One of three columns
One of three columns
One of three columns

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาฯ ของมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ประจำปี 2565

2.6k
SHARE
“The Future Marketer”

ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 15 คน จากผู้สมัครรับทุนจากมูลนิธิฯ จำนวน 83 คน
ขอแสดงความยินดีกับนิสิต นักศึกษาทุกคนที่ผ่านการคัดเลือกในปีนี้


 

ทั้งนี้ขอให้นิสิต-นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก นำส่งเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
1. ชื่อจริง-นามสกุล / ชื่อเล่น
2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
3. มหาวิทยาลัย / ชั้นปี ปัจจุบัน
4. สำเนาหน้า Book Bank 1 ชุด
ส่งอีเมล์ไปที่ : [email protected] (คุณประภาพรรณ)

และขอให้นิสิตนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือก เข้าร่วมกลุ่ม line Official (@matsociety อย่าลืมใส่เครื่องหมาย@นำหน้า) และ Facebook (MAT Society) เพื่อรับข่าวสาร และการนัดหมายในอนาคต

หมายเหตุ :
– นัดรายงานตัว วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 เวลา 13.00-15.00 น.
– แต่งกายชุดนักศึกษาถูกระเบียบ (ผู้หญิงใส่กระโปรงยาว รองเท้าหุ้มส้น ผู้ชายผูกไทด์)

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย 02-679-7360-3 (คุณประภาพรรณ)

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ทีม Greentastic 4 รวมทีมจาก 3 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เชียงใหม่ คว้าแชมป์แรกของเวทีสร้างแบรนด์ J-MAT Brand Planning Competition ครั้งที่ 1

2.6k
SHARE


สมาคมการตลาดฯ และ เอสซีจี ร่วมประกาศผลรางวัล J-MAT Brand Planning Competition” ครั้งที่ 1 ภายใต้โจทย์ “SCG Green Choice : คุณเลือกเพื่อโลกได้” ปลื้มเยาวชนไทยเจ๋ง ปั้นไอเดียแผน “สร้างแบรนด์” ได้อย่างเข้าถึง ตอบโจทย์  สร้างสรรค์ และขยายผลได้จริง

จากผลการตัดสินที่เป็นเอกฉันท์โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทีม Greentastic 4 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  คว้ารางวัลชนะเลิศ ทีมEn(we)ronment จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมGreenไรดี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โดย ทีมTerrarium จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ทีมGreen Squad จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลชมเชย

 


นายชาคริต ดิเรกวัฒนชัย เลขาธิการ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และรองกรรมการผู้อำนวยการ สำนักกิจการและสื่อสารองค์กร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ เกิดจากในปัจจุบันการสร้างแบรนด์เป็นกุญแจสำคัญที่จะส่งเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น เพราะการสื่อสารอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป สมาคมการตลาดฯ เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้และต้องการเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาได้แสดงศักยภาพ และเข้าใจคุณค่าของการสร้างแบรนด์อย่างแท้จริง ประกอบกับทาง SCG มีแนวคิดที่จะผลักดันและส่งเสริมแบรนด์รักษ์โลกอย่าง SCG Green Choice แบรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม  จึงเกิดเป็นความร่วมมือและริเริ่มเวที “J-MAT Brand Planning Competition” ครั้งที่ 1 ขึ้นมา ต้องขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่คว้ารางวัลจากเวทีนี้ สมาคมฯ หวังว่า ด้วยแนวคิด “พลังสร้างแบรนด์เปลี่ยนโลก” โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิเคราะห์ พัฒนาแผนอย่างครบวงจร ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ และฝึกการทำงานเป็นทีม  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของนักสร้างแบรนด์รุ่นใหม่ ให้พร้อมก้าวสู่เวทีระดับโลก และพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้”

นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงาน Enterprise Brand Management Office SCG กล่าวว่า “เอสซีจีชื่นชมพลังของคนรุ่นใหม่ ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก พร้อมจะเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนาศักยภาพอยู่ตลอดเวลา และยังเป็นกลุ่มที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม เราจึงเลือกแบรนด์ ‘SCG Green Choice: คุณเลือกเพื่อโลกได้’ มาเป็นโจทย์ในการแข่งขัน  เพราะนอกจากน้องๆ จะได้ประลองสนามกับแบรนด์ที่มองหาไอเดียดีๆ ของคนรุ่นใหม่ และพร้อมจะนำผลงานน้องๆ ไปปรับใช้กับแบรนด์จริงแล้ว ยังเป็นโอกาสดีที่ได้ชวนคนรุ่นใหม่มารู้จักกับ  ESG (Environmental, Social, Governance) และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน โดยร่วมพัฒนาแผนสร้างแบรนด์ดีๆ ให้กับฉลากรักษ์โลกอย่าง SCG Green Choice เพื่อชวนคนมาเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งต่อพฤติกรรมดูแลโลกไปในวงกว้าง ต้องขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ทุกทีมที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ และขอบคุณนักศึกษาและอาจารย์ทุกทีมที่มาร่วมกิจกรรมกับเราตั้งแต่ต้น  เอสซีจีหวังว่าน้องๆ จะได้ความรู้ และประสบการณ์ดีๆ ที่นำไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้ และสำคัญที่สุด คือได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน ชวนคนส่งต่อพฤติกรรมรักษ์โลก สร้างสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี ตามแนวทาง ESG ต่อไปด้วย”

J-MAT Brand Planning Competition  เป็นเวทีใหม่แกะกล่องที่จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ชวนนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มาร่วมแข่งขัน “สร้างแบรนด์” โดยประเดิมโจทย์แข่งขันครั้งแรกด้วยแบรนด์ “SCG Green Choice: คุณเลือกเพื่อโลกได้ ชิงรางวัลทุนการศึกษารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร  โดยมีนักศึกษาสนใจสมัครเข้าร่วม  822 คน จาก 64 สถาบันทั่วประเทศ

J-MAT Brand Planning Competition ครั้งที่ 1 เริ่มเปิดโครงการด้วยกิจกรรมเปิดตัวและชี้แจงโจทย์ทางออนไลน์ เปิดให้ผู้สมัครได้ซักถาม ทำความเข้าใจโจทย์ และการเข้าร่วมโครงการอย่างชัดเจน และยังจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาทักษะความรู้ตลอดโครงการ ซึ่งรวมถึง Online Training & Workshop ที่เชิญกูรูด้านการตลาด นักสื่อสารสร้างแบรนด์ และผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าแบรนด์รักษ์โลก มาเป็นวิทยากรแชร์ประสบการณ์ตรงกับผู้เข้ารอบ 50 ทีม กิจกรรม Insight Visit @SCG Home Experience ที่เปิดโอกาสให้ทีมที่ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ได้ไปดูงานเพื่อสัมผัสตัวตนของแบรนด์อย่างใกล้ชิด และนำไปพัฒนาแผนฉบับเต็มได้ รวมถึงการจัดให้มี Exclusive Mentoring โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์และการตลาดมาเป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษาในการวางกลยุทธ์ การสื่อสาร รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ

ติดตามรายละเอียดข่าวสารและสอบถามโครงการได้ที่

 

 

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขอแสดงความยินดี กับผู้ได้รับรางวัล ASIA MARKETING EXCELLENCE AWARDS 2022

2.6k
SHARE

ประกาศรางวัล 2022 ASIA MARKETING EXCELLENCE AWARDS (Marketing 3.0) ครั้งที่ 7

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศผล “รางวัล ASIA MARKETING EXCELLENCE AWARDS 2022” ที่ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ Asia Marketing Federation (AMF) ซึ่งมีสมาชิก 18 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเก๊า มาเลเซีย มองโกเลีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ปากีสถาน ศรีลังกา ไต้หวัน เวียดนาม และ ไทย

ซึ่งในปีนี้ ตัวแทนนักการตลาดของไทยได้ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และคว้ารางวัลกลับมาอีกครั้ง

โดย SIAM KUBOTA Corporation Co., Ltd. นำโดย คุณพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ Asia Marketing Excellence Award ประเภทการตลาด 3.0 (Marketing 3.0) ซึ่งรางวัลนี้ เป็นรางวัลที่มอบให้องค์กรที่เป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการขับเคลื่อนด้านการตลาด และนวัตกรรมควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
และนอกจากนี้ ผลการประกวดในระดับบุคคล Asia’s Top Outstanding Youth-Women-Netizen (YWN) Marketer Award 2022 ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคค 2565 ที่ผ่านมา ตัวแทนจากประเทศไทยของเรา
ยังคว้ารางวัลสุดยอดนักการตลาดดีเด่นในเอเชีย มาอีก 2 รางวัล
คุณจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาดและพันธมิตรทางธุรกิจ และผูอำนวยการฝ่ายธุรกิจแกร็บมาร์ท แกร็บ ประเทศไทย
ได้รับรางวัล Asia’s Top Outstanding WOMEN Marketeer of The Year 2022”
คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท นาสเก็ต รีเทล
ได้รับรางวัล Asia’s Top Outstanding NETIZEN (Digital) Marketeer of The Year 2022
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขอแสดงความยินดี และ ชื่นชมกับความสำเร็จ ที่ทุกท่านได้สร้างชื่อเสียงและโชว์ศักยภาพของนักการตลาดไทยในครั้งนี้ และขอขอบพระคุณฟันเฟืองสำคัญ คือคณะกรรมการอำนวยการทุกท่าน ที่มีส่วนในการช่วยผลักดัน และ สนันสนุน เพื่อเปิดโอกาสให้นักการตลาดไทยก้าวไปสู่เวทีโลก
Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ประกาศผลการตัดสินรอบ 50 ทีมสุดท้าย โครงการ J-MAT Brand Planning Competition ครั้งที่ 1

2.6k
SHARE
ขอแสดงความยินดีกับผู้เข้ารอบ 50 ทีมสุดท้าย ในโครงการ “J-MAT Brand Planning Competition” ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “SCG Green Choice : คุณเลือกเพื่อโลกได้” มีรายชื่อดังต่อไปนี้

หมายเหตุ : ประกาศนี้เรียงลำดับตามเลขที่ใบสมัคร ไม่ได้เรียงตามคะแนนแต่อย่างใด

สำหรับ 50 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบ มาร่วม Online Training & Workshop

🕙วันจันทร์ที่ 23 พ.ค. (10.00-16.00 น.)
🕙วันพุธที่ 25 พ.ค. (10.00-16.00 น.)

อย่าลืม!!! เช็คอีเมล์เพื่อยืนยันการเข้าร่วม Online Training & Workshop และเข้าร่วมไลน์กลุ่ม 50 ทีมสุดท้ายด้วยน้าา

ที่สำคัญคือ การ Training & Workshop ทั้ง 2 วันนี้ จะทำให้ทุกคนได้ความรู้และแรงบันดาลใจแบบแน่นๆ พร้อมเอาไปปรับใช้ในการส่งแผนรอบต่อไปแน่นอน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :

Facebook Page : J-MAT
Instagram : @jmat_official
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
คุณช่วง ผู้จัดการโครงการฯ 095-952-4453

ภาพเพิ่มเติม
Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Post Omicron Consumer : ถอดรหัสการตลาด ‘Fast Forward’

2.6k
SHARE

สมาคมการตลาดฯ เปิดเทรนด์ผู้บริโภครับโอกาสใหม่
“Post Omicron Consumer : ถอดรหัสการตลาด ‘Fast Forward’

ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ของ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดงาน สัมมนาพิเศษ “Post Omicron Consumer : ถอดรหัสการตลาด Fast Forward” โดยได้รับเกียรติจาก 3 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คุณบังอร สุวรรณมงคล CEO & Founder, Hummingbirds Consulting ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ President The 1 – Central Group บริษัท เดอะวันเซ็นทรัล จำกัด และ คุณทอปัด สุบรรณรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายการบินแอร์เอเชีย ที่มาชี้ให้เห็นความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคว่าพวกเขามองหา และให้ความสำคัญกับอะไรหลังวิกฤติที่ผ่านมา และนำ Big Data มาแปลข้อมูลเพื่อเห็น ทิศทางของอนาคตการตลาดที่กำลังจะมาถึง

คุณบังอร สุวรรณมงคล กล่าวว่า เมื่อสถานการณ์ต่างๆเริ่มคลี่คลาย และทุกคนเริ่มปรับตัวเข้ากับสถานการณ์จนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ ก็ถึงเวลาที่จะต้องสะท้อนเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงในความต้องการของพวกเขาในฐานะผู้บริโภค ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เราเห็นเทรนด์ที่ชัดเจนว่า ผู้บริโภคให้ ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและการดูแลตัวเอง แต่หลังจากผ่านภาวะวิกฤติมา 2 ปี อินไซต์ของผู้บริโภคที่โดดเด่น ขึ้นมา คือ เรื่องของ “ความสุข หรือ Happiness” พวกเขามองหาพลังบวกในชีวิต และมองหาแบรนด์ที่จะส่งมอบ พลังบวกนี้ โดยสามารถสรุปเทรนด์ออกมาได้ 5 แง่มุม คือ

H – harmony ผู้บริโภคในยุค post-pandemic มองหาความสมดุลของความสุขทั้งกายใจมากขึ้น ความสงบทางใจมีความสำคัญมากพอๆกับความสุขกายนอก
A – aspiring ความปรารถนาและแรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เขาต่อสู้และสู้ต่อ
P – purposeful เป้าหมายในชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ แต่เป้าหมายในวันนี้อาจไม่ใช่แค่เงินทอง แต่รวมถึงการ เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับ โลก สังคม สิ่งแวดล้อม
P – positive ในโลกที่เต็มไปด้วยดราม่า เขาต้องการพลังบวกและเรื่องราวดีๆ ที่มาช่วยให้สุขภาพใจ แข็งแรงขึ้น
Y – youthfulness พลังแห่งความเป็นหนุ่มสาว การมีส่วนร่วมกับเรื่องใหม่ๆ สร้างความสดชื่นภายในใจ ได้เสมอ

