภายในไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึง 2,000 คน ใน 3 วัน จนไปถึงหลักแสน

ในส่วนของจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส

จากการทำงานในสาย Marketing Agency ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ในช่วงที่หยุดพัก จึงผันตัวมาขายขนมของคุณแม่ ใน Social media ช่องทางต่างๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นคือ รุ่นพี่ที่ทำงานซึ่งต้องการสนับสนุน ได้ช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านกรุ๊ปไลน์ของนิติบุคคลหมู่บ้าน จากสมาชิกจำนวน 3-4 ร้อยคน แต่มียอดขายที่ใกล้เคียงกับบนหน้าเพจ facebook และมียอดขายที่ต่อเนื่อง ทำให้คุณปาณพลได้ตั้งข้อสังเกต ว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นช่องทางขายของที่ดี รวมไปถึงการได้เข้าไปในกลุ่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้านเห็นกระแสที่ดี อีกทั้งยังไม่เห็นใครริเริ่มในฝั่งจุฬาฯ ก็ตัดสินใจเริ่มสร้างกรุ๊ปขึ้นมา ทำให้ 18 ชั่วโมงแรก มีสมาชิก 10,000 คน และ 100,000 คน ใน 4 วัน

หัวใจความสำเร็จจากทั้งสองกรุ๊ป

กล้าที่จะก้าวออกจากกรอบเดิมๆ ในสภาวะที่คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดี ทั้งสองผู้ก่อตั้งคือผู้ที่มองเห็นว่าถ้าไม่ลุกขึ้นมาทำอะไร ก็จะไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลง อีกสิ่งหนึ่ง คือการเชื่อมคน เมื่อก่อนคนจะบอกว่ามี demand จึงเกิด supply แต่ มาร์เก็ตเพลส รูปแบบนี้ คือการมี supply แล้วทำให้เกิด demand ที่เรายังไม่รู้เลยว่าต้องการ

พูดถึงกรณีที่ไม่เคยคิดว่าจะเห็นบนการขายออนไลน์
คุณภาวรินทร์เล่าถึงกรณี มีคนที่ทักเข้ามาทักทาง inbox ว่าอยากขายสบู่นกแก้ว จากราคาที่หาซื้อได้ 9 บาท จะขายในราคาก้อนละ 100 บาท จากการรับฟังเรื่องราวกว่า 3 ชั่วโมง ในความพยายามที่จะนำเสนอ และสร้างคุณค่าให้กับสินค้า สามารถโน้มน้าวใจ ให้คุณภาวรินทร์ตัดสินใจซื้อได้ ถ้าสามารถที่จะสร้าง Value ให้สินค้าได้ ก็มีคนพร้อมจะอุดหนุน ซึ่งตัวผู้ขายเองก็มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนที่จะขายให้กับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปซื้อเอง ถึงได้ตั้งราคาที่สูง

ปัจจัยอื่นๆ อไรที่ทำให้การตั้งกรุ๊ปทั้งสองนี้ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่กระตุ้นทำให้คนกล้าที่จะซื้อ หรือแม้แต่การบอกต่อในกลุ่มไลน์ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ง่าย เกิดจาก pain point ที่ผู้ขายไม่สามารถขายหน้าร้านได้ ผู้ซื้อเองก็ออกจากบ้านไม่ได้ เมื่อมีกลุ่มคนที่ขายของจึงมาตอบโจทย์นี้ แล้วเมื่อพบว่าของที่เราอยากจะซื้อ ถูกขายโดยพี่น้องสถาบันเดียวกันของเรา ทำให้ได้ระลึกความหลังร่วมกันด้วย

อีกมุมนึง ที่นักการตลาดพูดถึง Social Media Marketing สิ่งนึงที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือรีวิวของลูกค้า
เมื่อเป็นการรีวิวจากพี่น้อง ทำให้ความเชื่อใจ และมั่นใจในคุณภาพมากขึ้นไปอีก

ความสำเร็จในมุมของ มาร์เก็ตเพลสต่อจากนี้ สองผู้ก่อตั้งมองการต่อยอดอย่างไรบ้าง

คุณปาณพล อยากให้เกิด offline market เพราะเข้าใจถึงการกลับออกไปใช้ชีวิต มาเจอกันจริงๆ อยากพัฒนา feature ที่มาสนับสนุนรูปแบบของการขายในกรุ๊ป เช่น การจับคู่ธุรกิจ หรือการมีดีลพิเศษให้สมาชิกในกลุ่ม ที่สามารถเกิดเป็นอำนาจต่อรองได้

คุณภาวรินทร์ เห็นภาพที่ใกล้เคียงกัน จากการอยู่ในวงการออแกไนซ์เหมือนกัน อายุรุ่นเดียวกัน เมื่อมีปัญหา ต้องปรึกษาเรื่องในกรุ๊ปก็คล้ายๆกัน สามารถที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แล้วนำมาปรับตามวัฒนธรรมของแต่ละมหาวิทยาลัย เพียงแต่ว่า เรื่องออฟไลน์ตลาด ทั้ง 2 มหาลัย เป็นที่รู้จัก ถ้าจับมือกัน ทำงานแฟร์า คู่กับงานฟุตบอลประเพณี เรามั่นใจว่าสามารถทำได้

ในมุมของคนซื้อ-ขาย มีมุมมองในโอกาสอื่นๆที่ควรคิดต่อยอดอย่างไร

เนื่องจากกรุ๊ปนี้ตลาดที่ใหญ่ และหลากหลาย สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การจับคู่ธุรกิจ อีกส่วนหนึ่งคือ ฐานข้อมูลลูกค้า ที่นำไปต่อยอดในด้านอื่นๆต่อได้

และในวัฒนธรรมของแต่ละตลาดก็จะไม่เหมือนกัน คาแรคเตอร์ วิธีโพสขาย บรรยากาศ ก็จะเป็นคาแรคเตอร์เฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เน้นขายตัวเอง personal branding และ story telling ทางจุฬา จะเป็นเชิงเนื้อหาสาระ และฟังก์ชั่นของสินค้า โพสอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

ซึ่งที่พูดถึงวัฒนธรรมของตลาดเพราะ เมื่อต่อไปตลาดเป็นเชิงการค้ามากขึ้น ก็อยากให้รักษาตัวตนของตลาด จากจุดเริ่มต้นเอาไว้ เพราะกลุ่มลูกค้า หรือผู้ค้าในแต่ละตลาดก็ไม่เหมือนกันด้วย

ม.ร.ว.สุทธิภาณีเสริม เรื่องการโพสถึงฟังก์ชั่นสินค้า และบอกว่าเราขายอะไร ในส่วนของการทำ branding ที่นอกเหนือจาก personal branding ตลาดมาร์เก็ตเพลสนี้ ถือเป็นหมัดฮุกระยะสั้น ซึ่งในระยะยาว ต้องไม่ละเลยการสร้าง branding การทำ CRM และ ฐานข้อมูล ที่ได้จากโอกาสนี้ นำไปสร้าง engagement ต่อยอดมาสู่หน้าร้าน หรือเพจของเรา เมื่อต่อไปสถานการณ์กลับไปเป็นปกติ คนจะไปชอปปิ้งในช่องทางที่หลากหลาย หรือมีมาร์เก็ตเพลสอื่นๆเกิดขึ้น ในฐานะคนที่ทำแบรนด์ไม่ควรละเลย ที่จะทำให้คนจดจำเรื่องราวของเรา ว่าแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

Branding ของสินค้าที่ไม่ค่อยแตกต่าง อย่างผลไม้ หรือขนมหวาน ที่มีหลากหลาย ไม่ใช่ปัญหาลูกค้า แต่เป็นปัญหาของร้าน Branding เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารู้จัก ในสิ่งที่เราอยากให้ลูกค้ารู้จัก แล้วจำได้ โดยที่อาจจะไม่ได้มีโลโก้อะไรสวยงาม เช่น จีฉ่อย (ร้านขายของชำ ชื่อดังของตลาดสามย่าน) Branding สามารถทำได้ผ่านตัวสินค้า functional benefit อีกทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และสิ่งที่ทำให้ชัดได้ คือ คาแรกเตอร์ของร้าน ผ่านที่มาที่ไป หรือ การให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ทำให้คนรู้จักและจดจำว่าเราเป็นร้านที่มีความชำนาญ

กรณีที่โพสขายแล้วประสบความสำเร็จ ร้านนั้นมีอะไรที่แตกต่างจากคนอื่น

ในมุมของตลาด จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส ให้แสดงตัวตนว่าคุณคือคนของมหาวิทยาลัย ต่อมาเป็น ความใส่ใจในเรื่องราว รูปภาพ และคลิปวิดีโอ ให้สร้างสรรค์ สร้างความแตกต่าง ดึงให้เพื่อนๆมีส่วนร่วม จะทำให้โพสต์มี engagement ที่ดี

ทางฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน คุณภาวรินทร์กล่าวว่า ตลาดนี้เกิดจากความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นหลัก ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ควรมีความซื่อสัตย์และมีเจตนาที่ดีต่อกัน เป็นเรื่องสำคัญ

ด้วยลักษณะของกรุ๊ป จะเปลี่ยนไปตามความนิยม โพสที่เป็นที่นิยมจะขึ้นอยู่ด้านบน การทำให้ content ของเราน่าสนใจ จะช่วยให้คนเป็นจำนวนมากมองเห็นโพสของเรา

สรุปหัวใจความสำเร็จจากที่พูดคุยมา ที่ไม่ว่าจะทำการขายที่ไหน ก็ควรมี 4 สิ่งนี้
  • Authenticity ของคนขาย ความจริง ความชัด ยิ่งในกลุ่มตลาดปิด จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
  • Content จะสร้าง engagement ให้ ต้องมีรูปภาพและเรื่องราวที่สร้างสรรค์
  • สร้าง Engagement ง่ายๆ โดยการชวนเพื่อนมาพูดคุย รีวิว ซึ่งเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของตลาด Tribal
  • ความซื่อสัตย์ ขายของตรงตามที่บอก มีคุณภาพดี เพราะโฆษณาจะทำให้คนหลงมาซื้อสินค้าคุณได้แค่ครั้งเดียว เขาจะมาซื้ออีกหรือไม่ อยู่ที่คุณและสินค้าของคุณดีจริงไม่ ที่จะทำให้เขากลับมา
Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT Vaccine For Business EP.3

21
SHARE

คิด Content ยังไง ให้โดนใจ และสร้างยอด?

