One of three columns
One of three columns
One of three columns

สรุป 10 เทรนด์สำคัญ 2025 ที่ธุรกิจต้องจับตา!

2.6k
SHARE

10 เทรนด์การตลาด 2025 จากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT)
เทรนด์ที่ 1 – การสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลด้วย AI: ยกระดับการสร้างความผูกพันกับลูกค้า
การใช้ AI ในการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลมาแรงสำหรับเทรนด์การตลาดในปี 2025 ธุรกิจในประเทศไทยกำลังนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้เพื่อมอบประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงและน่าประทับใจยิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค นวัตกรรม AI อย่างผู้ช่วยชอปปิงเสมือนจริง แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแบบไดนามิก และตู้อัจฉริยะ (smart kiosk) เป็นเรื่องปกติไปแล้ว ตู้สั่งอาหารดิจิทัลในร้านอาหารบริการด่วนแนะนำเซ็ตอาหารที่ปรับแต่งตามประวัติการสั่งซื้อ และยังปรับการแสดงเมนูแบบเรียลไทม์โดยพิจารณาจากอาหารตามพิกัดใกล้เคียง เวลาของวัน หรือสภาพอากาศ เช่น การแสดงสินค้าเครื่องดื่มเย็นช่วงอากาศร้อนจัดทำให้ผู้บริโภคไม่เพียงแต่ได้ประสบการณ์ที่เฉพาะตัวแต่ยังน่าจดจำ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ในธุรกิจค้าปลีกและความบันเทิงก็กำลังเติบโต ช่วยให้ธุรกิจประเมินพฤติกรรมผู้บริโภคและส่งโปรโมชั่นเหมาะสำหรับแต่ละบุคคลในจังหวะที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแชตบอตในธุรกิจความงามที่ใช้ AI แนะนำผลิตภัณฑ์ที่โดนใจ ทำให้การชอปปิงสะดวกเกว่าเดิมจึงสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เหนียวแน่นขึ้น เทรนด์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า AI กำลังปฏิวัติการตลาด สร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นและน่าประทับใจที่เชื่อมโยงแบรนด์กับผู้บริโภคได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เทรนด์ที่ 2 – AI และระบบอัตโนมัติในการทำการตลาดเพื่อความเป็นเลิศในการดำเนินงาน
ภายในปี 2025 AI และระบบอัตโนมัติจะยังคงยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านการตลาดในประเทศไทย ช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มการมีส่วนร่วมกับลูกค้า Generative AI จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างคอนเทนต์อัตโนมัติ จัดการข้อความเฉพาะบุคคลได้ในปริมาณมาก และปรับแต่งแคมเปญโฆษณา นักการตลาดจะใช้ AI ในการคาดการณ์พฤติกรรมลูกค้า ปรับกลยุทธ์ดิจิทัลแบบเรียลไทม์ และยกระดับการบริการลูกค้าผ่านแชตบอตที่ขับเคลื่อนด้วย AI การเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัติจะไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการตลาด แต่ยังช่วยให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่เป็นส่วนตัวและมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ROI และช่วยให้ความภักดีต่อแบรนด์แข็งแกร่งขึ้นในที่สุด

เทรนด์ที่ 3 – Social Commerce: จุดบรรจบระหว่างโซเชียลมีเดียและการชอปปิง
Social commerce ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการชอปปิงในประเทศไทย แพลตฟอร์มอย่าง TikTok และ Instagram กลายเป็นระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่ง แบรนด์ต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ เช่น การไลฟ์ขายสินค้าและโพสต์ที่กดสินค้าใส่ตะกร้าได้ทันที เพื่อสร้างประสบการณ์การชอปปิงแบบคุยโต้ตอบกันได้แบบเรียลไทม์ ตัวอย่างเช่น ร้านค้าด้านความงามและแฟชั่นร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์จัดการสาธิตสินค้าสด โดยผู้ชมสามารถซื้อสินค้าพร้อมร่วมถาม-ตอบได้ทันที เทรนด์นี้เอื้อประโยชน์อย่างมากสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและคนขายงานฝีมือที่อยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ ช่วยให้เข้าถึงผู้ชมทั่วประเทศได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าการโฆษณาแบบดั้งเดิมมาก ผู้บริโภคชาวไทยที่ให้คุณค่ากับการมีปฏิสัมพันธ์แบบส่วนตัวได้รับประโยชน์จากประสบการณ์การชอปปิงที่โปร่งใสและสะดวกสบาย ในขณะที่ธุรกิจก็ใช้ข้อมูลเชิงลึกในการปรับปรุงกลยุทธ์ การผสมผสานระหว่างความบันเทิงและอีคอมเมิร์ซกำลังเปลี่ยนโฉมตลาดดิจิทัลในประเทศไทย เปลี่ยนแพลตฟอร์มโซเชียลให้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ทรงพลัง

เทรนด์ที่ 4 – ความยั่งยืนเป็นแก่นของกลยุทธ์แบรนด์
ในปี 2025 ความยั่งยืนจะกลายเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์แบรนด์ในประเทศไทยมากขึ้น ธุรกิจจะหันมาใช้วัสดุรีไซเคิลและแนวปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น ลดการใช้พลาสติกบริสุทธิ์ เทรนด์นี้กำลังได้รับความนิยม บริษัทจำนวนมากมุ่งมั่นจะใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิล 100% ในขณะเดียวกัน หลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จะยังคงมีความสำคัญเพิ่มขึ้น แบรนด์จะมุ่งเน้นการลดการปล่อยคาร์บอน การอนุรักษ์น้ำและสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดความร่วมมือที่มุ่งปรับปรุงการรีไซเคิลและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และช่วยให้ผู้บริโภคเลือกแบรนด์ที่ส่งเสริมความยั่งยืน ความยั่งยืนกำลังเปลี่ยนจากความกังวลในคนกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่องค์ประกอบหลักของการตลาด ซึ่งจะส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคและความสำเร็จของแบรนด์ในระยะยาว

เทรนด์ที่ 5 – โมเดลการบอกรับสมาชิก: อนาคตของการสร้างความรักในแบรนด์
บริการแบบบอกรับสมาชิกได้รับความชื่นชอบอย่างมากในประเทศไทย โดยมีแรงขับเคลื่อนจากความต้องการความสะดวกสบายและการปรับแต่งให้เป็นส่วนตัว แพลตฟอร์มดิจิทัลนำเสนอการสมัครสมาชิกพร้อมสิทธิพิเศษ เช่น การจัดส่งฟรี ดีลพิเศษ และข้อเสนอเฉพาะบุคคล ตัวอย่างเช่น บริการส่งอาหารได้เปิดตัวแผนบอกรับสมาชิกที่มีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอย่างการจัดส่งฟรีและส่วนลด ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคในเมืองที่มีชีวิตเร่งรีบและให้คุณค่ากับความสะดวกสบาย เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มด้านสุขภาพและความงามที่เสนอดีลและการดูแลรักษาผิวพรรณร่างกายเฉพาะบุคคลอย่างต่อเนื่องทำให้รักษาฐานลูกค้าได้ดีขึ้น ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นในใจกลางเมืองอย่างกรุงเทพฯ โมเดลบอกรับสมาชิกจึงช่วยสร้างความภักดีของลูกค้าที่ลึกซึ้งขึ้นด้วยการมอบประสบการณ์ที่มีความสม่ำเสมอและคุ้มค่า ธุรกิจที่เข้าถึงเทรนด์เหล่านี้ไม่เพียงแต่สามารถสร้างรายได้ที่คาดการณ์ได้ แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าอีกด้วย

เทรนด์ที่ 6 – การตลาดแบบแฟนคลับ: เปลี่ยนความหลงใหลเป็นความภักดีต่อแบรนด์
การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยแฟนคลับได้รับความนิยมในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแต่ยังคงเติบโตด้วยดี แบรนด์ต่างๆ ใช้พลังของชุมชนแฟนคลับที่รักในตัวศิลปินในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมและความภักดี แฟน ๆ กลายเป็นกระบอกเสียงให้แบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบมากขึ้น ธุรกิจบันเทิง เกม และไลฟ์สไตล์กำลังทำการตลาดกับชุมชนเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น แบรนด์อีสปอร์ตจัดการแข่งขันพิเศษและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแฟนคลับ ในขณะที่แบรนด์ความบันเทิงนำเสนอสินค้ารุ่นพิเศษที่มีจำนวนจำกัดและประสบการณ์เฉพาะแฟนคลับตัวยงเท่านั้น เทรนด์นี้ได้ขยายไปสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นและความงาม การออกคอลเลกชันที่อิงแฟนคลับและประสบการณ์สำหรับแฟนคลับแต่ละกลุ่มทำให้ความสัมพันธ์กับลูกค้าเหนียวแน่นขึ้น เมื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลเติบโต แฟนคลับก็สร้างคอนเทนต์ที่ป่าวประกาศสิ่งที่แบรนด์อยากสื่อกันขึ้นมาเอง วิวัฒนาการของการตลาดแฟนคลับนี้ทำให้แบรนด์มีโอกาสเชื่อมโยงกับผู้บริโภคอย่างมีความหมาย ส่งเสริมการเป็นผู้สนับสนุนแบรนด์และความภักดีในระยะยาว