โดย ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ ได้ประมวลผลในเรื่องพฤติกรรมการจับจ่ายจาก Big Data ของ The 1 – Central Group และข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่อง work – life balance มากขึ้น และ มีการดูแลตัวเองมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบยอดจับจ่ายในกลุ่มสินค้าชนิดต่างๆ ระหว่างปี 2519 และ 2521 จะเห็นได้ชัดว่า ส่วนแบ่งการจับจ่ายต่อคน (Share of Wallet) นั้นมีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดมาก การใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าหรูหรานั้นลดลง จาก 47% เป็น 18% ในขณะที่จับจ่ายในกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ นั้นเพิ่มมากขึ้นถึง จาก 1% เป็น 8% แสดงให้เห็นถึง “ความใส่ใจในการดูแลตัวเอง” ที่เพิ่มมากขึ้น

โดยเราสามารถแบ่งการจับจ่ายในการดูแลตัวเองเป็น 4 กลุ่ม สำคัญ

กลุ่มแรก คือ Better Body สินค้าเพื่อสุขภาพกาย กลุ่มนี้มีความเติบโตสูงมาก อาทิ กลุ่มอาหาร เพื่อสุขภาพ (Food, Dining, Store) มียอดจับจ่ายสูงขึ้น 268% กลุ่มอุปกรณ์กีฬา (Sport Equipment) สูงขึ้น 152% กลุ่มสินค้าโยคะสูงขึ้น 10% รวมถึงเทรนด์ที่สะท้อนการดูแลตัวเองในด้านความงาม และ การปรนนิบัติตัวเองที่เพิ่มมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากยอดการจับจ่ายต่อคน (Spend Per Head) ใน สถานบริการสปาทรีทเม้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 77% และสถานเสริมความงามมียอดการจับจ่ายต่อคน เพิ่มขึ้น 7%

กลุ่มที่สอง คือ Better Mind สินค้าเพื่อสุขภาพใจ และสุขภาพจิต ก็มีผู้ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน จะเห็นได้ว่า กลุ่มหนังสือประเภทพัฒนาตัวเอง พัฒนาจิตใจ (Psychology, Religion, Believe) มียอดขายสูงขึ้น 25% มีการจับจ่ายในเรื่องงานอดิเรก (Hobby Class) เพิ่มมากขึ้นกว่า 24% และยอดขายสินค้าจิวเวลรี่ที่เน้นความเชื่อและโชคลางก็เติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในหลายๆ แบรนด์

กลุ่มที่ 3 คือ Better Experience คนยอมจ่ายเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีกว่า ทั้งเพื่อตัวเอง และ ครอบครัว หากดูจากยอดจับจ่ายในการท่องเที่ยวนั้น แม้ยอดใช้จ่ายในโรงแรมทั่วไปลดลงกว่า 34% แต่ยอดการจับจ่ายในกลุ่มโรงแรม 5 ดาว กลับสูงขึ้นกว่า 14% สะท้อนให้เห็นการแสวงหา ประสบการณ์ที่เหนือกว่า และมีการจับจ่ายเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมของครอบครัว มากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด อาทิ เรื่องแคมปิ้งกับครอบครัว เพิ่มขึ้น 69% และการจับจ่ายใน Kids destination ก็เพิ่มมากขึ้น ถึง 44%

และกลุ่มที่ 4 คือ Better Home คนให้ความสำคัญกับการสร้างความรื่นรมย์ในบ้านมากขึ้น เพราะเรื่องการ work from home และ การกักตัว ทำให้บ้านกลับมาเป็นศูนย์รวมใจ และเป็น ส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอีกครั้ง คนจึงให้ความสำคัญกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ สะท้อนในยอดขายของกลุ่มสินค้าตกแต่งบ้าน (Home Décor) ที่สูงขึ้นกว่า 41% และ สินค้าจัดสวน (Gardening) ทีสูงขึ้นกว่า 32% และที่มากไปกว่านี้ คือ ตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่า คนเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นจริงๆ

จากเทรนด์ทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า คำว่า Youthfulness นั้น ไม่ใช่แค่เรื่องของอายุอีกต่อไป แต่ สะท้อนออกมาในมุมของความใส่ใจในสุขภาพกายและใจที่สดชื่นเบิกบานมากขึ้นหลังผ่านช่วงวิกฤติมาแล้ว

คุณทอปัด สุบรรณรักษ์ กล่าวเสริมในเรื่อง “Happy” ว่า จากรายงาน “เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคที่ เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล 2021” ของ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งในประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นแง่มุมที่สอดคล้องกันในเรื่องของ Harmony ในลักษณะของการมีส่วนร่วมต่างๆ (Engagement)

กล่าวคือ คนไทยมักจะมีส่วนร่วมไปในทิศทางเดียวกันในเรื่องท็อปฮิตประจำปีต่างๆ เช่น Lalisa, Miss Thailand Universe, Tokyo Olympic ฯลฯ สำหรับมุมขององค์กร คำว่า Harmony ก็มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่ต้องผ่านวิกฤตไปด้วยกัน อย่างสายการบินไทยแอร์เอเชีย ที่พนักงานได้รับผล กระทบโดยตรง แต่กลับร่วมมือร่วมใจกันฟันฝ่าวิกฤติ

โดยมีหัวใจสำคัญ คือ ผู้นำองค์กรที่ต้องเป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจ รวมถึงการมีพื้นฐานที่ดีจากวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างมาก่อนหน้า นอกจากนี้ในมุมของ Aspiring ทาง ไวซ์ไซท์ ก็มีมีข้อมูลที่น่าสนใจว่า ปี 2021 เป็นปีแห่งการยกย่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่แตกต่าง การให้คุณค่ากับชีวิต และ การใช้ชีวิตดิจิตัลแบบไร้รอยต่อ สำหรับมุมเรื่อง Purposeful นั้น

คุณทอปัดได้ยกตัวอย่างของ Find Folk ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคมที่ลุกขึ้นมาเน้นเรื่องการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบวิถี Low Carbon รวมถึงสร้างธุรกิจใหม่ Find Food ที่นำอาหารชุมชนมาวาง ขายในเมืองในช่วงที่การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ จากรายงานของไวซ์ไซท์ยังมีข้อมูลสะท้อนพฤติกรรม การท่องเที่ยวของชาว Instagram ที่พบว่าผู้คนปรับตัวปรับใจจากความเบื่อหน่าย หดหู่ สู่ #เที่ยวทิพย์ สู่ #workation ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการยอมรับความจริงและการปรับตัวเพื่อเที่ยวและทำงาน แบบมี ความสุขไปด้วยกันได้