หัวข้อในวันนี้ เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การขายของประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องของการคิด Content ยังไง ให้โดนใจ และสร้างยอด? โดยแขกรับเชิญคือ
คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ผู้ก่อตั้ง บริษัท dots Consultancy ในการทำ Training ด้านการตลาดดิจิทัล และเป็นเจ้าของบล็อก nuttaputch.com
คุณจักรพล จันทวิมล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท นันยาง มาร์เก็ตติ้ง

Content Marketing คืออะไร?

โดยนิยาม คือ กระบวนการที่ใช้ content เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการตลาดต่อธุรกิจของคุณ ในลักษณะ ภาพ วิดีโอ อีเว้นท์ เสียง มันคือการสื่อสาร ที่ถูกตกแต่งให้ชัดเจนขึ้น

ในสมัยก่อน มักจะพบในรูปแบบของโฆษณา แต่จริงๆแล้วการสื่อสารมีมากกว่านั้น และไม่ใช่เพียงการขายของ ยังมีการช่วยเหลือ การให้ความรู้ หรือโน้มน้าวใจ ในหลายๆวิธี มิติของการสื่อสารทางการตลาดจึงมีมิติ และความหลากหลายมากขึ้น ถ้าพูดให้ง่าย ก็คือทักษะการสื่อสารนั่นเอง แอดมินตอบข้อความ ก็เป็นคอนเทนต์ กลิ่น ก็เป็นคอนเทนต์ เช่น ธุรกิจสปา ร้านอาหาร

Content คือ ข้อมูลที่เราสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าของเรา

Content ทึ่ดี ไม่เท่ากับ Content ที่ดัง

การสื่อสารที่ดี คือการสื่อสารที่บรรลุวัตถุประสงค์ของตัวเอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การทำให้รู้จัก ทำให้ชอบ ทำให้สนใจ ทำให้อยากซื้อของ ทำให้หยุดด่า ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการอะไร

ถ้า Content ที่ดัง คือ การเข้าถึงคนเยอะ แล้วถ้าเป็นการเข้าถึงคนเยอะ ในแง่ลบ ก็นับว่าบรรลุวัตถุประสงค์
หัวใจสำคัญ ที่คุณณัฐพัชญ์ พูดเสมอ “สำหรับผม ผมไม่ได้คิดว่ากำลังสอนให้คุณทำให้ content ดัง แต่ผมอยากให้รู้ว่าคุณกำลังทำ content marketing ที่ดี คุณรู้รึเปล่าว่า content ที่ดีแปลว่าอะไร และคุณทำ content เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้นรึเปล่า” เช่น นันยางต้องการให้ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนา เพื่อเป็นที่สนใจมากขึ้น ถ้าทำสำเร็จ ก็ถือว่าโอเค แต่ถ้าเกิดว่าดังจริง แต่เป็นกระแสลบ ก็ไม่เรียกว่าประสบความสำเร็จ

ทำไมเราถึงมักจะขีดความสำเร็จ ที่ตัวเลข view, like, share?
การทำ content ที่ดี คือ content ที่สามารถทำให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือ ทำให้คุณบรรลุประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลข view, like, share

ผลประโยชน์ทางธุรกิจ คืออะไร?
คนจำ คนรู้สึกสนใจ คนรัก มีแนวโน้มจะซื้อมากขึ้น

คุณจักรพล กล่าวว่า ในกรณีของนันยาง ไม่ใช่แค่สร้างความรัก ความสนใจ แต่ยังสร้างยอดขายได้ด้วย ให้เริ่มจากหลักการพื้นฐาน ของ marketing คือ การบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งก็คือ การขายได้ ไม่ว่าจะทำการตลาดในรูปแบบไหน สุดท้ายแล้วต้องขายได้ การเป็นที่รู้จัก ถ้าขายไม่ได้ ธุรกิจก็ไปต่อไม่ได้
การตลาด คือ เราจะทำยังไงที่จะช่วยให้ขายได้ ถึงจะเป็นสินค้าที่เหมือนกันหมดอย่าง น้ำมัน น้ำตาล น้ำเปล่า รองเท้า แต่การตลาด จะทำให้แตกต่าง โดยส่วนผสมของการตลาดต่างๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง content น่าจะทำให้สินค้าเราแตกต่าง ถ้ามันโดนใจลูกค้า ลูกค้าก็จะเลือกเรา

นันยาง มีรองเท้า 2 ประเภท คือ รองเท้าแตะช้างดาว และ รองเท้าผ้าใบ(พื้นเขียว) เป็นตลาดหลัก อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มคิดว่าการทำสินค้า limited edition ก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการทำสื่อสารการตลาดเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจจะได้เงินกลับมา หากสินค้าสามารถทำยอดขายได้ เราไม่จำเป็นต้องใช้เงิน 20 ล้านบาท ในการลงโฆษณาทีวี 15 วินาที แต่เราทำ content ที่พยายามให้เกิด talk

ซึ่งจุดเริ่มต้นของ NanyangRED Limited Edition (2019) ที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว จากลักษณะแฟนบอลของทีมลิเวอร์พูลที่ชอบท้าทาย “ถ้าทีมได้แชมป์จะ…” นันยางจึงจับคาแรคเตอร์นั้นมา ประกาศว่า ถ้าทีมลิเวอร์พูลได้แชมป์ “เราจะทำรองเท้าสีแดง” ซึ่งได้มีการวางแผนทั้งในกรณีที่ชนะ และไม่ชนะ ทำให้เกิดเป็นกระแสพูดถึงในระดับหนึ่ง แต่ผลการแข่งขันรอบนั้น ไม่สามารถได้ชัยชนะมา แล้วมาคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนส์ลีก ทางฝั่งยุโรป ในภายหลัง ทางนันยางจึงตัดสินใจ ที่จะผลิตรองเท้าตามแผนเดิม เกิดเป็น content ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จากวันที่ประกาศท้า ประกาศผลิต และวันที่เปิดขาย ในเวลา 90 นาที มียอดขาย12,000 คู่ content นั้นยังต่อเนื่องจนถึงวันที่ ส่งสินค้าหลังจากนั้น 1เดือน ระยะเวลานั้นทั้งหมดนั้นต่อเนื่องมากว่า 4 เดือน

ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ การเข้าใจคาแรคเตอร์ของแบรนด์อย่างชัดเจน แล้วรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ก็สามารถทำให้เกิดการสร้างบทสนทนาในเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายนั้นสนใจ มาเป็นประเด็นในการพูดคุยกัน เกิดการดึงความสนใจให้มีส่วนร่วมกัน

ยอดขายที่ธุรกิจคาดหวัง เกิดขึ้นจากหลายส่วน คนซื้อโดยตรง การแนะนำให้ซื้อต่อ หรือการซื้อในภายหลัง นั่นคือ สิ่งที่ทำให้การตลาดมีสเน่ห์ เพราะขึ้นอยู่กับกลวิธีที่จะสร้างยอดขายจากส่วนที่แตกต่างกัน

กรณีของ NanyangRED อาจวิเคราะห์ได้ว่า ยอดขายไม่สำคัญ แต่การทำให้แบรนด์นันยางกลับมาเป็นที่รู้จัก และทำให้คนสนใจ จนทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อภายหลัง ซึ่งในความเป็นจริง ทางแบรนด์เองก็มองถึงกรณีการสื่อสารเพื่อให้เป็นที่รู้จัก เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากสินค้าหลัก ยังเป็นสินค้าชนิดเดิมๆอยู่ ดังนั้นเมื่อวันนึงที่ลูกค้าจะต้องเลือกซื้อรองเท้านักเรียน ก็อยากให้นึกถึงชื่อของนันยางเป็นอันดับแรก ในทางกลับกัน ภายในแบรนด์ก็เกิดการเรียนรู้ที่จะทำการตลาด และได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแบรนด์ เพื่อนำกลับมาวิเคราะห์และพัฒนาต่อไป

ถ้าการจะประสบความสำเร็จไม่ได้มีสูตรตายตัว แบรนด์เล็กๆ จะเริ่มต้นอย่างไร?