เทรนด์ที่ 7 – การเสริมพลังด้วยไมโครอินฟลูเอนเซอร์: ความจริงใจและการพูดถึงในวงกว้าง
เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยครีเอเตอร์มีแนวโน้มที่จะดังเปรี้ยงปร้างในประเทศไทยภายในปี 2025 โดยมีไมโครอินฟลูเอนเซอร์เป็นตัวละครสำคัญในการทำการตลาด เมื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลเสริมพลังให้คนสร้างคอนเทนต์ได้ แบรนด์ต่าง ๆ ก็เริ่มทำงานกับไมโครอินฟลูเอนเซอร์ซึ่งเป็นคนทั่วไปที่สร้างบทสนทนาที่จริงใจและเข้าถึงได้กับผู้ติดตามของตัวเอง แม้อินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะมีผู้ติดตามน้อยที่สุดเพียง 10,000 คน แต่มักจะสร้างอัตราการกดลิงก์หรือซื้อสินค้าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับเซเล็บแบบดั้งเดิม เนื่องจากความไว้วางใจที่พวกเขาสร้างขึ้นในชุมชนเฉพาะกลุ่ม แบรนด์จะยังคงสื่อสารกับชุมชนครีเอเตอร์ ร่วมมือกับบุคคลที่มีค่านิยมสอดคล้องกันและเข้าถึงเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เราคาดว่าจะได้เห็นแคมเปญที่เน้นไมโครครีเอเตอร์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นวงการความงาม ไลฟ์สไตล์ หรือเทคโนโลยี ช่วยวางรากฐานการมีส่วนร่วมแบบส่วนตัวที่นำไปสู่การตลาดแบบปากต่อปาก

เทรนด์ที่ 8 – ประสบการณ์ลูกค้าแบบไร้รอยต่อผ่านอุปกรณ์สั่งงานด้วยเสียงและสมาร์ทดีไวซ์
เพราะการค้นหาด้วยเสียงและสมาร์ทดีไวซ์ที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น แบรนด์ในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับกลยุทธ์การตลาด ประสบการณ์ลูกค้าแบบรวมศูนย์ข้ามแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับบริการผ่านอุปกรณ์สั่งงานด้วยเสียงได้อย่างราบรื่นจะเป็นเทรนด์สำคัญภายในปี 2025 รวมถึงโปรแกรมสานสัมพันธ์กับลูกค้าข้ามแพลตฟอร์ม บริการทางการเงินแบบบูรณาการ และการเข้าถึงบริการหลากหลายผ่านซูเปอร์แอป ผู้บริโภคจะคาดหวังการถามตอบที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า ชำระเงิน หรือตรวจสอบคะแนนสะสม ทั้งหมดต้องทำได้ผ่านคำสั่งเสียง แบรนด์ที่รวมบริการเหล่านี้ได้แบบครบวงจรจะสร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อและเป็นส่วนตัวมากขึ้น เสริมสร้างความภักดีของลูกค้าในไทยที่คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยี

เทรนด์ที่ 9 – การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและการฝึกสติในการสร้างแบรนด์: ก้าวข้ามจากแค่สุขภาพกาย
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและการฝึกสติกลายเป็นองค์ประกอบหลักของการสร้างแบรนด์ในประเทศไทย ธุรกิจต่าง ๆ ปรับผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต แบรนด์กำลังเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นเฉพาะสุขภาพกายไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงสุขภาพจิตและการฝึกสติ แบรนด์สุขภาพและความงามทำการตลาดเรื่องการผ่อนคลายความเครียด การดูแลตัวเอง และการฝึกสติให้เป็นส่วนหนึ่งของประโยชน์สินค้าและบริการ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ผสมผสานการฟื้นฟูร่างกายและการผ่อนคลายจิตใจก็เติบโตขึ้นเช่นกัน เทรนด์นี้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างสู่การผสานสุขภาพกายและใจเข้าด้วยกัน สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้แบรนด์ได้เชื่อมโยงกับผู้บริโภคที่กำลังมองหาความสมดุลและสุขภาวะในชีวิตประจำวัน

เทรนด์ที่ 10 – ประสบการณ์แบบสมจริงด้วย AR/VR: ปฏิวัติการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค
ภายในปี 2025 เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (Augmented Reality หรือ AR) และความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR) จะเปิดประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย นับเป็นวิธีการที่สร้างสรรค์ให้แบรนด์ได้มีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย แม้ว่า AR และ VR จะได้รับความนิยมในธุรกิจค้าปลีกและความบันเทิงมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ศักยภาพที่แท้จริงเพิ่งเริ่มขยายวง ธุรกิจในวงการแฟชั่น การท่องเที่ยว และอีคอมเมิร์ซจะใช้ AR สำหรับการลองสินค้าเสมือนจริง การชอปปิงแบบถามตอบได้ทันที และการแสดงสินค้าแบบปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมของผู้ซื้อ ในขณะเดียวกัน VR จะช่วยให้แบรนด์สร้างประสบการณ์แบบสมจริง ตั้งแต่ทัวร์ท่องเที่ยวเสมือนจริงไปจนถึงอีเวนต์พิเศษสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เมื่อผู้บริโภคมองหาการปฏิสัมพันธ์ที่ปรับแต่งเฉพาะบุคคลและน่าจดจำมากขึ้น การผสานเทคโนโลยี AR และ VR เข้ากับกลยุทธ์การตลาดจะเป็นตัวพลิกเกม เพิ่มความภักดีของลูกค้าและการมีส่วนร่วมในตลาดที่ไม่หยุดนิ่งของประเทศไทย


ขอขอบคุณสำหรับการเผยแพร่ข่าวและหากต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย โทร 02 – 679 7360 – 3
หรือ จิราภรณ์ พึ่งสัตย์ (จิ๊บ) 099 242 5244

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สรุปเทรนด์เทคโนโลยีและการตลาดปี 2025 โดย สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย

2.6k
SHARE

สรุปเทรนด์เทคโนโลยีและการตลาดประจำปี 2568 โดย สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย

1. AI เข้าถึงใจผู้บริโภค: พลังของการตลาดแบบ Hyper-Personalization

ในปี 2025 การผสานพลังระหว่าง AI และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงจะยกระดับการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลในเอเชียสู่มิติใหม่ AI มีความสามารถในการประมวลผลชุดข้อมูลมหาศาลแบบเรียลไทม์ เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์การตลาดที่โดนใจ นำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์ และมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า การตลาดแบบเจาะจงรายบุคคลจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม เปลี่ยนผู้เยี่ยมชมให้กลายเป็นลูกค้า และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ที่เหนียวแน่นขึ้น นักการตลาดจำเป็นต้องลงทุนในเครื่องมือ AI และให้ความสำคัญกับจริยธรรมในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์จากกระแสนี้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการรักษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

2. ยุคใหม่แห่ง Al Influencer

อินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างขึ้นโดย AI จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในตลาดเอเชียภายในปี 2025 ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อทำความเข้าใจและเชื่อมโยงกับผู้ชมได้ในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตัวตนเสมือนเหล่านี้จะประมวลผลพฤติกรรมผู้ใช้เพื่อสร้างเนื้อหาที่ตรงจริต ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงได้แม่นยำมากกว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นมนุษย์ แนวทางที่อิงข้อมูลนี้ช่วยรับประกันความสม่ำเสมอของการสื่อสารแบรนด์และการมีส่วนร่วม นักการตลาดต้องให้ความสำคัญกับการเล่าเรื่องซึ่งเป็นหัวใจของ AI Influencer และต้องสร้างคอนเทนต์ที่น่าเชื่อถือและสัมผัสอารมณ์ของผู้บริโภค

3. กระแสการบริโภคอย่างมีความหมายและจริงใจ

ภายในปี 2025 ผู้บริโภคในเอเชียโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะมองหาแบรนด์ที่สะท้อนค่านิยมส่วนตัวของพวกเขามากขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ความยั่งยืน ความจริงใจ และการสร้างคุณค่าต่อสังคม แนมโน้มนี้เป็นกระแสการบริโภคที่มีจิตสำนึก ซึ่งคุณภาพและผลกระทบเชิงจริยธรรมของผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักมากกว่าการใช้จ่ายเพื่อความหรูหราหรือโอ้อวด เทรนด์นี้ทำให้นักการตลาดต้องใส่ใจในการเล่าเรื่องอย่างจริงใจ โปร่งใส และแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แบรนด์ที่เข้าใจและตอบรับค่านิยมเหล่านี้จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ความไว้วางใจที่ลึกซึ้ง และความจงรักภักดีที่ยืนยาวแม้ในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคผันแปรไม่หยุดนิ่ง