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ไทยแอร์เอเชียนับว่าได้รับผลกระทบสูงมาก เพราะอยู่ในธุรกิจสาย การบินซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ผู้บริหารไทยแอร์เอเชียก็นำองค์กรฝ่าคลื่นวิกฤติมาได้ ด้วยการสร้างจิตวิญ ญาณเชิงบวกในองค์กร ด้วยการสื่อสารที่จริงใจชัดเจน บวกกับการปรับแผนงานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ของโลกที่เปลี่ยนไป และเปิดรับโอกาสใหม่ๆ ทั้งโอกาสสำหรับองค์กรเองและโอกาสสำหรับพนักงานทำให้สามารถ สร้างความ Harmony . Aspiring . Purposeful . Positive . Youthfulness ให้แก่พนักงานทุกคน ด้วยความช่วยเหลือ และร่วมใจจากพนักงานทุกๆคน เราจึงสามารถร่วมกันพาองค์กรฝ่าวิกฤติได้

คุณบังอร สุวรรณมงคล กล่าวทิ้งท้ายว่า การจะนำหลัก Happy ไปใช้ในสถานการณ์เช่นนี้อยากให้นึกถึง คำว่า “Help” เพราะแบรนด์ที่จะสำเร็จในยุคนี้ คือแบรนด์ที่พร้อมจะเป็นเพื่อนร่วมทาง พร้อมจะยืนเคียงข้าง พร้อมที่ จะช่วยตอบโจทย์ ตอบใจ และสร้างสิ่งดีๆให้แก่ชีวิตของลูกค้า ดังนั้น เราจึงต้อง มี 4 ส่วนที่สำคัญ คือ

H – Healing ช่วยเยียวยาทั้งกายใจ
E – Empathy เข้าใจและใส่ใจ จึงจะได้ใจ
L – Lift up ส่งมอบสิ่งที่ดีกว่าให้แก่ชีวิตของพวกเขา
P – Purposeful มีเป้าหมายร่วมกัน แชร์ความเชื่อและศรัทธา
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆธุรกิจน่าจะนำไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์เช่นนี้

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ภาพบรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 และ การเลือกตั้งนายกสมาคมการตลาดฯ

2.6k
SHARE

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ในวันพุธที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมคาร์ลตัน สุขุมวิท ห้อง สุขุทวิท 1-2 และได้เชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุมพร้อมอัพเดตเทรนด์ ไปกับสัมมนาพิเศษ“Post Omicron Consumer ถอดรหัสการตลาด ‘Fast Forward’ ”  โดย คุณบังอร สุวรรณมงคล CEO & Founder, Hummingbirds Consulting ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ President The 1- Central Group และ คุณทอปัด สุบรรณรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายการบินแอร์เอเชีย

สมาคมการตลาดฯ เสริมความเชื่อมั่น
พร้อมเป็นกำลังขับเคลื่อน เคียงข้างผู้ประกอบการไทย

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย นำโดย นายอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมฯ แถลงผลงานในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 โดยมีหลากหลายผลงานตามวิสัยทัศน์ Marketing Excellence as a ‘Competitive Force’ of the Nation คือ การใช้ความเยี่ยมยอดทางการตลาด เป็น พลังขับเคลื่อนการแข่งขันของประเทศ และขับเคลื่อนธุรกิจให้พ้นวิกฤติโควิด

นายอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงปี 2563 – 2565 ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ทั่วโลกได้เผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์วิกฤติซึ่งมาเปลี่ยนโลกที่เราเคยรู้จัด สมาคมการตลาดฯได้พยายามอย่างเต็มที่ ที่จะช่วยเหลือ สนับสนุน และยืนเคียงข้าง เสริมความแกร่งผู้ประกอบการและนักการตลาดไทย ผ่านโครงการสำคัญที่เพิ่งริเริ่มใหม่ คือ

1. “MAT Vaccine For Business” รายการสารพันความรู้การตลาดออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook Live ซึ่งมีการออกอากาศอย่างต่อเนื่อง และมีผู้เข้าชมกว่า 850,000 ครั้ง

2. การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ “MAT CMO Council” ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกระดับ CEO, MD, CMO เป็นตัวแทน 105 องค์กรชั้นนำ จาก 12 ประเภทธุรกิจ

3. การปรับรูปแบบของกิจกรรมที่สำคัญของสมาคม ให้เป็นรูปแบบ Hybrid และ Virtual Conference ไม่ว่าจะเป็นงาน “Thailand Marketing Day Conference” และ “MAT National Webinar” เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ คณาจารย์ และนิสิตนักศึกษา กว่า 13,300 คนได้เข้าถึงความรู้ดีๆได้ในช่วง lock down

4. การ Rebranding และ Relaunch การประกวด “Marketing Award of Thailand” งานประกวดแคมเปญการตลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนและยกย่องผลงานซึ่งเป็นฝีมือของนักการตลาดในประเทศไทย โดยมีการปรับกลุ่มรางวัล พร้อมปรับเกณฑ์และขั้นตอนการตัดสินรูปแบบใหม่เพื่อให้มีความสอดคล้องกับโลกการตลาดยุคใหม่ มีผู้เข้าร่วมประกวด 73 ผลงาน จาก 44 องค์กร

5. การเปิดตัว “J-MAT Brand Planning Competition” การประกวดแผนการสร้างแบรนด์ระดับอุดมศึกษาครั้งแรกในประเทศ มีนิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมวันเปิดโครงการทั้งสิ้นกว่า 1,500 คน

และในการประชุมสามัญประจำปี 2565 นี้ ได้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ประจำวาระ ปี 2565 – 2567 ซึ่งผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกของสมาคมการตลาดฯ คือ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นักการตลาดและผู้บริหารผู้มีประสบการณ์และบทบาทสำคัญในการสร้าง New S-Curve ให้กับ ปตท. ซึ่งท่านได้ตั้งปณิธานในการสร้างให้สมาคมการตลาดฯ เป็นแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของนักการตลาด พร้อมใช้การตลาดและนวัตกรรมเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้เกิด Value-Based Economy และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจและสังคมไปพร้อมๆกัน

สมาคมการตลาดฯขอขอบคุณสมาชิก และผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน  ที่ได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของสมาคมการตลาดฯด้วยดีเสมอมา🙏🙏

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

เคล็ดลับบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ให้ถูกใจผู้บริโภค

2.6k
SHARE

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์เคล็ดลับบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ให้ถูกใจผู้บริโภค