Content จะเป็นเรื่องปลายทางของกระบวนการทางการตลาด แต่เป็นสิ่งแรกๆที่คนสัมผัสทำให้คนคิดว่ามันสำคัญ แต่ถ้าเปรียบเป็นหัวหอม Content จะเป็นเปลือกนอกสุด ที่คนเห็นและจับต้องได้เร็ว แต่จริงๆแล้วแก่นข้างในที่สุดคือ การเข้าใจ Strategy หรือการเข้าใจว่าปัญหาของคุณคืออะไร วิธีแก้ปัญหาก็จะขึ้นอยู่กับบริบทของสถานการณ์นั้นๆ

ยกตัวอย่าง แม่ค้าผลไม้ การต้องขายฝรั่งหนึ่งลังให้หมด คำถามคือคุณจะขายใคร แล้วตอนนี้ยังขายไม่ได้เป็นเพราะอะไร

ถ้าที่ตลาดไม่มีคนขายฝรั่งเลย แล้วลูกค้าไม่รู้ว่าเราขายอะไร เราก็ต้องตะโกนบอก ว่าเรามีฝรั่งขายนะ เป็นต้น แต่ถ้าร้านข้างๆ ขายฝรั่งเหมือนกัน แปลว่าปัญหาของคุณเปลี่ยน แต่ทำยังไงที่เราจะขายฝรั่งได้โดยที่ร้านข้างๆก็ขายเหมือนเรา

ยกตัวอย่าง ผู้ชายจีบสาวจีบอย่างมีคู่แข่งกับไม่มีคู่แข่ง ก็คิดและใช้วิธีการต่างกัน

อย่าสนใจสูตรสำเร็จ แต่สนใจการเข้าใจปัญหา ปัญหาของคุณคืออะไร

สำหรับบางธุรกิจต้องมีทั้งการขายและสร้างแบรนด์ในระยะยาว แต่ถ้าคุณเป็นร้านค้าเล็กๆ ที่ไม่ต้องสนใจการสร้างแบรนด์ เน้นการขาย ก็จะคิดอีกแบบหนึ่ง
คุณควรจะรู้ 2 อย่าง ให้ถ่องแท้ คือ
รู้ตัวเอง คุณเป็นใคร ทำอะไร ขายอะไร สินค้าของคุณดี หรือด้อยอย่างไร ที่มากกว่านั้น ต้องรู้ว่าธุรกิจมีความสามารถในการผลิต เพื่อขายได้เท่าไหร่ในหนึ่งวัน เพื่อจะวางแผนการขายที่ดีได้
รู้ลูกค้า ของธุรกิจคุณ เป็นใคร อายุเท่าไหร่ ลักษณะท่าทางเป็นอย่างไร และมีกี่คน

คุณจักรพล เผยว่า ส่วนตัวให้ความสำคัญกับเรื่องจำนวน capacity ของแบรนด์ จำนวนลูกค้าของเรา สินค้าของเราตอบโจทย์เหล่านี้ได้หรือไม่ ส่วนเรื่องตลาด หรือคู่แข่ง อาจจะเป็นอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะไม่ต้องเอาชนะคู่แข่งก็ได้ win-win ก็ได้ ถ้า demand มากกว่า supply แล้วเป็นสินค้าที่เหมือนกัน

คุณณัฐพัชญ์ เสริม เรื่องการรู้ตัวเองให้ถ่องแท้ รู้จักลูกค้า รู้มั้ยว่าลูกค้าเลือกเราเพราะอะไร เพราะจะทำให้คุณนำเสนอสินค้าและคุยกับลูกค้าได้ดี
ชวนคิดว่า จำเป็นมั้ยที่เซลล์ขายรถ ต้องพูดรายละเอียดทุกอย่างในแคตตาล็อค คำตอบคือ ไม่จำเป็น
เซลล์จะดูว่า ลูกค้าเป็นใคร ถามเรื่องอะไรเป็นพิเศษ เซลล์ที่เก่งจะไม่รีบพูด แต่จะพยายามเข้าใจก่อน ว่าลูกค้าต้องการอะไร มีปัญหาอะไร เพื่อจะนำเสนอได้ถูก ว่าเป็นรถรุ่นไหน และนำเสนอฟังก์ชั่นไหนของรถ ในทางกลับกันเซลล์ที่ไม่เก่งจะท่องเป็นสคริปต์

กลับมาถามทุกวันนี้เจ้าของธุรกิจทำ Content แบบไหน? ทำ Content แบบที่จะพยายามเข้าใจลูกค้า หรือทำ Content ในสิ่งที่คุณอยากพูด

คุณว่าธุรกิจมีปัญหาข้อไหนระหว่าง เรื่องที่กำลังจะพูด กับ วิธีการเล่าเรื่อง?
90% คิดว่าตัวเองมีปัญหาวิธีการเล่า คิดว่าตัวเองมีทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ไปฝากความหวังไว้กับเปลือกนอกของหัวหอม ที่เรียกว่า Content ซึ่ง Content มีประสิทธิภาพสำคัญ แต่มันจะทำงานได้ดีเมื่อคุณเข้าใจเรื่องอื่นของธุรกิจด้วย ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สินค้า หรือ บริการ ของคุณต้องดีด้วย

หัวใจของการตลาดอยู่ที่ลูกค้าของเรา  รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ใส่ใจของเราลงไปในใจของลูกค้า การขายของโดยพูดถึงแต่สิ่งที่เราอยากพูด มันไม่เคยทำให้เราขายของได้ แต่เราต้องพูด ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจะรู้ หรือไปแก้ปัญหาให้กับลูกค้า

เปลี่ยนจากพูดเรื่อง Content มาเป็น เรื่องผู้ชายจีบผู้หญิงกัน
คุณเคยเจอผู้ชายที่พูดแต่เรื่องของตัวเองบ้างหรือไม่ ถ้าผู้ชายคือแบรนด์ ผู้หญิงคือลูกค้า ถ้าคุณพูดแต่เรื่องตัวเอง โดยไม่ได้สนใจลูกค้า คุณคิดว่าลูกค้าจะอยากคุยกับเรามั้ย

หลักการเดียว คือ คุณเข้าใจลูกค้าดีหรือเปล่า ถ้าคุณเข้าใจลูกค้าดี คุณก็รู้เองว่าต้องพูดอะไร ถ้าคุณใส่ใจความรู้สึกของคนที่คุณกำลังคุยด้วย คุณจะรู้เองว่าจุดไหนที่คุณจะต้องพอแล้ว จุดไหนที่คุณจะต้องเสริม แต่สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือ เมื่อเจ้าของธุรกิจอยากได้ bottom line หรือยอดขาย แล้วรีบปิดการขาย ในมุมมองของลูกค้าที่เจอเซลล์ที่พยายามจะให้เราซื้อให้ได้ ก็จะรู้สึกไม่ดี เว้นแต่จะเป็นลูกค้าที่ต้องการสินค้านั้นมากๆ ก็จะคุยกันได้เร็ว

แม่ค้าขายฝรั่ง ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าคนไม่ซื้อฝรั่งเพราะอะไร ร้านข้างๆขายถูกกว่า หรือ คนแถวนี้ไม่กินฝรั่ง แล้วเราจะทำอย่างไร เปลี่ยนไปขายอย่างอื่น หรือ สร้างความอยากให้ลูกค้าอยากกินฝรั่งมากขึ้น

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นหลุมพลางของคนทำสินค้า ที่มักคิดว่า คนน่าจะซื้อ เพราะว่าเราชอบ มองตัวเองแทนลูกค้า และมักขายในมุมมองว่าสินค้าเราดี ซึ่งต่อให้สินค้าเราดีที่สุด แต่ขายไม่ถูกกลุ่มลูกค้า ก็อาจจะขายไม่ได้เลย

การสื่อสารที่มักจะสมบูรณ์ เกิดขึ้นจากการคุยกับคนที่ใช่ คุยด้วยสื่อที่ใช่ และคุยด้วยเรื่องที่ใช่

การรู้จักลูกค้า ลูกค้าของเราก็มีหลากหลาย ปัจจัย 3 ข้อนี้ จะหมุนไป ไม่รู้จบ

กลับไปที่ตัวอย่างคนกินฝรั่ง ก็มีคนหลายกลุ่ม คนที่กินทุกวัน คนที่กินนานๆครั้ง คนที่กินต่อเมื่อมีคนซื้อไปฝาก เมื่อถามว่าสินค้านี้จะขายใคร ถ้าบอกว่าขายคนรักสุขภาพ ต่อให้คุณถามคนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ว่ารักสุขภาพไหม เขาก็จะตอบว่ารัก การรักสุขภาพก็มีหลายแบบ คนที่ซื้อของคุณได้ กับคนที่น่าจะไปขายเค้า เป็นคนละคนกัน

คุณจักรพล พูดถึงนันยางว่า จะกำหนดคาแรคเตอร์ เพื่อที่จะทำ content หรือสื่อสารออกไป ให้เป็นเหมือน คนคนหนึ่ง ที่เป็น “เด็กชาย อายุ 16 ปี เรียน สายศิลป์ เกรดเฉลี่ยประมาณ 2.80 นั่งหลังห้อง อาจารย์ไม่ชอบ แต่เพื่อนๆชอบ” การสื่อสารของนันยาง ก็จะออกไปในลักษณะของเด็กคนนี้ ทำให้มีความต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเปลี่ยนคนทำ content ไปกี่คนก็ตาม

ในส่วนของลูกค้านันยาง นันยางสร้างลักษณะของกลุ่มพูดคุยที่สามารถมาแลกเปลี่ยนความเห็นได้ สุดท้าย เกิดการ co-creation ในการทำสินค้าร่วมกับสินค้าอื่น เป็น official ก็เกิดเป็น content ได้อีกแบบหนึ่ง ล่าสุด ช้างดาวทำรองเท้าแตะ รุ่นพิเศษ สีชมพูขาว, เหลืองแดง จากการมีคอมมูนิตี้ของจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ที่เป็นการ co-creation ระหว่างรองเท้ากับสีที่ associate ได้กับมหาวิทยาลัย