4. AI ยกระดับการกำหนดราคาแบบเรียลไทม์

การกำหนดราคาแบบยืดหยุ่นด้วยพลังของ AI จะสร้างมิติใหม่ให้กลยุทธ์การตลาดในเอเชียภายในปี 2025 อัลกอริทึมอัจฉริยะสามารถวิเคราะห์อุปสงค์ สถานการณ์การแข่งขัน และพฤติกรรมผู้บริโภคได้ทันทีเพื่อปรับราคาให้เหมาะสมที่สุด ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มรายได้สูงสุดพร้อมนำเสนอข้อเสนอที่โดนใจผู้บริโภค สำหรับนักการตลาด เทรนด์นี้ต้องผสมผสานการตั้งราคาด้วย AI เข้ากับกลยุทธ์ที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้บริโภคมองว่าราคายุติธรรมและยังรักษาความเชื่อมั่นในแบรนด์ท่ามกลางตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

5. Agentic AI: ผู้ช่วยอัจฉริยะที่เรียนรู้และพัฒนาได้

ในปี 2025 Agentic AI จะช่วยให้โปรแกรมทั่วไปให้มีความสามารถคล้ายมนุษย์ในการตัดสินใจอย่างอิสระและปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมผู้บริโภค ระบบเหล่านี้ไม่เพียงทำงานได้อย่างอิสระ แต่ยังเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมและแบ่งปันความรู้กับระบบอื่น ๆ สร้างเครือข่ายอัจฉริยะที่เติบโตอย่างไม่หยุดนิ่ง เทคโนโลยีนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยการส่งมอบประสบการณ์เฉพาะตัวและราบรื่น เช่น การทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลลูกค้า ผู้ช่วยชอปปิง และตัวแทนแบรนด์ สำหรับนักการตลาด วิวัฒนาการนี้จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ นำมาซึ่งแคมเปญที่สดใหม่และการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นไปอีกระดับ ทำให้แบรนด์เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน

6. การประมวลผลแบบควอนตัม: พรมแดนใหม่ของการตลาด

การประมวลผลแบบควอนตัมจะจะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการการตลาดในปี 2025 ด้วยศักยภาพในการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดมหึมาด้วยความเร็วที่เหนือกว่าที่เคยมีมา ตั้งแต่การคาดการณ์เชิงลึกไปจนถึงการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในทันที เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยควอนตัมจะช่วยให้แบรนด์ตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลได้อย่างแม่นยำแบบไม่มีใครเทียบได้ นักการตลาดสามารถปรับแคมเปญให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด คาดการณ์แนวโน้มได้ล่วงหน้า และสร้างคอนเทนต์ให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงได้ในไม่กี่วินาที เมื่อเทคโนโลยีนี้แพร่หลายมากขึ้น องค์กรต้องลงทุนกับกลยุทธ์ที่พร้อมกับควอนตัมเพื่อให้อยู่เหนือคู่แข่งท่ามกลางตลาดแข่งขันสูง

7. การตลาดแบบเรียลไทม์ด้วย GNSS: พิกัดที่ตั้งคือหัวใจ

ระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite Systems: GNSS) จะปลดล็อกศักยภาพสำหรับการตลาดเฉพาะพื้นที่ในปี 2025 ด้วยการใช้ข้อมูลตำแหน่งแบบเรียลไทม์ แบรนด์สามารถส่งมอบข้อเสนอ การแจ้งเตือน และประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพิกัดปัจจุบันของผู้บริโภค เช่น เมื่อเดินผ่านร้านโปรด ระบบจะส่งข้อความแจ้งส่วนลดพิเศษหรือโฆษณากิจกรรมที่ร้านกำลังจัดอยู่ เทรนด์นี้เปิดโอกาสให้นักการตลาดสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ทันทีและสร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีความหมาย ขณะที่เทคโนโลยี GNSS ก้าวหน้าขึ้น องค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องความเป็นส่วนตัวควบคู่กับการยิงคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง ณ จุดที่ลูกค้าอยู่ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกและสร้างผูกพันกับลูกค้าได้

8. พลังแห่งความเงียบ: การเติบโตของโฆษณาไร้เสียง

ในยุคที่การรับชมวิดีโอบนมือถือแบบปิดเสียงกลายเป็นเรื่องปกติ โฆษณาไร้เสียงจะก้าวขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานใหม่ในปี 2025 งานโฆษณาที่เน้นความสวยงามของภาพและข้อความจะตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ดูคอนเทนต์โดยไม่เปิดเสียง การผสมผสานแคปชัน ภาพเคลื่อนไหว และภาพประกอบอย่างสร้างสรรค์ทำให้สารของแบรนด์โดดเด่นและทรงพลัง สำหรับนักการตลาด เทรนด์นี้ต้องอาศัยการออกแบบคอนเทนต์ที่ดึงดูดสายตาไปพร้อม ๆ กับการเล่าเรื่องราวโดยไม่มีเสียง แบรนด์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้จะเข้าถึงผู้ชมที่ทำหลาย ๆ สิ่งพร้อมกันได้ ช่วยให้พวกเขาซึมซับและจดจำเนื้อหาที่แบรนด์สื่อออกไปท่ามกลางโลกดิจิทัลที่มีสิ่งรบกวนความสนใจมากมาย

9. เสริมสมรรถนะสมอง: ปลดล็อกโลกใหม่แห่งการตลาด

ภายในปี 2025 เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสมอง เช่น ระบบฝึกฝนคลื่นสมองแบบป้อนกลับและตัวกระตุ้นการรู้คิด จะปรับเปลี่ยนวิธีที่มนุษย์ประมวลผลข้อมูลและมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ผู้บริโภคจะเข้าถึงคอนเทนต์ได้เร็วขึ้น ตัดสินใจได้ไวขึ้น และมองหาประสบการณ์ที่น่าหลงใหลและสมจริงมากขึ้น สำหรับนักการตลาด เทรนด์นี้เปิดโอกาสให้ใช้เทคนิคโฆษณาล้ำสมัย เช่น การมุ่งเน้นกลไกการทำงานของสมองหรือแคมเปญที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ไปพร้อมกัน แบรนด์ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้จะสร้างความผูกพันในรูปแบบใหม่ อย่างไรก็ตาม ประเด็นด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวจะเป็นที่ถกเถียงมากขึ้น

10. ข้อมูลสังเคราะห์: สนามทดลองแห่งใหม่ของ AI

ในปี 2025 การสร้างข้อมูลสังเคราะห์จะยกระดับการสอนทักษะของ AI ด้วยชุดข้อมูลคุณภาพสูงที่ไม่มีขีดจำกัดโดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลจากโลกความเป็นจริง นวัตกรรมนี้ช่วยรับประกันความเป็นส่วนตัวที่ปลอดภัยขึ้น ขจัดอคติ และเร่งการพัฒนา AI ในมุมนักการตลาด นี่หมายถึงอัลกอริทึมที่ฉลาดขึ้น ความเข้าใจผู้บริโภคที่แม่นยำขึ้น และการปรับแต่งบริการเฉพาะบุคคลที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น การประยุกต์ใช้ข้อมูลสังเคราะห์เปิดทางให้แบรนด์ใช้โซลูชัน AI ในวงกว้าง แม้จะมีข้อจำกัดด้านจริยธรรมและกฎหมาย เมื่อข้อมูลสังเคราะห์กลายเป็นกระแสหลัก องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องเข้าใจศักยภาพในการพัฒนากลยุทธ์ให้ออกมาดีที่สุดและส่งมอบประสบการณ์อันทันสมัยซึ่งขับเคลื่อนด้วยข้อมูล


เกี่ยวกับสพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF):
สหพันธ์พันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF) http://www.asiamarketingfederation.org เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2534 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดระหว่างประเทศสมาชิก AMF ประกอบด้วยสมาคมและหน่วยงานด้านการตลาดระดับชาติ 18 แห่งจากเอเชีย รวมทั้งสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยการส่งเสริมความร่วมมือและการแบ่งปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด


ขอขอบคุณสำหรับการเผยแพร่ข่าวและหากต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย โทร 02 – 679 7360 – 3
หรือ จิราภรณ์ พึ่งสัตย์ (จิ๊บ) 099 242 5244

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ประกาศผลรางวัล Marketing Award of Thailand 2024