จัดขึ้นวันพฤหัสที่ 28 เมษายน 2022  เวลา 14:00

** งานสัมมนาจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ **

2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เราทุกคนล้วนได้เรียนรู้และปรับตัว ทำให้เรามองโลกในมุมที่แตกต่างไปจากเดิม ความคิดของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทำให้แบรนด์ต้องเรียนรู้ และปรับกลยุทธ์ให้ตามความต้องการที่ไม่แน่นอน

แล้วแบรนด์จะสามารถรับมือได้อย่างไร แบรนด์จะสามารถสร้างความจริงใจในการสื่อสาร หรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้อย่างไร?  มาเรียนรู้เคล็ดลับไปพร้อมๆกันกับ Kate Rourke, Head of Creative Insights (APAC),Getty Images ผ่านงานวิจัยด้านภาพ APAC Visual GPS ล่าสุด

หัวข้อในการสัมมนา

  • เศรฐกิจส่งผลกระทบอย่างไรต่อภาพในการสื่อสาร พร้อมคำแนะนำเพื่อทำให้แบรนด์ของคุณทำได้ดีขึ้นในอนาคต
  • ผลกระทบของโควิดฯ ถึงผู้บริโภค และอะไรที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจ
  • อะไรที่ผู้บริโภคใน APAC ต้องการจะเห็นและรับรู้
  • คำแนะนำสำหรับกลยุทธ์ด้านภาพเพื่อการสื่อสาร

ลงทะเบียนฟรี https://engage.gettyimages.com/visualgps-apac-webinar2?utm_source=partnership

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT ร่วมกับ SCG ชวนนิสิต นักศึกษาร่วมประกวด “การสร้างแบรนด์” โครงการ J-MAT Brand Planning Competition ครั้งที่ 1

2.6k
SHARE
งานเปิดโครงการ และชี้แจงรายละเอียดโจทย์
วันที่ 21 เมษายน 2565
Virtual Event

ที่มาของการแข่งขัน

“J-MAT Brand Planning Competition” เป็นโครงการใหม่ที่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) ร่วมกับ เอสซีจี ริเริ่มเวทีการแข่งขัน “การสร้างแบรนด์” สำหรับน้องๆ นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ เพราะในปัจจุบัน การจะทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จได้นั้น แค่มีสินค้าหรือการสื่อสารที่ดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แต่บริษัทต้องให้ความสำคัญกับสร้างคุณค่าจากแก่นแท้ของแบรนด์ (Brand Purpose) และสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคผ่านการสร้างประสบการณ์ของแบรนด์ที่ดี (Brand Experience) เพื่อให้เกิดการจดจำเชิงบวกเกี่ยวกับแบรนด์ และเกิดความรักและผู้พันกับแบรนด์ในระยะยาวได้

สมาคมการตลาดฯ และเอสซีจี จึงสร้างสรรค์เวทีนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้แก่เยาวชนนักสร้างแบรนด์แห่งอนาคต ได้มาร่วมประลองความคิด พิชิตเงินรางวัล และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ก่อนก้าวสู่โลกแห่งการทำงานจริง เพราะเวทีการแข่งขันนี้ ไม่ใช่แค่ต้องการให้นิสิต นักศึกษานำความรู้จากห้องเรียนมาใช้ในการแข่งขัน แต่ยังมีวัตถุประสงค์หลักสำคัญ ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนที่มีความสนใจด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ ให้มีโอกาสพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบของเวิร์คช็อปและการได้ทดลองลงมือทำ บวกกับการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของสมาคมการตลาดฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงนอกห้องเรียนให้กับน้องๆ ให้ได้มีการเรียนรู้ วิเคราะห์ วางแผน และลงมือทำ อย่างครบวงจร

ที่มาของโจทย์

เอสซีจี ให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน และทรัพยากรขาดแคลนมาโดยตลอด จึงมุ่งมั่นพัฒนาและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย ESG (Environmental, Social, Governance) โดยเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ได้ประกาศจุดยืนด้านความยั่งยืนด้วยแนวทาง “ESG 4 Plus” (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ – Plus เป็นธรรม โปร่งใส) ซึ่งส่วนหนึ่งของแนวทางดังกล่าว คือ การวางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 (Net Zero) และมุ่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Go Green) โดยได้ออกแบรนด์ฉลาก “SCG Green Choice” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้สินค้าบริการของเครือ SCG ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน อีกทั้งฉลากนี้จะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันเป้าหมาย Net Zero และช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน และสร้างโลกที่ยั่งยืนต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกกำลังเผชิญวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวรุนแรงขึ้น คนๆ เดียวอาจไม่สามารถแก้ปัญหาใหญ่แบบนี้ได้ แต่การสร้างแบรนด์จะเป็นหนึ่งพลังที่ดึงให้คนมาร่วมกันเปลี่ยนแปลงโลกได้โดยเฉพาะไอเดียการสร้างแบรนด์จากคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีพลังสร้างอนาคต เอสซีจี จึงร่วมกับสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้มามีส่วนร่วมในการผลักดัน SCG Green Choice แบรนด์ฉลากสินค้าที่มีนวัตกรรมตอบโจทย์การใช้ชีวิตและดีต่อโลก ให้เป็นกุญแจสำคัญที่ชวนให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมเลือกเพื่อโลกได้มากขึ้น โดยมีกูรูตัวจริงด้านการสื่อสารแบรนด์ที่คนรุ่นใหม่ให้การยอมรับ มาร่วมบ่มเพาะให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อให้การสร้างแบรนด์เปลี่ยนโลกได้จริง

คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัคร

1. ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1-4 ณ วันที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ
2. สมาชิกในทีม จำนวน 2-5 คน (ไม่จำกัดคณะ สาขา ชั้นปี และสามารถมีสมาชิกจากต่างสถาบันได้)
3. สมาชิกในทีมจะต้องไม่เป็นสมาชิกของทีมอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน (1 คน / 1 ทีม ส่งได้เพียง 1 ผลงาน)
4. แต่ละทีมจะต้องมีอาจารย์จากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เป็นผู้เซ็นรับรองในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา (อาจารย์ 1 ท่าน สามารถเป็นที่ปรึกษาได้หลายทีม)
5. หากทีมหรือสมาชิกภายในทีมมีคุณสมบัติไม่ตรงกับกฎระเบียบการแข่งขัน หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำผิดกฎกติกาที่ตั้งไว้ จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
6. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างสรรค์ผลงานขึ้นด้วยตนเอง ห้ามมิให้ทำซ้ำ คัดลอก เลียนแบบ หรือ ดัดแปลงจากของผู้อื่น หากตรวจพบว่ามีการทุจริต ถือว่าสละสิทธิ์การแข่งขันและรับรางวัล แม้จะประกาศผลไปแล้วทางผู้จัดงานสามารถเรียกคืนรางวัลได้
7. สมาคมการตลาดฯ และผู้สนับสนุน ถือว่าได้รับลิขสิทธิ์ผลงานของผู้เข้าแข่งขันทุกทีม รวมถึงภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดโครงการ และสามารถนำมาใช้พัฒนาต่อเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและองค์กร โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ และไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
8. ผู้เข้าแข่งขันต้องรับผิดชอบรักษาข้อมูลโจทย์ที่เป็นความลับ และเก็บข้อมูลความลับไว้โดยครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
9. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่เปิดเผย ทําสําเนา หรือทําการอื่นใดทํานองเดียวกันแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยเท่านั้น
10. ผู้ส่งผลงานทุกทีม ถือว่าได้รับทราบ และยอมรับในเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว

กำหนดการต่างๆ (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
1. งานเปิดโครงการ และแถลงรายละเอียดโจทย์21 เม.ย. 65
2. ประชาสัมพันธ์ พร้อมเปิดรับสมัคร8 เม.ย. – 10 พ.ค. 65
3. ส่งแผนรอบที่ 1 : VDO Clip+แผนสร้างแบรนด์ฉบับย่อภายในวันที่ 10 พ.ค. 65
4. คัดเลือก 50 ทีม จาก VDO Clip+แผนสร้างแบรนด์ฉบับย่อ10-17 พ.ค. 65
5. วันประกาศผล 50 ทีม18 พ.ค. 65
6. Online Training & Workshop23 และ 25 พ.ค. 65
7. คัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย 4-12 มิ.ย. 65
8. วันประกาศผล 10 ทีม13 มิ.ย. 65
9. ได้งบประมาณ ลงมือทำผลงานจริง 1 เดือน13 มิ.ย. – 13 ก.ค. 65
10. เยี่ยมชม SCG Experienceปลายเดือนมิถุนายน 65
11. วันนำเสนอผลงานรอบ 10 ทีมสุดท้าย พร้อมประากศผล/มอบรางวัล15 ก.ค. 65
รางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขัน
  • รางวัลชนะเลิศ – เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากสมาคมการตลาดฯ และเกียรติบัตร
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 – เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 – เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย 2 รางวัล – เงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับ
  • ผู้เข้ารอบ 50 ทีมสุดท้าย จะได้เข้าร่วม Online Training & Workshop พร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย จะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนภาคปฏิบัติ ทีมละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ได้รับโอกาสในการเข้าดูงานจากแบรนด์
  • ผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ได้รับโอกาสในการ Mentoring กับผู้เชี่ยวชาญจาก MAT & SCG
ช่องทางการสมัคร >> Click
รูปแบบการแข่งขันและขั้นตอนการตัดสิน

เพื่อพิชิตรางวัลในการแข่งขัน “J-MAT Brand Planning Competition” นี้ จะมีการแข่งขันทั้งหมด 3 รอบ

รอบที่ 1 : เฟ้นหาผู้มีศักยภาพ

กรรมการมองหาอะไรในรอบนี้?
• ไอเดียของกลยุทธ์และแผนปฎิบัติการณ์การสร้างแบรนด์ที่มีศักยภาพและตรงตามโจทย์ที่ได้รับไป เพื่อให้นักศึกษานำไปพัฒนาต่อยอด เป็นกลยุทธ์และแผนงานที่สมบูรณ์แบบในรอบถัดไป
ผล : คัดเลือกเหลือ 50 ทีม เพื่อมาเข้าbranding workshop

ผู้เข้าแข่งขันจะต้อง
1) ทำการส่ง แผนการสร้างแบรนด์ฉบับย่อ ที่มีความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 โดยในแผนจะต้องมี 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ
• Key Strategy กลยุทธ์หลักเพื่อตอบโจทย์ที่ได้รับ
• Key Message ใจความสำคัญ ในการสร้างแบรนด์
• Key Brand Experience & Creative Idea เครื่องมือหลักในการสร้างประสบการณ์ของแบรนด์ในกลุ่มเป้าหมาย และไอเดียในการลงมือทำ
• Key to Success หัวใจของความสำเร็จของแผนงานที่เสนอมา
2) Clip VDO ความยาวไม่เกิน 5 นาที ที่บอกเล่าหัวใจสำคัญของแผนงานที่นำเสนอมา ในรูปแบบที่สร้างสรรค์

รอบที่ 2 : สร้างให้เปล่งประกาย

กรรมการมองหาอะไรในรอบนี้?
• การวางกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์
• การวางแผนการสร้างแบรนด์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
• การสร้างความแตกต่างด้วยแผนงานที่มีความคิดสร้างสรรค์
• ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง
• ความชัดเจนในการเลือกกิจกรรมเพื่อนำมาทดลองลงมือทำจริง
ผล : คัดเลือกเหลือ 10 ทีม เพื่อรับงบประมาณมาลงมือทำจริงในระยะเวลา 1 เดือน และนำเสนอแผนในรอบ Final

ผู้เข้าแข่งขัน 50 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ จะต้อง
1) เข้าร่วมงานเวิร์คช็อปออนไลน์เรื่องการทำแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์จากผู้เชี่ยวชาญ
2) นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปรับแผนการสร้างแบรนด์ที่ได้เคยวางไว้
ทำการส่ง แผนการสร้างแบรนด์ฉบับเต็ม ที่มีความยาวไม่เกิน 30 หน้ากระดาษ A4 โดยในแผนที่นำส่ง สามารถทำรูปแบบที่สวยงาม แต่จะต้องมีส่วนประกอบครบถ้วนตามข้อกำหนดของโจทย์ (อ้างอิงถึง SECTION 3 ข้อมูล รอบที่ 3 ในส่วนของ องค์ประกอบของแผนฉบับสมบูรณ์)

รอบ Final : สุดยอดนักสร้างแบรนด์แห่งอนาคต

กรรมการมองหาอะไรในรอบนี้?
• การวางกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์
• การวางแผนการสร้างแบรนด์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
• มีการนำเสนอผลลัพธ์จากกิจกรรมที่ได้ทดลองลงมือทำจริง และนำผลลัพธ์นั้นมาปรับปรุงแผนงานที่นำเสนอในรอบสุดท้าย
• การสร้างความแตกต่างด้วยแผนงานที่มีความคิดสร้างสรรค์
• ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง
• การนำเสนอที่โดดเด่น
ผลรอบ Final : คัดเลือกทีมผู้ชนะเลิศ และรองอันดับต่างๆ

ผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ จะต้อง
1) ได้รับงบประมาณสนับสนุน 20,000 บาท เพื่อนำมาดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในแผนการสร้างแบรนด์ที่ได้เสนอมา ภายในระยะเวลา 1 เดือน พร้อมเตรียมสรุปข้อมูล
2) นำผลลัพธ์จากกิจกรรมที่ได้ทดลองลงมือทำจริงมาปรับแผนการสร้างแบรนด์ที่ได้เคยวางไว้ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3) ในการนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการ ความยาวไม่เกิน 15 นาที และตอบข้อสักถาม 10 นาที ให้มีการสรุปผลลัพธ์จากกิจกรรมที่ได้ทดลองลงมือทำจริง และนำไปสู่การนำเสนอแผนงานรอบสุดท้าย ที่ได้มีการปรับปรุงแล้ว