เพราะฉะนั้น Content ที่นันยางทำหลักๆ แบ่งเป็น 3C Charactor, Community, Co-Creation
Co-creation บางส่วนกับลูกค้า ก็เปิดประเด็นให้ลูกค้าช่วยคิดกันตรงๆ

ถ้าแบรนด์คุณมีคาแรคเตอร์ที่ชัด > เข้าถึงได้ > เกิดเป็นคอมมูนิตี้ > เกิดการร่วมมือกัน

พูดถึง Dynamic content ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นโอกาส ที่ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อเพียงสื่อเดียว สื่อสารกับทุกๆคนเหมือนกัน

Dynamic content ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจอยากจะทำ คือ การคุยกับลูกค้า 1-1 เหมือนเพื่อน ไม่มีสคริปต์ แต่สมัยก่อนการบริหารจัดการเรื่องนี้ทำได้ยาก และสื่อกลางไม่อำนวย แต่ปัจจุบันเครื่องมือดิจิตอลช่วยให้หลายๆอย่างง่ายขึ้น นักการตลาดที่เห็นโอกาส ก็ทำให้สามารถขยายประสิทธิภาพ ให้เกิดความไดนามิกได้มากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่าบริบทได้ดีขึ้น คือ เราสามารถคุยกับคนได้หลากหลายมากขึ้น สามารถคุยกับหลายคนโดยไม่ต้องพร้อมกันก็ได้ และ ไม่จำเป็นต้องคุยกับทุกคนด้วยข้อความหรือสื่อ ที่เหมือนๆกัน เมื่อศักยภาพในการทำ content เพิ่มขึ้นจึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า dynamic

ธุรกิจไม่จำเป็นต้องทำ Dynamic content ก็ได้ แต่ถ้าทำ ก็จะเป็นปัจจัยหนุน ให้มีโอกาสที่จะสื่อสารได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น เราจะรู้ว่าวิดีโอบน facebook คือ วิดีโอที่ถูกเล่นโดยการปิดเสียง เพราะฉะนั้นวิดีโอที่ใช้บน facebook ควรจะเป็นวิดีโอที่แม้จะไม่มีเสียงก็ดูรู้เรื่อง มันจะทำให้สามารถเพิ่มโอกาสในการดู Content ได้ดีขึ้น แต่วิดีโอลักษณะนี้จะดูน่าเบื่อเมื่ออยู่บน Youtube ในทางกลับกันวิดีโอบน Youtube ควรจะเป็นประสบการณ์เต็มรูปแบบ นั่นทำให้เราเข้าใจว่าบริบทการทำ Content และการสื่อสารบน Facebook Youtube Instagram โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา ไม่ควรจะเหมือนกัน หากต้องการทำให้เหมือนกันก็ทำได้ แต่อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ หรือเสียโอกาสบางอย่างไป ซึ่งถ้าธุรกิจมีศักยภาพที่จะทำ ก็ควรจะทำให้แตกต่าง เพราะย่อมดีกว่า แต่อย่างลืมว่าการทำแบบนั้นมีต้นทุน คุ้มค่าหรือไม่ หากคุณมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่ไม่เพียงพอต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การทำ dynamic content นั้นก็ไม่คุ้มค่า ต้องหาจุดที่สมดุล

ถือเป็นความท้าทายที่จะหาจุดสมดุลที่ทำให้เรา dynamic และ dynamic ขนาดไหน ซึ่งก็ไม่มีตัวเลขที่ถูกต้อง เนื่องจากต้นทุนที่แตกต่างกันในธุรกิจ ความคาดหวัง และกลุ่มเป้าหมายของแต่ละธุรกิจก็ไม่เท่ากัน แต่หลักการ คือ ธรรมชาติมนุษย์มักจะชอบอะไรที่ถูกปรับแต่งมาให้เหมาะกับเราที่สุด

ถ้าเราไม่ได้ทำการปรับแต่งอะไรก็ได้ แต่จะเหมาะกับลูกค้าบางคน และเหมาะกับตลาดบางตลาด
เช่น ทิชชู่ ที่ขายหน้าห้องน้ำ ไม่ต้อง dynamic แต่ถ้าจะขายใน 7-11 ก็ควรจะต้อง dynamic
การตลาดเป็นปัญหาซับซ้อน ไม่สามารถถามแล้วมีคำตอบที่ตายตัวได้

สำหรับเนื้อหา Content Marketing ในวันนี้ ถ้าสรุปให้เข้าใจง่าย คือ การสื่อสาร แก้ปัญหาแบรนด์ และแก้ปัญหาลูกค้า ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่สามารถทำได้โดยเริ่มจาก

  1. ย้อนมองตัวเรา สินค้าของเรา ปัญหาขอเราคืออะไร และเรามีวัตถุประสงค์ทางการตลาดคืออะไรบ้าง
  2. ลูกค้าของเรา คิดเปรียบเทียบกับ การจีบคนซักคนพูดแต่เรื่องตัเองก็ไม่เวิค สนใจว่าเค้าต้องการอะไรเสนอสิ่งนั้น
  3. รูปแบบการสื่อสาร ไม่ตายตัว ลูกค้าอยู่ที่ไหน ลูกค้าต้องการอะไร จะ dynamic แค่ไหน วิเคราะห์สถานการณ์ ทำการบ้านก่อนที่จะทำการสื่อสารออกมา

ท่านสามารถเข้าไปรับชม ย้อนหลังได้ที่ Facebook fanpage : MAT Society
และขอฝากให้ทุกท่านติดตามรับชมสด ทุกวันอังคาร เวลา 2 ทุ่มตรง

 


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ขอเชิญร่วมรับฟัง, พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในงานสัมมนาออนไลน์ EdTeX WEBINAR#1

2.5k
SHARE

เมื่อแนวทางการเรียนการสอนกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป…!

การเรียนการสอนของไทยในปัจจุบันจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับโลกอนาคตที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา กอปรกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งการใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอนมากขึ้น ไม่เพียงแต่ใช้เพื่อการบรรยายเท่านั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังช่วยในเรื่องการประมวลผล การออกแบบข้อสอบ การใช้สถิติเพื่อประเมินคุณภาพการเรียนการสอน การติดตามการส่งงาน และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อช่วยสร้างแนวคิด การเรียนการสอน และสร้างแรงบัลดาลใจให้แก่ผู้เรียนและผู้สอน

EdTeX WEBINAR#1 กับวิทยากรพิเศษ
คุณไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จำกัด
ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มองโลกการศึกษาเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

ที่จะมาแชร์เรื่องราว, ประสบการณ์และแรงบันดาลใจในด้านการศึกษา ในหัวข้อ
> ความแตกต่างทางการศึกษา
> Time for Education Start-up
> ฝันที่เปลี่ยนไปของเด็กและวัยรุ่นยุคใหม่นี้ และการเรียนเพื่อเป็น “ครู

 

พบกันวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 – 15.00 น.
สามารถรับฟังและพูดคุยพร้อมกันได้ที่  Facebook Fanpage : EDTEXEXPO
หรือ https://www.facebook.com/edtexexpo/

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Thailand E-commerce Landscape รวมธุรกิจในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย อัปเดตล่าสุดปี 2020

26
SHARE

เพราะการดำรงชีวิตจับจ่ายใช้สอยในปัจจุบันทำได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ผู้บริโภคสนใจสิ่งไหนก็สามารถเข้าอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูล พร้อมเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ตกลงสั่งซื้อและรับของได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงอย่างง่ายดาย ทั้งหมดนี้ทำให้คุณสามารถช้อปปิ้งได้โดยที่ไม่ต้องออกเดินทางไปยังหน้าร้าน

มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2020

จากความสะดวกสบายในการช้อปปิ้งออนไลน์ และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 (COVID-19)ในประเทศไทย เป็นแรงผลักให้ผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจกลุ่มอีคอมเมิร์ซมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี คาดการณ์มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2020 อาจมีมูลค่าสูงถึง 220,000 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 35% จากปีก่อนหน้าเลยทีเดียว

ผู้เล่นหน้าเก่าและหน้าใหม่ยังคงร้อนแรงในสมรภูมิ E-commerce

จากการแข่งขันทางธุรกิจกลุ่มอีคอมเมิร์ซที่มากขึ้นทุกปี วันนี้ไพรซ์ซ่าได้รวบรวมผู้เล่นหน้าเก่า และผู้เล่นหน้าใหม่ในแวดวงธุรกิจนี้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจภาพ Thailand E-commerce Landscape ปี 2020 กันก่อน

Thailand E-commerce Landscape สามารถแบ่งผู้เล่นทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1. เครื่องมือการทำการตลาด (Marketing Tools)
กว่าที่แบรนด์จะเป็นที่รู้จักและประสบการณ์ความสำเร็จนั้น ไม่ได้ใช้เวลาเพียงแค่วันสองวัน
ก็สามารถโด่งดังเป็นพลุแตกได้ แต่แบรนด์ต้องมีการวางแผนการตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณา การคิดรายการส่งเสริมการขาย การบริหารจัดการดูแลฐานลูกค้าที่ดี วางแผนช่องทางในการโปรโมท หรือจะเป็นประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือการทำการตลาดต่างๆ จึงสำคัญกับแบรนด์ผู้ผลิตเป็นอย่างมาก

2. อีคอมเมิร์ซ (E-commerce Channel)
เมื่อแบรนด์ผู้ผลิตได้มีการเลือกใช้เครื่องมือในการทำ Marketing เรียบร้อยแล้ว ก็มาในส่วนของช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้เลย