2.6k
SHARE

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (Marketing Association of Thailand หรือ MAT) จัดงานประกาศรางวัล Marketing Award of Thailand สุดยอดแคมเปญการตลาด 2024 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อสนับสนุนและยกย่องผลงานของนักการตลาดในประเทศไทยที่โดดเด่นในด้านกลยุทธ์ ความคิดสร้างสรรค์ และการนำนวัตกรรมการตลาดตลอดจนแนวคิดด้านการตลาดมาเป็นเครื่องมือในการตอบโจทย์ผู้บริโภคและแก้ปัญหาให้กับองค์กรได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม สามารถวัดผลได้ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จ พร้อมสร้างผลลัพธ์เชิงบวกอย่างยั่งยืน ผู้ชนะรางวัลนี้จึงนับเป็นเกียรติภูมิขององค์กรและของประเทศ อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างและกรณีศึกษาในการยกระดับการตลาดของประเทศไทย

โดยในปี 2567 ที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้าร่วมส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 140 ผลงาน จาก 83 องค์กร ทั่วประเทศ และการแข่งขันสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ในวันที่ 8 มกราคม 2568  สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จึงได้มีการจัดพิธีประกาศผลรางวัล “Marketing Award of Thailand: สุดยอดแคมเปญการตลาด” ณ มิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ โดยมีรายนามผู้ชนะรางวัล จำนวน 4 กลุ่มรางวัล มีรายละเอียดดังนี้

Award Category 1: Strategic Marketing
แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านกลยุทธ์ สะท้อนแนวคิดทางการตลาดเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย และมีการนำกลยุทธ์มาแปรเป็นแผนปฎิบัติการณ์ที่สอดคล้อง ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ทางธุรกิจท่ามกลางการแข่งขัน และสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้กับแบรนด์ มีแคมเปญที่ได้รับรางวัล ดังนี้

  • รางวัล Gold Award มี 1 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : จากแปลงนาสู่สนามแข่ง มิติใหม่ของกีฬาเพื่อเกษตรกรไทย จาก บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • รางวัล Silver Award มี 1 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : The Power of Gentle Touch จาก บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
  • รางวัล Bronze Award มี 1 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : Care Plus พลัสความแคร์ ให้คนที่แคร์แต่คนอื่น จาก บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

Award Category 2 : Brand Experience & Communication
แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านการสร้างคุณค่าของแบรนด์ โดยมีการถ่ายทอดจุดยืนของ แบรนด์แก่กลุ่มเป้าหมายผ่านการสร้างประสบการณ์และการสื่อสารต่างๆ ส่งผลไปสู่การสนับสนุนสินค้าหรือบริการ กลายเป็นความจงรักภักดีในตัวแบรนด์ และนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

  • รางวัล Gold Award ไม่มีแคมเปญที่ได้รับรางวัล
  • รางวัล Silver Award มี 4 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : #heyintrovert จาก บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)

    2. ชื่อผลงาน : ไก่ไทยจะไปอวกาศ จาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

    3.ชื่อผลงาน : THE TASTE THAT BRINGS YOU HOME จากบริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด

    4. ชื่อผลงาน : อร่อยมงลงได้ทุกจาน จาก บริษัท นอติลุสฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด
  • รางวัล Bronze Award มี 1 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : แกล้มได้ ทุกเรื่องเล่า จาก บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)

Award Category 3 : Innovations & Martech
แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่ให้แก่ธุรกิจ มีแนวทางความคิดทางการตลาดที่โดดเด่น สร้าสรรค์ และมีการนำเสนออย่างลงตัว ทั้งคุณค่าของสินค้าและบริการ พร้อมสะท้อนคุณค่าของแบรนด์ โดยใช้นวัตกรรมและเครื่องมือทางการตลาดที่ทันสมัย และนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

  • รางวัล Gold Award ไม่มีแคมเปญที่ได้รับรางวัล
  • รางวัล Silver Award มี 2 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : วัดจู๋ไม๊ จาก บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด

    2. ชื่อผลงาน : ทุกเรื่องรถ จัดการได้ ในทัชเดียว by ttb touch จาก ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • รางวัล Bronze Award มี 1 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : Kubota Service DA(Y)TA : รู้ก่อนพร้อมกว่า จาก บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด

Award Category 4 : Sustainable Marketing
แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน โดยสามารถสะท้อนจุดยืนของแบรนด์ ในการหวังผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึง stakeholder ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวองค์กร พนักงาน ลูกค้า ซัพพลายเออร์ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกอย่างโดดเด่น มีนัยยะสำคัญ

  • รางวัล Gold Award – ไม่มีแคมเปญที่ได้รับรางวัล
  • รางวัล Silver Award มี 3 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : Brewing The Zero Waste Coffee to Happy Breakfast จาก บริษัท เอ็มเอฟ คาเฟ่ แอนด์ เรสเตอรองต์ จำกัด

    2. ชื่อผลงาน : พอดีไม่เหมือนกัน จาก บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด

    3. ชื่อผลงาน : Eco industrial Bag, Inclusive Green Growth จาก บริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด
  • รางวัล Bronze Award มี 2 ผลงาน ที่ได้รับรางวัล
    1. ชื่อผลงาน : KUBOTA Turn Waste to Agri Wear จาก บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด

    2. ชื่อผลงาน : ลอก แยก ทิ้ง Just Peel Feel Good จาก Thai Paper Co.,Ltd.

และมี “สุดยอดแคมเปญแห่งปี” อีก จำนวน 2 รางวัล คือ
1. CMO’s Top Choice Award : สุดยอดแคมเปญจากเสียงโหวตของ CMO เป็นรางวัลพิเศษที่ได้รับการโหวตด้วยคะแนนสูงสุด จาก MAT CMO COUNCIL ซึ่งเป็นคณะผู้บริหารระดับสูงด้านการตลาดกว่า 100 ท่าน จากบริษัทชั้นนำในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ

• ผลงานที่ชนะ : ไก่ไทยจะไปอวกาศ
• โดยบริษัท : บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

2. Grand Prize สุดยอดแคมเปญการตลาดแห่งปี : ที่มีความเป็นเลิศทั้งในเชิงกลยุทธ์ วิธีการ ความคิดสร้างสรรค์ และผลลัพธ์ที่น่าทึ่งในกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เป็นผลงานที่สะท้อนความภาคภูมิใจและความสำเร็จในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการตลาดอย่างแท้จริง ผู้ชนะรางวัลนี้ คือผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจากแต่ละกลุ่มรางวัล และได้รับการโหวตสูงสุด จากคณะกรรมการผู้ตัดสิน คณะกรรมการสมาคมการตลาด และ คณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของโครงการ

• ผลงานที่ชนะ : จากแปลงนาสู่สนามแข่ง มิติใหม่ของกีฬาเพื่อเกษตรกรไทย
• โดยบริษัท : บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด

โดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย มีความมุ่งมั่นที่จะยกย่องและเชิดชูนักการตลาดไทย รวมถึงองค์กรที่ใช้การตลาดขับเคลื่อนการเติบโตอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างอันดี และเป็นตัวอย่างของเคสที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิดใหม่ๆให้วงการการตลาดไทยสืบไป

********************************************************************************************************************

ท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียด และ ขั้นตอนของการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด
ได้ที่ Facebook Fan page : MAT society / Line@: @matsociety 
คุณจิราภรณ์ (จิ๊บ) ที่อีเมล์: [email protected] โทร. 099-242-5244
หรือ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย 02-679-7360-3 ต่อ 106

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจ “Marketing Trends: 2025 Way Forward”
สะท้อนมุมมองและแนวโน้มสำคัญในแวดวงการตลาดไทยปี 2025

2.6k
SHARE

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย โดยอุปนายกสมาคมฯ สองท่าน คือ ดร.สมชาติ วิศิษฐชัยชาญ และผศ. ดร. เอกก์ ภทรธนกุล ได้เปิดเผยผลสำรวจ “Marketing Trends: 2025 Way Forward” ซึ่งสะท้อนมุมมองและแนวโน้มสำคัญในแวดวงการตลาดไทยปี 2025 โดยรวบรวมข้อมูลจาก MAT CMO COUNCIL เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงในองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยการตลาดจำนวน 111 ท่าน

ภาพรวมเศรษฐกิจและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตลาดไทยในปี 2025

 

WHAT: สถานการณ์การตลาดในปี 2568

จากผลสำรวจพบว่า 55% ของผู้บริหารมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะไม่เติบโต และโดยรวมผู้บริหารระดับสูงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเจริญเติบโตเพียง 1.65% ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงผันผวน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในภาพรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตลาดไทยมากที่สุด 3 อันดับ

  1. สภาพเศรษฐกิจโลก : ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ  4.09 คะแนน
  2. เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI: การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน 4.08 คะแนน
  3. ความต้องการของผู้บริโภค : พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญกับสุขภาพ คุณภาพชีวิต และความยั่งยืนมากขึ้น 4.05 คะแนน