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

คุณจันทร์เพ็ญ ทานนท์ ผู้จัดการโครงการฯ โทร. 095-952-4453
Facebook Fanpage : www.facebook.com/smartjmat
LINE : @smartjmat
Instagram : jmat_official


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Breakthrough the Unknown : เรียนรู้กลยุทธ์ 2 ผู้บริหารจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย กับการปรับตัวในยุคการตลาดไร้รูปแบบ

2.6k
SHARE

Highlight

“ในสภาวะ Unknown อย่างในปัจจุบัน ให้โฟกัสใน “สิ่งที่เรารู้” ก่อน อย่าเพิ่งเสียเวลาตามหาเรื่องที่คุณไม่รู้ เพราะโลกมันเปลี่ยนเร็วขึ้นเรื่อยเรื่อย ไม่ต้องเอาทุกเรื่องมาคิด ตัวไหนที่ไม่เกี่ยวก็ไม่ต้องสนใจ แล้วค่อยมาเลือก หากธุรกิจของเรายังอยู่ในเทรนด์ อย่างน้อยก็แสดงว่าไม่หลงทาง”
-คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์-

 

“เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ Unknown  ให้ย้อนกลับมาดู Customer centric เราต้องตอบโจทย์ให้กับใคร Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายที่เรากำลังจะช่วยตอบโจทย์ให้เขานั้นคืออะไร
และสิ่งสำคัญคือ ต้องกล้า ต้องกล้าลอง กล้าทำ กล้าล้ม เวลาที่เราอยู่ในสถานการณ์ Unknown ควรจะลองลงมือทำอย่างรวเร็ว หากจะต้องปรับเปลี่ยนระหว่างทาง ก็จะสามารถทำได้อย่างทันท่วงที”
-คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ-

ในงาน Thailand Marketing Day: The Special Edition “Marketing the Unknown รู้จักโลกใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิม” ที่ผ่านมานั้น มีหัวข้อ Breakthrough the Unknown: ก้าวข้ามขีดจำกัดกับการตลาดไร้รูปแบบ เป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้มาร่วมพูดคุย เพื่อให้นักการตลาดและแบรนด์ได้เรียนรู้ ผ่านมุมมองและประสบการณ์จากผู้บริหาร 2 องค์กรยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ อย่าง คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) และ คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Sea (ประเทศไทย) ซึ่งในหัวข้อนี้ดำเนินรายการ โดย ผศ.ดร. เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด และ ประธานหลักสูตรปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาด คณะบัญชีฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในหัวข้อนี้เริ่มต้นด้วยกลยุทธ์และมุมมองใหม่ๆในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากจะคาดเดา ที่นักการตลาดและองค์กรต้องเผชิญในปัจจุบัน


โดย คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ หรือ เฮียฮ้อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้มาแชร์มุมมองในฐานะ แม่ทัพของ RS ต้นตำรับแห่งความ Unknown ผู้สร้างตำนานจาก Rose Sound สู่ RS1992 จนมาเป็น RS ในทุกวันนี้ ผ่านเรื่องราวมากมายจนล่าสุด เพิ่งเปิดดีลยักษ์ใหญ่ เข้าซื้อกิจการขายตรงของยูนิลีเวอร์  เฮียฮ้อ ได้มาแชร์ว่า

“ในสภาวะ Unknown อย่างในปัจจุบัน ให้โฟกัสใน “สิ่งที่เรารู้” ก่อน อย่าเพิ่งเสียเวลาตามหาเรื่องที่คุณไม่รู้ เพราะโลกมันเปลี่ยนเร็วขึ้นเรื่อยเรื่อย เมื่อเรารู้ข้อมูลมากขึ้น อีกอาทิตย์หนึ่งมันก็เปลี่ยนแล้ว
ดังนั้น เวลาดูเทรนด์ ให้มองว่าเทรนด์ใหญ่อะไรบ้าง แล้วเทรนด์ไหน ที่มันเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา ไม่ต้องเอาทุกเรื่องมาคิด ให้โฟกัส ตัวไหนที่ไม่เกี่ยวก็ไม่ต้องไปสนใจมัน แล้วค่อยมาเลือก หากธุรกิจของเรายังอยู่ในเทรนด์ อย่างน้อยก็แสดงว่าไม่หลงทาง อย่างเคสของ RS Entertainmerce ทุกๆธุรกิจต้องอยู่ในเทรนด์หมด และธุรกิจใหม่ ต้องมี Synergy ในกลุ่มธุรกิจเดิมด้วย ดังนั้น 70% ให้ทำสิ่งที่เรารู้ อีก 30% ค่อยไปเรียนในสิ่งที่เราไม่รู้เอา ถ้ารอรู้หมดคงไม่ได้ทำงานกันแน่ แต่การจะทำสิ่งนี้ได้ องค์กรจะต้องเป็นองค์กรที่ Agile และให้ความสำคัญกับความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวมเร็ว ทีมงานต้องตื่นตัว โครงสร้างองค์กรต้องกระชับมาก จะทำให้มีความพร้อมที่จะเข้าไปสู่ธุรกิจแต่ละธุรกิจได้ อย่างที่รู้ครึ่งหนึ่งและไม่รู้ครึ่งหนึ่ง”

คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO บริษัท SEA Thailand กล่าวว่า “เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ Unknown คือ เราไม่รู้เลยว่าทำไปแล้วจะเป็นอย่างไร ทำไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ให้ย้อนกลับมาดู 2 ข้อหลัก ข้อแรกคือ Customer centric หากไม่รู้ว่าสถานการณ์ที่กำลังผชิญอยู่คืออะไร อย่างน้อยเราต้องรู้ว่า เราต้องตอบโจทย์ให้กับใคร ต้องรู้ว่าปัญหา หรือ Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายที่เรากำลังจะช่วยตอบโจทย์ให้เขานั้นคืออะไร เมื่อเราเอาสิ่งนี้เป็นตัวตั้ง เอาประโยชน์ของลูกค้า ที่ลูกค้าต้องการเป็นตัวตั้งต้น
และ ข้อถัดไปซึ่งสำคัญมาก คือ ต้องกล้า ต้องกล้าลอง กล้าทำ กล้าล้ม เวลาที่เราอยู่ในสถานการณ์ Unknown แล้วมัวแต่คิดว่าจะทำอะไร ก็จะไม่เห็นสักทีว่าจะเกิดอะไรขึ้น หลายๆครั้งจึงควรจะลองลงมือทำ โดยใช้ส่วนประกอบต่างๆที่มี เช่น Data มาประกอบและวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด แล้วเราจะรู้เร็ว หากจะต้องปรับเปลี่ยนระหว่างทาง ก็จะสามารถทำได้อย่างทันท่วงที”