เรียกได้ว่า ช่องทาง E-commerce เป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้ผลิตต่างๆควรที่จะเข้ามาแข่งขันในช่องทางนี้ได้แล้ว เนื่องจากว่าปัจจุบันเทคโนโลยี และความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตทำให้ไม่มีช่องวางระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้ออีกต่อไป การจับจ่ายใช้สอยสามารถทำได้ง่ายๆที่บ้าน ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที

ทำให้การขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแบรนด์ผู้ผลิตสามารถขายผ่าน 3 ช่องทางได้แก่

  • E-marketplace การนำสินค้าไปขายบนเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ ที่รวมร้านค้าหลายแห่งไว้ในที่เดียว ซึ่งเราสามารถไปเปิดร้านในนั้นได้ เช่น Lazada Shopee เป็นต้น
  • Social Commerce การขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, หรือ Line@ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน Social Media หลายตัวได้เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับการขายสินค้า ทำให้ง่ายต่อการวางขายมากขึ้น
  • E-tailer/Brand.com คือการทำร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง ไม่ต้องผ่าน Marketplace คนกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการถูกหักค่าคอมมิชชั่นเมื่อเราขายได้ ซึ่งสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เองผ่าน Webstore Platform ต่างๆ เช่น Tarad, LnwShop หรือเปิดร้านค้าออนไลน์เอง ทำเว็บเอง ขายเอง เช่น Powerbuy.com และ Beauticool.com เป็นต้น

3. ระบบการชำระเงิน (Payment)
แน่นอนว่าเมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตมากขึ้นในทุกๆปี สิ่งหนึ่งที่จะต้องเติบโตควบคู่กันไปนั่นก็คือ ระบบการชำระเงิน เมื่อเทคโนโลยีมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยเริ่มก้าวเข้าสู้สังคมยุคไร้เงินสด (cashless society) เห็นได้จากผู้คนเริ่มใช้เงินสดในชีวิตประจำวันน้อยลง และหันมาใช้บริการระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แทน ไม่ว่าจะเป็น การชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า การชำระบิลค่าบริการต่างๆ ทำให้การแข่งขันของระบบการชำระเงินมีความดุเดือดมากยิ่งขึ้นทั้งจากผู้เล่นธนาคารและกลุ่มบริษัทเอกชน

4. ระบบขนส่ง (Logistic)
จากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัลและการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่สอดคล้องกัน ส่งผลให้ตลาดบริษัทขนส่งในไทยมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

จากการวิเคราะห์ของ SCB: Economic Intelligence Center โดยการคำนวณจากบริษัทขนส่งพัสดุในไทยรายใหญ่ประมาณ 22 ราย ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา 2017-2019 พบว่ามูลค่าตลาดของบริษัทขนส่งในไทยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 40 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเลยทีเดียว เป็นผลให้การแข่งขันของธุรกิจบริษัทขนส่งมีความดุเดือด รุนแรงมากขึ้นทุกปี เห็นได้จากการกดราคาค่าบริการ เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการต่างๆหันมาใช้บริการขนส่งของตน ซึ่งระบบขนส่งก็ยังแบ่งออกยิบย่อยได้อีกเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ประกอบการและผู้บริโภค

สามารถอ่าน Thailand E-commerce Landscape รวมธุรกิจในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย อัปเดตล่าสุดปี 2020 ฉบับเต็มได้ ที่นี่!


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT Vaccine For Business EP.2

82
SHARE

สร้างประสบการณ์หน้าร้าน อย่างไรให้ปัง!

ในยุคนี้ เป็นยุคที่นักการตลาดแทบจะไม่ได้แยกออกจากผู้ประกอบการแล้ว เพราะออนไลน์สร้างโอกาส ให้คนทุกคนสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ แล้วผู้ประกอบการทุกคนที่จะขายของได้ ต้องมีหัวใจการตลาด ซึ่งการที่สมาคมการตลาดเริ่มต้นจัดทำ live จากแนวคิดว่าอยากจะช่วยเหลือผู้ประกอบการในยุคโควิด เพราะว่าหลายๆคนอาจจะมีสินค้าที่ขายของอยู่แล้ว หรือบางคนอาจจะทำงานประจำแต่สถานการณ์นี้ต้องหยุดงานไปรายรับไม่มี ซึ่งทางเลืกที่หลายๆคนทำก็คือเริ่มขายของ เราก็เลยชวนผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์การขายของออนไลน์มาสอนว่าต้องทำยังไง และเอาสูตรสำเร็จจากประสบการณ์ของทุกท่านมารวมกัน

จากตอนที่แล้ว ในเรื่องของการเปิดร้านออนไลน์ การสร้าง branding สินค้าที่ไม่ต่างทำอย่างไรให้ต่าง วันนี้มาคุยกันต่อ หากว่าเราหลังจากEP.1 ได้เริ่มเปิดร้าน มีชื่อร้าน มีสินค้าเตรียมพร้อมขาย ในสินค้าที่มีมากมาย ทำยังไงให้คนมาซื้อกับเรา เราจะสร้างประสบการณ์อย่างไร? ซึ่งยังอยู่กับทั้ง 3 ท่าน
จากตอนที่แล้ว
คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาด และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด
คุณธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและวางแผนกลยุทธ์การตลาด บริษัท สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 10 คนไทยที่ได้รับการคัดเลือกจาเฟซบุ๊กให้เป็น Alpha Tester หรือทดลองเครื่องมือการตลาดใหม่ๆบนเฟซบุ๊กรายแรก
คุณยุทธนา เทียนธรรมชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเดย์ เฟรช จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลไม้ออนไลน์คนแรกของประเทศไทย

จริงๆแล้วการสร้างความประทับใจสำหรับการมีหน้าร้านก็ง่าย เพราะการบริการที่ดี พนักงานที่ยิ้มแย้ม ต้อนรับและตอบคำถาม ก็สามารถสร้างประสบการณ์ และความประทับใจได้ แล้วถ้าเป็นหน้าร้านออนไลน์ เราจะทำยังไงให้คนเลือกเรา? และสร้างประสบการณ์ที่เรียกว่า Seamless Experience

เราต้องมี Seamless Experience อธิบายคำนี้ง่ายๆ คืออะไร?

ในภาพการขายออนไลน์สามารถคิดให้เกิด Seamless Experience ได้โดย

การเริ่มคิดตั้งแต่ลูกค้าที่ยังไม่เคยคิดอยากได้สินค้าเราเลย > จนเริ่มสนใจ แล้วรู้จักเราหรือยัง พอรู้จักเราแล้ว > เลือกซื้อเรารึเปล่า หากเทียบกับคู่แข่ง จนกระทั่งติดต่อมา > แล้วจ่ายเงินหรือยัง หรือจะซื้อเพิ่มมั้ย จะส่งของอย่างไร เป็นต้น

คำถามเหล่านี้ คือคำถามที่ทุกธุรกิจ ต้องมีคำตอบ เพื่อจะหาให้ได้ว่า ขั้นตอนต่างๆที่ลูกค้าจะมามีประสบการณ์กับร้านของเรา เราจะคุยกับ หรือทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกราบรื่น และประทับใจที่สุดในทุกๆขั้น

ถ้าเราเริ่มแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่ม ก็จะเริ่มมีคำตอบมากขึ้น ว่าเราจะสร้าง Seamless Experience ได้อย่างไร (ศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวข้องก็จะมีคำว่า Consumer Journey, Funnel Marketing ซึ่งท่านที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อได้)

อยากได้ > รู้จัก > เลือก ให้แต่ละขั้นตอนต่อเนื่อง โดยไม่หลุดหายไป

เพราะหลายครั้งที่ลูกค้าคุยกับเราแล้ว แต่ก็ไปเลือกซื้อกับร้านอื่น ขอยกตัวอย่างวิธีที่จะดึงให้ลูกค้าอยู่กับเราตั้งแต่ต้นจนจบ จากการกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้าชิ้นนี้คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่ไม่เคยรู้ตัว พอเกิดความอยากได้แล้วมาเลือกเรา จนซื้อของเรา

ถ้าการที่ลูกค้าจะเลือกพิมพ์เพื่อค้นหาร้านเรา แปลว่าเราต้องสร้างแบรนด์เป็นที่รู้จักในระดับนึง ถ้าเราเป็นร้านใหม่ วิธีที่จะทำให้ลูกค้ามาเจอเราได้ คือการตั้งชื่อเพจ ยึดจากคีย์เวิร์ดบางคำ บรรจุภัณฑ์ราคาถูก ขายส่ง จากโรงงาน

กลุ่มลูกค้ามักจะเห็นเราจากหน้าฟีด วิธีที่ง่ายที่สุด คือการใช้เครื่องมือโฆษณาของ Facebook เราจะพูดถึงเครื่องมือโฆษณาในตอนท้าย แต่สิ่งที่ลูกค้าเห็นจริงๆ คือ Content ของรูปภาพ หรือวิดีโอที่เราใช้สื่อ

“การที่เราจะสื่อสารกับลูกค้า เราควรรู้ว่า เรื่องราวที่จะเล่าให้คนเห็นผ่านฟีด กลุ่มที่เราจะเล่า เป็นกลุ่มที่รู้จักเราหรือยัง?”