 

นอกจากนี้ ผู้บริหารมองว่า 3 เทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในปี 2568 ที่เป็นจุดสำคัญที่ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโต ตามลำดับ
1. สุขภาพ: ผู้บริโภคหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจ
2. ดิจิทัล: ผู้บริโภคมองหาโดยมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะต้องมีความทันสมัย
3. คุณภาพของสินค้า: ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูงมีมาตรฐาน และมีความน่าเชื่อถือ

HOW: เราจะจัดการงบและทรัพยากรการตลาดอย่างไร

“ จากพบสำรวจพบว่า มากกว่า 77.6% บอกว่าจะไม่เพิ่มงบการตลาดในปี 2025 และอีก 0.41% ที่มองว่างบการตลาดอาจลดลง”

นอกจากนั้นผู้บริหารถึง 77.6% เห็นว่าปีนี้จะไม่เพิ่มงบประมาณการตลาด โดยจะมุ่งเน้นการใช้งบไปในด้าน Content Platform เป็นหลัก ควบคู่ไปกับ Commerce Platform ซึ่งสมาคมฯ เน้นย้ำว่าการใช้งบประมาณการตลาดต้องทำ Content และ Commerce ไปพร้อม ๆ กันเนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเสพ Content ไปพร้อม ๆ กับการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Commerce Platforms ต่าง ๆ

WHAT NEXT : ในปี 2568 อะไรที่จะเกิดขึ้นต่อไป

 

ดร.สมชาติ และ ผศ.ดร.เอกก์ ได้แชร์ผลสำรวจจาก MAT CMO จำนวน 111 คนพบว่า “เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอนาคต” ที่น่าลงทุน มีตามลำดับดังนี้

1. AI (ปัญญาประดิษฐ์): มีถึง 4.52% ที่ AI จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ช่วยในการตัดสินใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน หรือการผลิต
2. IoT (Internet of Things): 4.01% ของอุปกรณ์ต่าง ๆ จะเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้
3. Biotechnology: 3.85% ที่เทคโนโลยีชีวภาพจะถูกนำมาใช้ในการพัฒนายาใหม่ ๆ การผลิตอาหาร และการเกษตร ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพและความมั่นคงทางอาหาร

และอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจจากการสำรวจคือความสำคัญของ 3P สิ่งที่นักการตลาดและผู้บริหารให้ความสำคัญขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในปี 2025 คือ “Profit” หรือผลกำไร รองลงมาคือ “People” สังคม ชุมชน และลูกค้า ซึ่งลดลงมาจากอันดับ 1 เมื่อปีก่อน และสุดท้ายคือ “Planet” สิ่งแวดล้อม

 

จากผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 พบว่า 3 อุตสาหกรรมสำคัญที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะกลายเป็น New S-Curve ของประเทศไทย ได้แก่:
1. Health and wellness: การให้ความสำคัญกับสุขภาพจะทำให้เกิดโอกาสทางการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น อาหารเสริม เครื่องมือแพทย์ และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
2. Quality tourism: การตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน จะสร้างโอกาสทางการตลาดในด้านการท่องเที่ยวอย่างมาก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
3. Agri and biotech: การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในภาคการเกษตร จะช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งจะสร้างโอกาสทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ด้วยจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติและองค์ความรู้ที่ประเทศไทยมีอยู่ การพัฒนาและต่อยอดในทั้งสามอุตสาหกรรมนี้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงบวก ยกระดับสินค้าและบริการของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเสริมสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

สำหรับหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในปี 2025 สมาคมฯ ได้สรุปคาถาการตลาดออกมาในแนวคิด “ABCD” ประกอบด้วย
AI: ใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI ยกระดับ Customer Experience ผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์และ Personalized Marketing สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าและคู่ค้า
Balance: ช้า-เร็ว ระวังหลัง สร้างสมดุลระหว่างความรวดเร็วและความรอบคอบในการดำเนินกลยุทธ์และลงทุนกับการจัดการความเสี่ยง ทั้งนี้ต้องเร็วและอยู่บนความเข้าใจผู้บริโภคอย่างแท้จริง
Clear: ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ วางแผนการใช้งบการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หว่าน
Data: ชิงชัยด้วยข้อมูล เก็บ วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างความผูกพันทางอารมณ์และความรู้สึกกับลูกค้า เพื่อที่ลูกค้าจะได้รู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจเขาอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยย้ำว่าการตลาดในปี 2025 นั้นไม่ง่าย เพราะต้องการทั้งความยืดหยุ่น ความพร้อมรับมือ ความชัดเจน การปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่ระมัดระวัง เพื่อสร้างความได้เปรียบในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง และธุรกิจที่สามารถผสาน 3P เข้าด้วยกันอย่างสมดุลจึงจะมีโอกาสอยู่รอดและเติบโตในระยะยาว


หากต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย โทร 02 – 679 7360 – 3
จิราภรณ์ พึ่งสัตย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด – กิจกรรมและการสื่อสาร
[email protected] โทร. 099-242-5244

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สรุปเนื้อหาในงาน
Thailand Marketing Day 2025
THE NEXT MARKETING BATTLE
จัดทัพฝ่าสมรภูมิการตลาดยุคใหม่

2.6k
SHARE

 

ปิดฉากไปอย่างสวยงามกับงาน THAILAND MARKETING DAY 2025 ภายใต้ธีม “THE NEXT MARKETING BATTLE จัดทัพฝ่าสมรภูมิการตลาดยุคใหม่” ที่จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (Marketing Association of Thailand หรือ MAT) โดยได้รับเกียรติจาก คุณพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขึ้นกล่าวกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ ฉายภาพความท้าทาย ความพร้อมและมาตรการต่าง ๆ ในการยกระดับเศรษฐกิจไทย รวมถึงประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของ กกร. และนายกสมาคมการตลาดที่มาพูดถึงความพร้อมของ 4 เสาหลักที่สำคัญของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังยกทัพนักธุรกิจและการตลาดจากหลากหลายอุตสาหกรรมมาเล่าความสำเร็จ การปรับตัว และจุดท้าทายที่ต้องอาศัยทั้งฝีมือกลยุทธ์และนวัตกรรมในการแข่งขัน

          ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและกล่าวว่า “ในปีนี้ภาคการตลาดจะต้องเผชิญกับปัญหาภาวะทางด้านเศรษฐกิจ ความท้าทายกับการบริหารการทำงานระหว่าง Generation รวมไปถึงปัญหาในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ภาคการตลาดจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง ดังนั้นเราในฐานะนักการตลาดจะต้องไม่หยุดปรับตัวและเติบโตได้ในทุกสถานการณ์ “ถ้าการตลาดคือส่งคราม หัวใจของสงครามคือลูกค้า” และขอให้ทุกท่านได้รับแรงบันดาลใจจากวิทยากรเพื่อนำไปขับเคลื่อนภาคตลาด พัฒนาประเทศไทยต่อไป”

“Thailand is Ready for the Challenges”
         คุณพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “ประเทศไทยมีความพร้อมปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อให้ทันต่อตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว รัฐบาลพร้อมสนับสนุนภาคเอกชนและประชาชนร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวข้ามผ่านความท้าทายและคว้าโอกาสใหม่ ๆ รัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมในเรื่อง Infrastructure เพื่อช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณอินเทอร์เน็ตมาตรฐานสูง การคมนาคมรถไฟรางคู่ที่เชื่อมโยงในประเทศ และรถไฟความเร็วสูงที่รองรับการขยายตัวในระดับภูมิภาคไปยังต่างประเทศ รวมไปถึงมาตรการภาษีและการเงินในรูปแบบดิจิทัลที่จะเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย “เวลาไม่รอใคร ต้องเปลี่ยนแปลง ทำเร็ว คิดเร็ว เพื่อไปให้ไกล เพราะประเทศไทยมีศักยภาพ” นักการตลาดเป็นเหมือนหัวใจและความหวังที่สำคัญของธุรกิจในการนำจุดแข็งของประเทศไทยที่มีไปต่อยอด รัฐบาลพร้อมสนับสนุนในการผลักดันให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จ”

นอกจากนี้ภายในสัมมนาเน้นเนื้อหาที่ครอบคลุมในทุกมิติโดยมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจไทยด้วยพลังการตลาดและนวัตกรรม กับ 9 หัวข้อสัมมนาเพื่อฉายภาพในธีม “THE NEXT MARKETING BATTLE จัดทัพฝ่าสมรภูมิการตลาดยุคใหม่”

Service Warfare: Winning the Tourism, Care & Wellness Economy through Sustainable Innovation พลิกโฉมวงการท่องเที่ยวและสุขภาพด้วยนวัตกรรมความยั่งยืน