       

และนี่ก็คือเนื้อหาบางส่วนจากหัวข้อ “Breakthrough the Unknown : ก้าวข้ามขีดจำกัดกับการตลาดไร้รูปแบบ” ที่ให้คำแนะนำทั้งในเรื่องของการ Catch trend – Control – Customer Centric – และ การลงมือทำทำที แบบ Fail is Fine ได้ลงมือและลองทำในทิศทางที่ใช่ โดยมีการคำนวณ Down Side อย่างชัดเจน และมีการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด ก็จะก้าวผ่านโลก Unknown ไปได้

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Welcome To The Unknown World..ขอต้อนรับสู่โลกใหม่ที่เราไม่รู้จัก

2.6k
SHARE

Key Focus

“เป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว ที่คนทำธุรกิจและนักการตลาดเครียดและสับสนกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ผันผวน ไม่มีความชัดเจน เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของโลก สังคม และผู้บริโภค หลายเรื่องเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จนเกิดเป็นโลกที่เราไม่เคยรู้จัก เกิดความไม่เข้าใจมากมาย ซึ่งธุรกิจและนักการตลาดต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทัน”

นายกสมาคมการตลาดฯ ได้ฝากหลักคิดและแนวทางการทำการตลาดในโลกที่เต็มไปด้วย Unknown จากการประมวลความคิดของท่าน CEO และ CMO Council ที่ให้การสนับสนุนสมาคมการตลาดมาโดยตลอด มีหัวใจ หรือที่เรียกว่า H.E.A.R.T ดังนี้


H – Humanize

ในยุคที่ยากลำบาก ความเห็นอกเห็นใจสำคัญมาก ผู้บริโภคมองหาแบรนด์ที่มีความเป็นมนุษย์ มีจิตสำนึก มีความเข้าใจ มีความโปร่งใส และมีเป้าหมายเดียวกับพวกเขา หากแบรนด์จริงใจ และสามารถสร้างมิตรภาพจนความสัมพันธ์แน่นแฟ้นเหมือนเพื่อน เมื่อนั้นคุณจึงจะสามารถก้าวไปอยู่ในใจของลูกค้าได้อย่างแท้จริง

E – ESG & Sustainability

ในขณะที่สถานการณ์โควิด การเมืองโลก เศรษฐกิจ ธุรกิจ เทคโนโลยี ฯลฯ มีแต่ความไม่รู้ (unknown) และไม่แน่นอน (unpredictable) สิ่งหนึ่งที่เรารู้แน่ชัด คือ โลกที่เราอยู่กำลังถดถอย และต้องการการเยียวยา นานาอารยะประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญและยกให้เรื่อง Green Trend นี้เป็นวาระระดับโลก ภาคธุรกิจก็ให้ความสำคัญกับเรื่องการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) มากยิ่งขึ้น โดยเรื่อง ESG จะไม่ได้เป็นแค่การทำกิจกรรม CSR อีกต่อไป แต่จะถูกพัฒนาไปเป็นรูปแบบของ Sustainable Marketing อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งเรื่องของกระบวนการผลิต แนวคิดผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการปรับโมเดลธุรกิจให้เกิดผลเชิงบวกกับ Profit – People – และ Planet ไปพร้อมๆกัน

A – Agile

ในที่นี้คือ ความคล่องตัวในทุกแง่มุม ทั้งรูปแบบ Agile Structure ขององค์กร ที่ต้องปรับให้เอื้อต่อการตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เป็นอิสระต่อกัน ทีมงานต้องมี Agile Mindset ที่พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมเพื่อร่วมแก้ปัญหา กระตุ้นให้กล้าคิดที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใหม่ๆบรรลุเป้าหมาย ในมุมของการตลาด ก็ต้องมี Agile Marketing คือมีกลยุทธ์และแผนการตลาดที่มีความยืดหยุ่น มีการคิดมาอย่างรอบคอบ และมีแผนสำรองที่หลากหลาย พร้อมปรับเปลี่ยนให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

R – Resilience

สถานการณ์ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนและหลายๆธุรกิจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก แต่หนึ่งในความท้าทายที่เป็นโอกาส คือ เรื่องการ “ล้มแล้วลุกเร็ว” เมื่อธุรกิจหรือแผนการตลาดไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ธุรกิจต้องเรียนรู้ เพื่อนำมาปรับและเตรียมพร้อมรับมือ ความ resilience ภายใน คือวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดโอกาสให้คนลองผิดลองถูกให้คนมี growth mindset และมีที่ให้พวกเขาได้พัฒนาส่วนภายนอกนั้นบางครั้ง การ resist ไม่ได้แปลว่าการยึดคิดกับความสำเร็จเดิมๆ แต่คือการกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอด

T – Transformation

ในยุคนี้ องค์กรต้องพร้อมเปลี่ยนแปลง ไม่ยึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ ในวิกฤติที่เกิดขึ้น จริงๆแล้วเรามองเห็นโอกาสมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ของผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและรักโลกมากขึ้น เขายอมจ่ายมากขึ้นเพื่อได้รับสิ่งที่ดีกว่า เรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นใน1-2ปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่อง new platform เรื่อง digital asset หรือแม้แต่การเกิดขึ้นของ metaverse โลกเสมือนที่จะมาเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีการทำธุรกิจในอนาคต เทรนด์และโอกาสนั้นมีมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญคือ องค์กรต้องรู้จักเลือก ว่าโอกาสไหน ที่เหมาะกับธุรกิจของเรา

อยากให้นักการตลาดคำนึงถึงหลักคิดและแนวทางการทำการตลาด 5 ข้อที่สำคัญนี้ เพิ่มมุมมองและประสบการณ์ในการรับมือกับสิ่งที่เป็น Unknown ต่างๆเหล่านี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำแนวคิดดีๆมาจุดประกายในการพลิกวิกฤติให้กลาย เป็นโอกาสทางธุรกิจ และสร้างความเข้มแข็งกับแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือในโลกยุคใหม่

Creative Juice

ในโลกแห่งความไม่รู้ สิ่งหนึ่งที่จะเป็นกุญแจสู่ประตูแห่งความเข้าใจ คือเรื่องของ data ทุกองค์กรและนักการตลาดทุกคน ต้องเริ่มนำ data มาใช้ โดยการ เก็บ Big Information ประมวลผลเป็น Meaningful Data แล้วมาสร้าง ให้เกิดเป็น Impactful Action ที่ช่วยให้ชีวิตของลูกค้าเราดีขึ้น ช่วยให้โลกดีขึ้น และช่วยให้ธุรกิจมีผลกำไรมากขึ้น
Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมัครรับข่าวสาร

logo