ในกรณีของ สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ ขายยางกัดของเด็ก รูปผลไม้ / ยีราฟ ในช่วงปี 2012 คนไทยยังไม่รู้จักยางกัด รู้จักเพียงจุกนมหลอก (pacifier) ฉะนั้นเข้าใจว่าลูกค้าจะไม่มีความต้องการ คือ คนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องการ หรือต้องใช้มัน

จึงนำไปสู่ Content ให้ความรู้ว่า “ลูกของคุณกำลังเอามือเข้าปากบ่อยๆ น้ำลายไหลเยอะ หงุดหงิด รอ้งไห้ โดยไม่มีสาเหตุใช่มั้ย?” “อาการเหล่านั้นเป็นเพราะว่าเด็กๆเริ่มคันเหงือกแล้ว เค้าก็เลยต้องเอานิ้วไปกดเหงือกให้นิ่มลงเพื่อที่ฟันจะโผล่ขึ้นมาง่ายขึ้นนั่นเอง”เมื่อเลือกยิงโฆษณาไปที่กลุ่มคุณแม่ เค้าก็จะรู้แล้วว่าอาการที่ลูกเค้าเป็น สาเหตุมาจากการคันเหงือกนั่นเอง หลังจากนั้น ก็คัดกลุ่มคนที่เคยดูวิดีโอ หรือเคยเห็นโฆษณานี้แล้ว ยิงโฆษณากลับไปต่อว่า “ตัวสินค้าของเรามีหลากหลายและมี มอก. จับถนัด กัดสนุก”

“การทำ Content สวยงามก็สำคัญ แต่การเลือกเรื่องราวที่จะเล่าให้ลูกค้าที่ถูกกลุ่ม สำคัญกว่า การลงทุนทำโฆษณาแต่เล่าให้คนฟังผิดกลุ่มย่อมไม่เกิดประโยชน์อยู่แล้ว”

เมื่อสื่อสารถูกคน ลูกค้าติดต่อมาหาเราแล้ว Seamless Experience ในฝั่งของสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ มองว่าเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่ลูกค้าทักเข้ามา โดยปกติ มีแอดมิน 2 คน จะมีการแบ่งช่วงเวลาทำการ ( 05.00 – 00.00 น.) ซึ่ง KPI การตอบข้อความลูกค้าของ สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ คือ ต้องไม่เกิน 5 นาที (มาตรฐานของ Facebook คือ 15 นาที คุณจะได้สัญลักษณ์ตอบเร็ว) เพราะว่าการตอบเร็ว จะได้เปรียบในยกแรก เพราะถ้าคุณมีปฏิสัมพันธ์อย่างรวดเร็วก็จะลดโอกาสที่ลูกค้าจะไปเลือกร้านอื่นได้มากขึ้น

เรื่องที่ร้านค้ามักลืมไปคือ ฟังก์ชั่นข้อความตอบกลับอัตโนมัติ ที่ Facebook ในเวลาที่คุณไม่สะดวกตอบคำถาม แต่ลูกค้ามักคาดหวังให้เราตอบในทันที ดังนั้น เราควรตั้งข้อความตอบกลับไว้ เช่น ขอบคุณลูกค้าที่ให้ความสนใจสินค้าและบริการของเรา ร้านของเราเปิดเวลา xx.xx -xx.xx น. ถ้าลูกค้ามีธุระด่วน สามารถ add line หรือโทรมาได้ที่ xx xxx xxxx เป็นต้น จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกเข้าใจได้มากขึ้น

สำหรับสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ แอดมินจะเรียกแทนตัวเองด้วยชื่อเล่น และเรียกว่าคุณแม่ ซึ่งก็มีเรื่องที่ลูกค้าเป็นคุณน้ามาเลือกซื้อสินค้าให้หลาน ก็ค่อยปรับการคุยไปตามเหมาะสม แต่การเรียกแบบเจาะจงจะสร้างความรู้สึกดีให้กับลูกค้า และในกรณีลูกค้าเก่า เทคนิคที่ช่วยได้คือป้ายกำกับ ซึ่งเป็นอีกฟังก์ชั่นที่มีใน Facebook Inbox ให้คุณระบุได้เลย ซึ่งเมื่อลูกค้าทักเข้ามา แอดมินสามารถดูได้เลยว่าเป็นลูกค้าเก่าหรือไม่ หรือที่ง่ายกว่านั้นคือการเลื่อนขึ้นไปดูแชทด้านบน ซึ่งกรณีลูกค้าเก่า แอดมินของสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์จะตามขึ้นไปดูด้วยว่า ลูกค้าเลยส่งรีวิวลูกเค้ากลับมาหรือไม่ ถ้าเคย หรือมีการถามชื่อลูกเค้าแล้ว การทักทายจะเปลี่ยนเป็น สวัสดีค่ะ คุณแม่น้องxx วันนี้รับอะไรดีคะ ซึ่งทำให้ได้ผลตอบรับที่ดี การคุยเป็นกันเองมากขึ้น การใช้สติ๊กเกอร์ช่วย การทักทาย การจำชื่อลูกค้าได้ จะช่วยให้ร้านของเราดูโดดเด่น น่ารัก น่าสนใจกว่าร้านอื่นๆ เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญ

และสุดท้าย การปิดการขาย สิ่งที่ทำให้ลูกค้าหลุดมือไป คือ การเพิ่มช่องทางการซื้อของ เช่น ไม่รับบัตรเครดิต ไม่รับการชำระเงินปลายทาง เป็นจุดที่ทำให้ร้านค้าพลาดโอกาสไปโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้น Seamless Experience การซื้อ ก็ต้องง่ายด้วย Facebook เองก็มี ช่องทางการชำระเงิน ในส่วนการจัดการร้านค้า สมัครได้ง่ายบุคคลธรรมดาก็สมัครได้ ต้องเปิดใจลองสิ่งใหม่ เพื่อจะให้ลูกค้ารู้สึกกับเราว่าการซื้อของเป็นเรื่องง่าย

“ถ้าเราแก้ตามปมเหล่านี้ ร้านของคุณก็จะขายได้ง่ายขึ้น”

ปัญหาที่มักพบ ณ ช่วงเวลาปิดการขายทางออนไลน์ คือการถามข้อมูลลูกค้าเก่า “ซ้ำ”

ทำให้เกิดความไม่ประทับใจ สาเหตุ เกิดจากการที่แอดมินตอบข้อความตามแพทเทิร์นทุกครั้ง
ถ้าพบว่ามีการทักทายจากลูกค้าเก่า ให้ย้อนดูข้อคววาม แล้วเรียกพูดคุยด้วยชื่อของลูกค้า ห้ามถามที่อยู่ซ้ำ และเทคนิคสำคัญ คือ การสรุปรายการซื้อและแจ้งยอดชำระเงินให้ลูกค้า ก่อนถามที่อยู่จัดส่ง การปล่อยให้ลูกค้ามีช่วงเวลาสลับไปทำอย่างอื่น หรือออกจากการคุยไปหาที่อยู่จัดส่งมาแจ้ง อาจทำให้ลืมเราไป หากลูกค้าทราบยอด และทำการชำระเงินแล้ว อย่างไรก็ต้องส่งที่อยู่จัดส่งมาให้อย่างแน่นอน

ต่อเนื่องมาถึงการวางระบบทำงานหลังบ้าน ที่มีการตกลงกับคู่ค้าที่ฝากขายสินค้า ตัวอย่างจากร้านของคุณแอม ยุทธนา ที่ร้านจะรับผิดชอบ เคลมสินค้าของแบรนด์คู่ค้าที่นำสินค้ามาฝากขาย เพื่อดูแล และอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่เลือกซื้อผ่านทางร้านของคุณแอม

กรณีเครื่องปั่นอาหารเด็กเสีย ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาดำเนินการรวมการจัดส่งสินค้า ประมาณ 1 สัปดาห์ แต่สิ่งที่คุณแอมเล็งเห็นคือ ด้วยระยะเวลานั้น คืนนี้คุณแม่ (ลูกค้า) จะทำอาหารให้ลูกกินอย่างไร จากกรณีดังกล่าว ทางร้านจะส่งสินค้าตัวใหม่ให้ลูกค้าก่อน แล้วจึงเป็นส่วนของร้านกับแบรนด์คู่ค้าในการแลกสินค้าเคลมกันในลำดับถัดไป

เมื่อหมดช่วงเฝ้าระวังแล้ว ทำยังไงถึงจะเชื่อมต่อประสบการณ์ Offine กับ Online?

ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ว่าจะติดต่อมาทางช่องทางไหนก็คือ ร้านเดียวกัน ประสานให้พนักงานทุกคนทำงานและทราบข้อมูลกันได้อย่างราบรื่น คือ ระบบ โปรแกรม Excel ก็ถือเป็นระบบอย่างนึง ซึ่งช่วยในการเก็บข้อมูล ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และหมายเหตุ
ถ้าหากวางแผนการใช้ฐานข้อมูลร่วมกันในทุกช่องทางของร้าน เหมือนเป็นการได้คุยกับพนักงานคนเดียวกันกับที่ลูกค้าได้เจอที่หน้าร้าน

การทำ crisis management หรือ การเชื่อมต่อประสบการณ์ที่ดี ระบบ จะเป็นตัวช่วย เมื่อคุณมีพนักงานมากกว่าหนึ่งคน มีร้านมากกว่าหนึ่งสาขา จะต้องมีตัวเชื่อม ที่คุณจะสามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ กำหนดข้อมูลที่ใช้เป็นตัวกลางในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ใช้เบอร์โทรศัพท์ ในการค้นหาและระบุ ประวัติการซื้อ ความชอบของลูกค้า หรือมีข้อร้องเรียนเรื่องอะไร เท่านี้พนัดงานก็สามารถเห็นในสิ่งเดียวกัน และร้านก็จะมีข้อมูลที่มีค่ากับการขายของเรา

คาถาขายดี 3 คำ “ตอบไว ใส่ใจ ส่งเร็ว” – คุณหนึ่ง ธัญญ์นิธิ

การตอบไว สำคัญมากในยุคออนไลน์ ตามที่ได้มีการพูดถึงไปแล้ว
ใส่ใจ คือ การที่เรารับผิดชอบลูกค้า รวมถึงการให้ความช่วยเหลือที่นอกเหนือจากสินค้าและบริการของร้าน
ส่งเร็ว การเตรียมตัว สอบถามข้อมูลกับทางหน่วยงานขนส่ง เพื่อให้ส่งสินค้าก่อนการตัดรอบสุดท้ายในแต่ละวัน ในกรณีของไปรษณีย์ไทย EMS ลูกค้ากรุงเทพฯ และปริมณฑล จะได้สินค้าในวันรุ่งขึ้น

จากประสบการณ์ ของคุณหนึ่ง ธัญญ์นิธิ การทดลองใช้บริการขนส่งอื่น ในช่วงเวลาที่มีโปรโมชั่น เพื่อลดต้นทุน แต่ใช้เวลาจัดส่งนานถึง 4 วัน ทางร้านจึงยอมที่จะจ่ายในราคาปกติ เพื่อที่จะรักษาเวลา ให้ลูกค้าได้ของที่รวดเร็วดีกว่า อีกทั้งยังสร้างความสบายใจให้กับลูกค้าที่ต้องรอหลังการชำระเงินให้กับทางร้านมาก่อนด้วย จึงเป็นที่มาของคาถา 3 คำ

ทั้งหมดนี้ คือการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ผ่านการสร้างคุณค่า 2 อย่าง

  1. การสร้างคุณค่าในเรื่องราว / คอนเทนต์ ที่นำไปสู่ การมองเห็น การซื้อโฆษณา และอื่นๆ คอนเทนต์ยิ่งมีความหมายกับลูกค้า ยิ่งช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น
  2. การสร้างคุณค่าในความสัมพันธ์ สร้างพื้นที่ของเราในใจของลูกค้าให้ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะให้ลูกค้าอยู่กับเราไปอีกนานๆ

คุณจี๊ป สุรศักดิ์ แนะนำว่าการเริ่มขายของออนไลน์ เริ่มต้นจาก Branding สร้างเรื่องราว ดึงหัวใจของแบรนด์ออกมา ถ้าไม่รู้จะขายอะไร ให้ลองคิด ว่าอยากขายใคร ซึ่งคนที่เราอยากขาย มีปัญหาอะไรที่เค้าอยากแก้เป็นอย่างแรก แล้วค่อยเริ่มจากตรงนั้น

คุณแอม ยุทธนา ใช้หลักการเดียวกัน มาใช้ในการคิดคอนเทนต์ง่ายๆ ของเครื่องดูดฝุ่นไร้สาย จากคนที่รักความสะอาด แล้วเห็นว่าเส้นผมอยู่บนพื้นตลอด นำไปสู่การถ่ายภาพ พร้อมการตั้งคำถามชวนคิดว่า คุณจะหยิบไม้กวาดมากวาดทุกชั่วโมงมั้ย นี่คือการสร้างคอนเทนต์จากปัญหา เพื่อบอกว่าคุณมาช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ลูกค้า

“แต่ถ้าเรามีสินค้า เมื่อจะสร้างแบรนด์ คำถามคือ สินค้าเราดีกว่าคู่แข่งอย่างไร และจะโดนใจลูกค้า สร้างคุณค่า สร้างประโยชน์ให้ลูกค้าอย่างไร นั่นคือ Branding”

การส่งไว ก็เป็น Branding, บรรจุภัณฑ์ที่ดี ข้างนอกชำรุด แต่สินค้าไม่เสียหาย ก็คือ Branding และนี่คือสิ่งที่เราสร้างขึ้น ไม่ใช่จากการทำคอนเทนต์ หรือเนื้อหา แต่ต้องมาจากจุดเริ่มต้นของธุรกิจเรา ว่าทำประโยชน์ หรือสร้างคุณค่าอะไรให้ผู้บริโภค

“สินค้าที่ขายเหมือนกัน แต่ละร้านก็มีจุดต่างที่ทำให้ไม่เหมือนกัน ซึ่งราคาเป็นเรื่องที่เปรียบเทียบง่ายที่สุด แต่สิ่งที่ยากกว่า คือประสบการณ์ที่ให้ลูกค้าไม่เหมือนกัน”

อย่างที่ยกตัวอย่าง การรับเปลี่ยนสินค้า เครื่องปั๊มนม หากต้องใช้เวลาดำเนินการถึง 7 วัน คุณแม่(ลูกค้า) คงยอมซื้อชิ้นใหม่ ถือเป็นต้นทุนประสบการณ์ที่ลูกค้ามองเห็นว่า ร้านเข้าใจในความสำคัญของสินค้าที่มีต่อลูกค้า

Branding จึงเกิดจากสิ่งที่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ และสร้างประสบการณ์ แล้วค่อยนำมาเล่าให้คนฟังเป็น Story telling นั่นเอง

ถ้าสินค้าของเรา มีลูกค้าเป็นผู้สูงวัย ขายในออนไลน์จะดีมั้ย แล้วควรจะเป็นช่องทางไหน?

กรณีลูกค้ากลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้ทำการตลาดกับลูกค้า โดยไม่คาดหวังการซื้อ เพราะการซื้อจะมาจากลูก/หลาน หลักการเดียวกับสินค้าเด็กอ่อน ที่พ่อแม่เป็นผู้ซื้อ คำถามคือ ทำยังไงให้เกิดความสนใจ จนนำไปสู่การฝากซื้อ ซึ่งช่องทางที่ลูกค้ากลุ่มนี้ใช้งานบ่อยครั้ง คือ Line จากการส่งข้อความทักทายที่ใช้อยู่เป็นประจำ และ Youtube ที่สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย ของคนวัยนี้ เช่น แจ้ ดนุพล, The Impossible เราลองหาวิธียิงโฆษณาไปหา ให้เกิดการไปบอกความต้องการ ที่ลูก หลาน จะหาข้อมูล และซื้อมาให้

เคล็ดลับ การยิงโฆษณา Facebook ให้เกิดยอดขาย

ข้อแรกที่สำคัญ คือ ห้ามซื้อโฆษณา ผ่านมือถือ ระบบการซื้อบนมือถือ จะเป็นการซื้อ Engagement base คือ เป็นการซื้อการมองเห็น คนที่มามักจะกดไลค์ แชร์โพสของเรา แต่ไม่ใช่คนที่ซื้อ อีกส่วน คือ การทำเทส โดยการแบ่งเงินเพื่อซื้อโฆษณาในลักษณะที่ต่างกัน 2-3 แบบ ทดลองให้รู้ว่าคอนเทนต์ไหน หรือกลุ่มเป้าหมายไหน ทำให้เกิดยอดขายจริง แล้วค่อยลงเงินก้อน กับโฆษณาตัวนั้น

จากประสบการณ์ของคุณหนึ่ง ธัญญ์นิธิ มีลูกค้าที่ทักแชทมาสั่งสินค้าที่เพิ่งลงโฆษณา ทั้งที่ไม่ได้กดไลค์ จนถึงลูกค้าที่สั่งซื้ออเดอร์ใหญ่ แต่ไม่กดไลค์เพจ ทราบได้จากกล่องข้อความของเพจจะมีข้อมูลกดไลค์ของลูกค้าที่มีต่อเพจของเรา เมื่อเชิญให้กดไลค์เพจ ลูกค้ามองว่าไม่จำเป็น เมื่อต้องการซื้อจะทักมาเอง เราจึงต้อง เลือกจุดประสงค์ของการทำโฆษณาให้ถูกต้องก่อน

การเลือกจุดประสงค์ของการทำโฆษณาให้ลึก ทำอย่างไร

  • ขั้นตอนแรก เข้าไปที่ การจัดการโฆษณา ผ่านคอมพิวเตอร์
  • ตั้งกลุ่มเป้าหมาย จากความเข้าใจไลฟ์สไตล์ลูกค้า
  • เลือกใช้เครื่องมือโฆษณา ให้ตรงวัตถุประสงค์

ยกตัวอย่างสินค้าสมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ เป็นสินค้าแม่และเด็ก ไม่ได้ตั้งเป็นกลุ่มคนตั้งครรภ์อย่างเดียว แต่ตั้งว่า คนที่สนใจเครื่องปั๊มนม ซึ่งคนที่สนใจมักจะเป็นคุณแม่อยู่แล้ว

“การเลือกกำหนด ความสนใจ (Interest) ที่ไม่มีคนนึกได้ จะทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ช้ำ” ความหมายคือ กลุ่มเป้าหมายที่เห็นโฆษณาของเราจะไม่ถูกโฆษณาประเภทอื่นส่งโฆษณาหา

ยกตัวอย่าง คนขายเสื้อผ้า ตั้งความสนใจว่า H&M หรือ Zara ก็คือ คนที่สนในเสื้อผ้า ก็จะทำให้กลุ่มเป้าหมายแคบขึ้น

“เวลาคุณจะทำโฆษณษา ควรเลือกกลุ่มเป้าหมายที่กระชับ ไม่ใช่กลุ่มที่มีขนาดใหญ่เกินไป”