การเสวนาในหัวข้อนี้ ได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และประธานผู้บริหารอาวุโส กลุ่ม1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มโรงแรมสุโกศล และประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านท่องเที่ยว และดำเนินรายการโดย ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย Executive Chairman, INTAGE (Thailand)
หัวใจสำคัญของการเสวนานี้อยู่ที่การนำแนวคิด SATI มาใช้เป็นกรอบในการพลิกโฉมวงการท่องเที่ยวและสุขภาพด้วยนวัตกรรมที่ยั่งยืน ดังนี้

  • Sustainable System – ระบบที่ยั่งยืน
  • Adaptive Leadership – ภาวะผู้นำที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
  • Technology Utilization – การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
  • Inclusive Growth – การเติบโตอย่างมีส่วนร่วม

คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านท่องเที่ยว และรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มโรงแรมในเครือสุโกศล กล่าวถึงความสำคัญของความยั่งยืนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม โดยชี้ว่า หลังจากวิกฤตโควิด-19 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการโรงแรมทั่วโลกให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจแบบยั่งยืนของภาครัฐหลายประเทศ “การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมจากภายในองค์กรถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืน” คุณมาริสาเน้นย้ำถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเพื่อลดต้นทุนโดยไม่ลดคุณค่าและความรู้สึกของผู้ใช้บริการ พร้อมนำเสนอกรอบ SATI ในแบบ Sukosol ซึ่งประกอบด้วย

  • S – Profitable, Professional, Competitive
  • A – Vision & Value, Demand Driven
  • T – Guest Centric, Drive Revenue, Cost Effective
  • I – Authentic, Brand Experience, Go Beyond

แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และประธานผู้บริหารอาวุโส กลุ่ม1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลในด้านการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม โดยมุ่งเน้นไปที่ Wellness ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการป้องกันโรค แต่ยังหมายถึงการสร้างสุขภาพที่ดีในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม หรือจิตวิญญาณ เพื่อให้บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดี การดูแลสุขภาพแบบ Wellness จึงเป็นมากกว่าการรักษาโรค แต่เป็นการสร้างวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในระยะยาว การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในองค์กร การเปิดโอกาสและอนุญาตให้บุคคลากรได้เข้าใจว่าสามารถทำเรื่องที่ผิดพลาดได้เพื่อพัฒนาและเรียนรู้ จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังให้เกิดความภูมิใจ และความตระหนักรู้ที่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้องค์กรมีความยั่งยืน

ฟันธงเทรนด์การตลาด 2025
          ดร.สมชาติ วิศิษฐชัยชาญ อุปนายกฝ่ายองค์ความรู้ด้านการตลาดฯ และผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อุปนายกฝ่ายกิจกรรม การสื่อสารและการตลาดยั่งยืน สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ร่วมรายงานผลสำรวจ “เทรนด์การตลาด 2025: Way Forward” ซึ่งสะท้อนมุมมองและแนวโน้มสำคัญในแวดวงการตลาดไทยปี 2025 โดยรวบรวมข้อมูลจาก MAT CMO COUNCIL เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงในองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยการตลาดจำนวน 111 ท่าน โดยวิเคราะห์จากกรอบ 3 คำสำคัญ WHAT HOW และ WHAT NEXT เพื่อช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในอนาคต

WHAT: ภาพรวมเศรษฐกิจและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตลาดไทยในปี 2025

จากผลสำรวจพบว่า 55% ของผู้บริหารมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะไม่เติบโต และโดยรวมผู้บริหารระดับสูงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเจริญเติบโตเพียง 1.65% ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงผันผวน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในภาพรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตลาดไทยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  • สภาพเศรษฐกิจโลก: ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
  • เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI: การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน
  • ความต้องการของผู้บริโภค: พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญกับสุขภาพ คุณภาพชีวิต และความยั่งยืนมากขึ้น

ผู้บริหารมองว่า 3 เทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในปี 2568 ที่ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโตมีดังนี้
1. สุขภาพ: ผู้บริโภคหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจ
2. เทคโนโลยีดิจิทัล: ผู้บริโภคมองหาโดยมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะต้องมีความทันสมัย
3. คุณภาพของสินค้าและบริการ: ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูงมีมาตรฐาน และมีความน่าเชื่อถือ

HOW: เราจะจัดการงบและทรัพยากรการตลาดอย่างไร

นอกจากนี้ผู้บริหารถึง 77.6% เห็นว่าปีนี้จะไม่เพิ่มงบประมาณการตลาดในปี 2025 และอีก 0.41% ที่มองว่างบการตลาดอาจลดลง

โดยจะมุ่งเน้นการใช้งบไปในด้าน Content Platform เป็นหลัก ควบคู่ไปกับ Commerce Platform ซึ่งสมาคมฯ เน้นย้ำว่าการใช้งบประมาณการตลาดต้องทำ Content และ Commerce ไปพร้อม ๆ กันเนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเสพ Content ไปพร้อม ๆ กับการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Commerce Platforms ต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึง Data Governance ที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

WHAT NEXT: ในปี 2568 อะไรที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ส่วนเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอนาคตที่น่าลงทุนมีตามลำดับดังนี้
1. AI (ปัญญาประดิษฐ์): AI จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ช่วยในการตัดสินใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน หรือการผลิต
2. IoT (Internet of Things): อุปกรณ์ต่าง ๆ จะเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้
3. Biotechnology: เทคโนโลยีชีวภาพจะถูกนำมาใช้ในการพัฒนายาใหม่ ๆ การผลิตอาหาร และการเกษตร ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพและความมั่นคงทางอาหาร

และอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจจากการสำรวจคือความสำคัญของ 3P สิ่งที่นักการตลาดและผู้บริหารให้ความสำคัญขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในปี 2025 คือ “Profit” หรือผลกำไร รองลงมาคือ “People” สังคม ชุมชน และลูกค้า ซึ่งลดลงมาจากอันดับ 1 เมื่อปีก่อน และสุดท้ายคือ “Planet” สิ่งแวดล้อม

3 อุตสาหกรรมสำคัญที่ผู้บริหารคาดการณ์ว่าจะกลายเป็น New S-Curve ของประเทศไทย ได้แก่
1. Health and Wellness: การให้ความสำคัญกับสุขภาพจะทำให้เกิดโอกาสทางการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น อาหารเสริม เครื่องมือแพทย์ และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
2. Quality Tourism: การตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน จะสร้างโอกาสทางการตลาดในด้านการท่องเที่ยวอย่างมากโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
3. Agri and Biotech: การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในภาคการเกษตรจะช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งจะสร้างโอกาสทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ด้วยจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติและองค์ความรู้ที่ประเทศไทยมีอยู่ การพัฒนาและต่อยอดในทั้งสามอุตสาหกรรมนี้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงบวก ยกระดับสินค้าและบริการของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเสริมสร้างเศรษฐกิจในประเทศ

และสำหรับหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในปี 2025 สมาคมฯ ได้สรุปคาถาการตลาดออกมาในแนวคิด “ABCD” ประกอบด้วย
AI: ใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI ยกระดับ Customer Experience ผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์และ Personalized Marketing สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าและคู่ค้า
Balance: ช้า-เร็ว ระวังหลัง สร้างสมดุลระหว่างความรวดเร็วและความรอบคอบในการดำเนินกลยุทธ์และลงทุนกับการจัดการความเสี่ยง ทั้งนี้ต้องเร็วและอยู่บนความเข้าใจผู้บริโภคอย่างแท้จริง
Clear: ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ วางแผนการใช้งบการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หว่าน
Data: ชิงชัยด้วยข้อมูล เก็บ วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างความผูกพันทางอารมณ์และความรู้สึกกับลูกค้า เพื่อที่ลูกค้าจะได้รู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจเขาอย่างแท้จริง

ปีนี้จะเป็น “Year of the Jumping Snake” หรือ “ปีงูกระโดด” การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและพลิกเกมจะเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในโลกการตลาด
อย่างไรก็ตาม สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยย้ำว่าการตลาดในปี 2025 นั้นไม่ง่าย เพราะต้องการทั้งความยืดหยุ่น ความพร้อมรับมือ ความชัดเจน การปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่ระมัดระวัง เพื่อสร้างความได้เปรียบในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง และธุรกิจที่สามารถผสาน 3P เข้าด้วยกันอย่างสมดุลจึงจะมีโอกาสอยู่รอดและเติบโต

 

How to Conquer the Mega Businesses Battlefield
ตามด้วยการเสวนาที่สำคัญจาก 4 เสาหลักทางเศรษฐกิจและการตลาดที่สำคัญ นำโดย คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณธวัชชัย ชีวานนท์ ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และ ประธานผู้บริหาร Product & Business Solutions ธนาคารกรุงไทย และ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย พร้อมทั้ง คุณณัฏฐา โกมลวาทิน ผอ.ฝ่ายข่าว The Standard ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

คุณสนั่น อังอุบลกุล กล่าวว่า “โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน อีกทั้งประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสงครามทางการค้า เราต้องแก้ไขปัญหานี้โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ และปราบปรามคอร์รัปชัน นอกจากนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดี”

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปรับตัวของประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) โดยชี้ให้เห็นว่า “การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์และแข็งแกร่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และยังเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึงการออกแบบและวางตำแหน่งแบรนด์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนา ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพซึ่งเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การพัฒนานวัตกรรมในด้านนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างรายได้ แต่ยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในยุคที่ตลาดโลกให้ความสำคัญกับความยั่งยืน การปรับตัวสู่ เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Net Zero) เป็นสิ่งจำเป็น ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งความต้องการของตลาดและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้คือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้วยการเสริมสร้างทักษะความรู้และความสามารถที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ส่วนคุณธวัชชัย ชีวานนท์ ได้ชี้ว่า “ปัญหาหลักที่ผู้ประกอบการขนาดกลางในประเทศไทยกำลังเผชิญ นั่นคือ ความไม่พร้อมในการปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และความสามารถในการรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่ไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่เป็นแนวทางที่โลกกำลังมุ่งหน้าไป การปรับตัวในครั้งนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การจัดการทรัพยากร และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการต้องตระหนักว่า การปรับตัวล่าช้าอาจทำให้เสียเปรียบในตลาดโลกและส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในอนาคต

เทคโนโลยี AI คืออีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค AI ช่วยให้เราพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ตลาดได้อย่างแม่นยำ”

ปิดท้ายด้วยดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ที่ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อธุรกิจไทยในปัจจุบัน “การแข่งขันระหว่างสองมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งก่อให้เกิดความผันผวนต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงธุรกิจในทุกระดับ ในยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประสบการณ์และความยั่งยืนมากกว่าการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้แบรนด์เล็กในประเทศไทยสามารถเข้าถึงตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเติบโตในระดับที่ใหญ่ขึ้นยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการแข่งขันในระดับสากล หน่วยงานภาครัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจ เช่น การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ การสนับสนุนทางการเงิน และการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ”
ดร.บุรณิน ได้เปรียบเทียบว่า “การทำธุรกิจในเหมือนการทำสงคราม ไม่จำเป็นต้องมีผู้แพ้หรือผู้ชนะเพียงฝ่ายเดียว ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้หากรู้จักวางกลยุทธ์อย่างเหมาะสม เราต้องเลือกตลาดที่เราถนัด ใช้จุดแข็งของเราให้เป็นประโยชน์ และเข้าใจลูกค้าของเราให้ดี นอกจากนี้ การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและการทำงานร่วมกันเป็นทีมก็สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้”

ยุทธวิธีกู้วิกฤต: ปรับทัพ Retail สู้ศึกตัดราคายุค Online-Offline Blur
ในยุคที่เส้นแบ่งช่องทางการขายแบบออนไลน์และออฟไลน์เริ่มเลือนหาย การแข่งขันในตลาดค้าปลีกก็ทวีความรุนแรงขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่างและแข่งขันได้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเสวนาในหัวข้อ “ปรับทัพ Retail สู้ศึกตัดราคายุค Online-Offline Blur” ได้หยิบยกประเด็นสำคัญนี้มาวิเคราะห์ โดยมีคุณวีรธรรม เสถียรธรรมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด คุณกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และดำเนินรายการโดย คุณบังอร สุวรรณมงคล CEO & Founder Hummingbirds Consulting

คุณวีรธรรม เสถียรธรรมะ เริ่มต้นด้วยการแบ่งปันแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการสร้างความแตกต่างในตลาดค้าปลีก โดยมองว่า ความผิดพลาดในอดีตเป็นโอกาสเรียนรู้ ที่ช่วยเปิดมุมมองใหม่ให้เห็นช่องว่างในตลาดที่สามารถพัฒนาเป็นจุดแข็งได้ “การค้นหาสินค้าหรือบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง โดยคำนึงถึงประสบการณ์ของลูกค้าและคุณค่าที่สินค้ามอบให้ คือหัวใจของความสำเร็จในยุคนี้” โดย CJ More มุ่งเน้นการสร้างมาตรฐานสินค้าที่ดีและตั้งราคาที่สามารถแข่งขันได้ทำให้สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ แม้ธุรกิจของ CJ More จะเน้นการดำเนินงานในช่องทางออฟไลน์ แต่การเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างลึกซึ้งผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยวางกลยุทธ์การตลาดที่ตรงเป้าหมาย และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถปรับตัวและเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคที่โลกออนไลน์และออฟไลน์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว

ในอีกมุมหนึ่ง คุณกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ เน้นไปที่ Live Commerce ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย โดยมีผู้ประกอบการกว่า 9 ล้านรายเข้ามาใช้ประโยชน์จากช่องทางนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย แบรนด์ดัง หรืออินฟลูเอนเซอร์ ทุกกลุ่มต่างมองเห็นศักยภาพของ Live Commerce ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและเพิ่มยอดขายได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอินฟลูเอนเซอร์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและบริการ เพราะผู้ชมมักจะตัดสินใจซื้อตามคำแนะนำของคนที่ตนเองชื่นชอบ
ผู้ประกอบการไทยต้องมีความพร้อมและปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและ e-commerce หรือหาพันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถช่วยสนับสนุนด้านการตลาด การขาย หรือการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข้มแข็ง

ทางรอดของธุรกิจนอกจาก Sustainable แล้วต้อง Regenerative
หัวข้อการเสวนา “Survival Mandate: Regenerative Marketing as the Only Path Forward ทางรอดของธุรกิจนอกจาก Sustainable แล้วต้อง Regenerative” มุ่งเน้นแนวคิดการตลาดเชิงฟื้นฟู (Regenerative Marketing) ซึ่งเป็นมากกว่าความยั่งยืน (Sustainability) โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง นำโดย ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) คุณวชิระชัย คูนำวัฒนา Net Zero Accelerator Director บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อุปนายกฝ่ายกิจกรรม การสื่อสาร และการตลาดยั่งยืน สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ อธิบายว่า “แนวคิด Regenerative คือการฟื้นฟูและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิมโดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้มุ่งเพียงแค่ลดผลกระทบเชิงลบแต่ยังเน้นการสร้างผลกระทบเชิงบวก สำหรับธุรกิจ เราให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอนในทุกมิติ เช่น การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานสะอาดรวมถึงการสร้างชุมชนที่สนับสนุนการแบ่งปันทรัพยากร โดยแทนที่จะทิ้งวัสดุเหลือใช้ เราสามารถนำมาแลกเปลี่ยนหรือรีไซเคิลเพื่อใช้งานใหม่ได้ เป้าหมายสำคัญ คือการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างสังคมที่ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งผลักดันการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว”

คุณวชิระชัย คูนำวัฒนา กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้การทำธุรกิจที่ยั่งยืนเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากโลกกำลังเปลี่ยนแปลง กฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนกำลังเข้ามา เช่น การติดป้ายคาร์บอน (carbon tag) หรือกลไกปรับคาร์บอนชายแดน (CBAM) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง การทำ Regenerative Marketing ไม่เพียงแต่ต้องหลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ยังต้องช่วยฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาดีขึ้น เช่น การปลูกป่าและการลดขยะ การทำธุรกิจในลักษณะนี้เป็นการลงทุนระยะยาวที่ช่วยรักษาโลกเพื่อให้ลูกหลานของเรามีโลกที่ดี แนวคิด Regenerative นี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาชน การแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลตลอดกระบวนการจะช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ซอฟต์พาวเวอร์แบบใด…พาไทยบุกตลาดโลก
การเสวนาในหัวข้อ “Creative Nation: Thai Entertainment – Soft Power that Makes Thailand in Focus: ซอฟต์พาวเวอร์แบบใด…พาไทยบุกตลาดโลก” ได้สะท้อนมุมมองจากธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ที่ถือว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันไทยเข้าสู่ตลาดโลก โดยการเสวนามีผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ คุณภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) คุณรณัสถ์ ศรีรุ่งเรืองเดชา Head of Marketing, Netflix Thailand โดยมีคุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย เลขาธิการสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และรองกรรมการผู้อำนวยการ สำนักกิจการและสื่อสารองค์กร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินรายการ

คุณภาวิต จิตรกร กล่าวว่า “อุตสาหกรรมบันเทิงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ดิจิทัลสตรีมมิ่งกลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น YouTube Spotify และ Apple Music การสมัครสมาชิกและการโฆษณามีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสหารายได้ใหม่ แม้ว่าอุตสาหกรรมเพลงจะเติบโต แต่การแข่งขันก็มีความรุนแรงมาก การปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ และการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเพลงประสบความสำเร็จ