อธิบายให้เห็นภาพ คือ เมื่อคุณต้องการจะยิงโฆษณา กลุ่มเป้าหมายมีประมาณ 7 ล้านคน คุณกำหนดเงิน 150 บาท Facebook จะให้คนเห็นประมาณ 1,000 คน จะต้องใช้เวลากี่วันที่คนจะเห็นครบ

สูตรที่สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ใช้ มี คือ ทำคอนเทนต์เพื่อให้คนรู้จัก ให้คนเห็นเยอะ แล้วเลือกคนที่ดูโฆษณานั้น มาเกณฑ์กำหนดเป็น กลุ่มคนที่จะยิงโฆษณาขายของใส่ ในลำดับต่อไป

เครื่องมือ Reach ช่วยให้คนเห็นจำนวนมาก เพิ่มจำนวนการเข้าถึง เงิน 1,000 บาท ทำให้คนเห็นโฆษณา 100,000 คน หลังจากนั้น คุณค่อยเริ่มขายของ จากกลุ่มคนที่รู้จักคุณแล้ว ด้วยเครื่องมือส่งข้อความ หรือสิ่งอื่นต่อไป

ท่านสามารถเข้าไปรับชม ย้อนหลังได้ที่ Facebook fanpage : MAT Society
และขอฝากให้ทุกท่านติดตามรับชมสด ทุกวันอังคาร เวลา 2 ทุ่มตรง


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

New Normal Behavior but Same Old Needs

32
SHARE

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคำคัพท์ยอดฮิตในช่วง COVID-19 Crisis คือคำว่า ‘New Normal’ หรือแปลเป็นไทยว่า ‘ความปกติใหม่’ ซึ่งรวมทั้งความคิดและ การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน การทำธุรกิจ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การช้อปปิ้ง การท่องเที่ยวและสันทนาการต่างๆ จนถึง วิธีการทำงานจากที่บ้าน – Work from Home (WFH) ซึ่งเป็นหนึ่งใน ‘New Normal’ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียในเวลาเดียวกัน

จากการสัมภาษณ์คนทำงานจำนวน 400 ตัวอย่างทาง Asia Mobile Panel ของกลุ่มบริษัทอินเทจ พบว่าคนทำงานรู้สึกปลอดภัยจากเชื้อไวรัส ทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น จากการ WFH แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกในเชิงลบ จากการขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ขาดชีวิตชีวาในการทำงาน รู้สึกเครียดและโดดเดี่ยว

โดยทั้ง Gen Y และ Gen X เห็นด้วยว่า การทำงานที่บ้านลด Waste Time ในการเดินทาง การประชุม การพบปะที่ไม่จำเป็น ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่าง 2 Gen ชัดเจน คือเรื่องเวลาคุณภาพกับครอบครัว และการประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งคำตอบเป็นผลมาจาก Values of Life Stage ที่แตกต่างกัน นั่นคือ ในขณะที่ คน Gen X ส่วนใหญ่ แต่งงานมีครอบครัวแล้ว และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากการมีครอบครัวที่ต้องดูแล คน Gen Y ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้แต่งงาน

Every Coin Has 2 Sides

ในขณะที่มีข้อดีมากมาย แต่คนทำงานกลับมีความเครียดเพิ่มขึ้นจากการ WFH โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถชดเชยด้วยการคุยกันผ่านมือถือ หรือการประชุมผ่าน Virtual Meeting

 

การได้พูดคุยแบบ Chit Chat กับเพื่อนร่วมงาน แม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องงาน แต่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้การทำงานแต่ละวันของคนทำงานมีชีวิตชีวามากขึ้น การได้พบปะผู้คนเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้วย ซึ่งทั้ง 2 Gen มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในเรื่องนี้

นอกจากนี้ความไม่พร้อมในระบบ และเทคโนโลยี ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้คนรู้สึกเครียดกับการ WFH

จุดแตกต่างที่น่าสนใจระหว่างคนทำงาน 2 Gen คือ เรื่องของ การมีห้อง, มุม หรือโต๊ะทำงานที่เป็นสัดส่วนที่บ้าน ซึ่งจะเป็นข้อกังวลใจสำหรับ Gen Y ที่ไม่ใช่แค่เพื่อการทำงานเท่านั้น แต่ต้องพร้อม ‘ออกสื่อ’ ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีการประชุมผ่าน Virtual Platform เช่น Zoom หรือ Microsoft Teamsที่ต้องเปิดให้เห็นหน้า เห็นสถานที่กัน

 

 

New Normal Practice but Same Human Needs

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด เทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากขึ้นเพียงใด หรือไม่ว่าจะอยู่ใน Generation ใด ความต้องการ ของคนยังประกอบไปด้วย 3 ด้านหลักๆ คือ 1. Functional Needs 2. Emotional Needs และ 3. Social Needs

Functional Needs: นับว่าเป็นพื้นฐานหลักที่ต้อง Fulfill ก่อน Needs ใดๆ เสมือนเป็นปัจจัย 4 พื้นฐาน ที่ทุกคนต้องมี ในกรณีของ WFH ก็หมายถึงระบบและกระบวนการที่เอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ถ้าเป็นการตลาดก็หมายถึง Prerequisite Benefits ของสินค้าและบริการ

Emotional Needs: เป็นส่วนสำคัญที่สมองของคนจะจดจำ ดังนั้นไม่ว่าจะทำการตลาดใดๆ ถ้าเน้นแต่ จะขายแค่ Product Functional Benefits ก็จะไม่สามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้บริโภคได้ โดยปราศจากประโยชน์ทางอารมณ์

Social Needs: เนื่องด้วยคนเป็นสัตว์สังคม การได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การได้รับการยอมรับ การชื่นชมจากผู้อื่น เป็นสิ่งสำคัญที่เติมเต็มความรู้สึก เรื่องความสำเร็จในชีวิต

การศึกษาในครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของ Social Needs เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าการ WFH จะมีข้อดีมากมายในแง่ Functional Needs แต่คนทำงานก็ยังโหยหาการได้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศเพื่อที่จะได้มี Physical Relationship กับผู้อื่น ในทางการตลาดเราก็จะเห็นได้ชัดจากการเติบโตของการใช้ Influencer Marketing ที่นำ Social Needs ของผู้บริโภคที่ต้องการ Being Right + Being Liked มาเป็นแกน ในการโปรโมทสินค้าและบริการ

Source of Image


ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

ไพรซ์ซ่า (Priceza) สรุปภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2019 พร้อมชี้ทิศทางปี 2020 ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

21
SHARE

ไพรซ์ซ่า (Priceza) เผยตัวเลขมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2019 มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 (COVID-19)ในประเทศไทย ผลักผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท โดยในปี 2020 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35% จากปีก่อนหน้า

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา ได้จัดงานแถลงข่าว “Priceza Virtual Conference สรุปภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทย ปี 2019 และทิศทางปี 2020 ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ” เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ผ่านระบบ Online Conference รับกระแส Social Distancing ในประเทศไทย

ไพรซ์ซ่าชี้ข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของตลาดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศ ขณะเดียวกัน ประเทศที่มีมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุดได้แก่ประเทศจีน 25 เปอร์เซ็นต์, ประเทศเกาหลีใต้ 22 เปอร์เซ็นต์ และประเทศอังกฤษ 22 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ หมายความว่า ถึงแม้คนไทยจะรู้สึกว่ากระแสการซื้อขายออนไลน์เป็นที่นิยม แต่หากดูจากสถิติประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ยังคงสามารถเติบโตได้อีกอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูล ETDA สัดส่วนมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเฉพาะ B2C (Business-to-Consumer) และ C2C (Consumer to Consumer) ในปี 2019 มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่าช่องทาง E-Marketplace เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้ในการซื้อของออนไลน์ในสัดส่วนมากขึ้น จากปี 2018 อยู่ที่ 35% เติบโตมาเป็นสัดส่วนมากถึง 47% ในปี 2019 นอกจากนี้สัดส่วนของช่องทาง Social Media และ E-tailer/Brand.com มีมูลค่าลดลงตามสัดส่วน

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 จากผลพวงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 (COVID-19) ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้นกว่า 29 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 จากผลพวงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 (COVID-19) ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้นกว่า 29 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย

ไพรซ์ซ่า เราเป็นผู้ให้บริการ Multi-Channel E-commerce Platform ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์สามารถเพิ่มยอดขายออนไลน์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิด19 ได้มีบทบาทร่วมช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตราการปิดห้าง-ศูนย์การค้า อาทิ เครือเซ็นทรัล (Central Online, Tops, Powerbuy) แม็คโคร Makro, Index Living Mall, HomePro , Advice, นายอินทร์ (Naiin), Sound Proof Bro และ Nadz โดยไพรซ์ซ่าได้ช่วยดันยอดขายออนไลน์ให้เติบโตขึ้นโดยเฉลี่ยมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ทดแทนรายได้ออฟไลน์ที่หายไป

สินค้าของผู้ประกอบการนอกจากจะปรากฎบนเว็บไซต์ไพรซ์ซ่าแล้ว ยังได้รับการโปรโมทไปกับพันธมิตรของไพรซ์ซ่า ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์รีวิวสินค้า, Youtubers, Facebook Influencers ต่างๆ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มโอกาสขายสินค้าให้ได้มากขึ้น

“จากนี้ต่อไป การขายอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) จะไม่ใช่ทางเลือก
แต่เป็นทางรอดของธุรกิจค้าขายในยุคหลังโควิด-19” นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา กล่าว


ผู้เขียน
Priceza

สมัครรับข่าวสาร

logo