การส่งเสริมอุตสาหกรรมเพลงและความบันเทิงเพื่อเป็น Soft Power ของประเทศควรคำนึงถึงบุคคลเบื้องหลังที่สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ ซึ่งเกิดจากการลงทุนและความพยายามอย่างต่อเนื่องของทีมงานเบื้องหลัง รัฐบาลควรให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง ไม่เพียงแค่การลดหย่อนภาษี แต่ควรสร้างโอกาสให้บุคลากรในวงการได้พัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศในระดับสากล

Core value หรือแก่นแท้ของธุรกิจเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจแตกต่างและยั่งยืน การเข้าใจและยึดมั่นใน core value จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง ธุรกิจเหมือนพระอาทิตย์ที่มีช่วงเวลารุ่งเรืองและตกต่ำ การหาโอกาสใหม่ ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด”

คุณรณัสถ์ ศรีรุ่งเรืองเดชา จาก Netflix กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคคอนเทนต์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยผู้ชมต้องการความยืดหยุ่นในการรับชมมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยสามารถใช้พัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงให้ก้าวหน้ามากขึ้น Netflix จึงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่หลากหลาย ทั้งในแง่ภาษาและรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชมทั่วโลก

“เราให้ความสำคัญกับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างละเอียด เพื่อที่จะสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจผู้ชมและมอบประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด ประเทศไทยมีซอฟต์พาวเวอร์ที่มีมาตั้งแต่เดิม และ Netflix ได้ใช้จุดแข็งนี้ในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่สายตาชาวโลกผ่านแพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่ายและมีคุณภาพ ในด้านการเปลี่ยนแปลงหรือ disruption ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ”

“ไม่เจ๋งก็เจ๊ง” วัดใจแม่ทัพคนรุ่นใหม่ ปั้นแบรนด์ยังให้ปัง
เสวนาในหัวข้อ “Victory or Death” : Motto of Modern Entrepreneurial Generals “ไม่เจ๋งก็เจ๊ง” วัดใจแม่ทัพคนรุ่นใหม่ ปั้นแบรนด์ยังให้ปัง” เปิดมุมมองใหม่ในเรื่องของการสร้างแบรนด์และการตัดสินใจในภาวะการแข่งขันที่สูง โดยเน้นการแสดงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการเติบโตธุรกิจในยุคที่เต็มไปด้วยความท้าทายนำเสนอโดยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ ได้แก่ คุณกัญญฉัชณ์ เลิศธนไพบูลย์ Founder and CEO ของแบรนด์ Her Hyness คุณทนงค์ศักดิ์ แซ่เอี้ยว Founder & CEO ของแบรนด์ Yuedpao (ยืดเปล่า) คุณธัญย์ณภัคช์ ศิริประกาเจริญ Founder & CEO ของแบรนด์ Karun และดำเนินการเสวนาโดย คุณเมธี จารุมณีโรจน์ Asia Marketing Director, Croda Co., Ltd.

คุณกัญญฉัชณ์ เลิศธนไพบูลย์ แชร์ประสบการณ์ที่ทำให้แบรนด์ Her Hyness ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน โดยเน้นการเข้าใจอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากประสบการณ์จริง ทำให้เห็นโอกาสในการพัฒนาแบรนด์ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มเฉพาะได้ดีกว่าแบรนด์ใหญ่ ๆ

จุดเริ่มต้นของแบรนด์คือการตั้งเป้าหมายในการสร้างสกินแคร์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งไม่เพียงแต่ดูแลผิวพรรณของลูกค้าแต่ยังมอบความรู้สึกที่ดีและมีบรรจุภัณฑ์หรูหรา เพื่อสร้างความพึงพอใจและความผูกพันกับลูกค้าในระยะยาว คุณกัญญฉัชณ์เชื่อว่า การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าคือกุญแจสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืนของแบรนด์

นอกจากนี้การพัฒนาศักยภาพของพนักงานและการปรับปรุงระบบภายในองค์กรยังเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่มีธุรกิจใดที่จะประสบความสำเร็จได้โดยไม่พัฒนา การทำธุรกิจก็เหมือนการเดินทางผจญภัยที่ต้องเรียนรู้และบริหารจัดการอารมณ์ ความคิด การแข่งขันที่แท้จริงคือการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกวัน

คุณทนงค์ศักดิ์ แซ่เอี้ยว เจ้าของแบรนด์ “ยืดเปล่า” เล่าว่าเริ่มต้นธุรกิจจากการลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากเสียงของลูกค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายในการสร้างแบรนด์ที่เป็นมิตรและเข้าถึงง่ายซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทุกคน การสื่อสารที่สร้างสรรค์และแตกต่างเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์เป็นที่จดจำในใจลูกค้า

เมื่อธุรกิจเริ่มขยายตัว การวางแผนระบบการทำงานให้มีระเบียบและการค้นหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้ การเรียนรู้จากความผิดพลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง การเริ่มต้นธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำมากทำให้ต้องเรียนรู้ทุกอย่างและควบคุมต้นทุนอย่างรอบคอบ โดยการทำงานอย่างอดทนและต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

ปิดท้ายด้วย คุณธัญย์ณภัคช์ ศิริประกาเจริญ เจ้าของแบนด์ Karun ที่ร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า “ธุรกิจของเราเกิดจากความตั้งใจที่จะสืบทอดสูตรชาไทยลับเฉพาะจากคุณแม่ วัตถุดิบคุณภาพสูงและกรรมวิธีการผลิตที่พิถีพิถันทำให้ชาไทยของเรามีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ เราเล็งเห็นถึงช่องว่างในตลาด และต้องการสร้างสรรค์ชาของเราให้เป็นมากกว่าแค่เครื่องดื่ม ดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน
ในยุคที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย รสชาติที่อร่อยเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เราจำเป็นต้องสร้าง “ประสบการณ์” ที่น่าจดจำให้กับลูกค้า ตั้งแต่บรรยากาศร้าน การออกแบบแก้ว การเลือกใช้สี ไปจนถึงการเลือกเพลงประกอบร้าน ทุกอย่างล้วนส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์และความรู้สึกของลูกค้า การวางแผนธุรกิจที่ครอบคลุมจะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะเราจะรู้ว่าต้องการอะไรและจะไปในทิศทางใดความสำเร็จไม่ใช่เรื่องของโชคช่วย แต่เป็นผลมาจากการวางแผนและการลงมือทำ สิ่งที่คิดว่าเป็นเวทมนตร์ที่ทำให้เราประสบความสำเร็จคือการค้นคว้าวิจัย ความสำเร็จที่ยั่งยืนเกิดจากการลงทุนในความรู้”

ทั้งหมดนี้คือเนื้อหาสำคัญจากงาน “THAILAND MARKETING DAY 2025 – THE NEXT MARKETING BATTLE” สุดยอดฟอรั่มการตลาดแห่งปีซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักการตลาดและผู้ประกอบการฝ่าวิกฤตในยุคการแข่งขันสูง พฤติกรรมผู้บริโภค และสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน และรับมือทุกความท้าทายในปี 2025


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
คุณจิราภรณ์ พึ่งสัตย์
รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด – กิจกรรมและการสื่อสาร
โทร. 099-242-5244

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

เผย 4 สมการกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

2.6k
SHARE

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยร่วมกับ Accenture Song ประเทศไทย จัด Exclusive Forum “1+1 > 2 Unleashing Local Potential to Global Stage” เผยเทรนด์โลกในด้านเทคโนโลยีและความยั่งยืน กลยุทธ์ที่จะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการบุกตลาดโลกกับนักธุรกิจไทยที่ดังระดับอินเตอร์

     ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) กล่าวเปิดงานว่า “ในยุคที่การแข่งขันทวีความเข้มข้นเช่นนี้ ภารกิจสำคัญของสมาคมการตลาดคือการเสริมพลังนักธุรกิจ ผู้ประกอบการและนักการตลาดไทยพร้อมก้าวสู่เวทีระดับภูมิภาคและเวทีโลกด้วยความมั่นใจ   โดยเชื่อว่า Cognitive Marketing จะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน โดยนำ AI และการจัดการข้อมูลมาตีความพฤติกรรม

ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและหลากมิติ เราต้องพร้อมร่วมมือกัน เชื่อมโยงข้อมูล และสร้างระบบนิเวศทางการตลาดที่ชาญฉลาด ถึงแม้ปีหน้าจะมีความท้าทายในหลายมิติ แต่หากมองศักยภาพของนักธุรกิจ

ผู้ประกอบการไทยและโอกาสที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าการทำเพียงลำพัง ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงเทคโนโลยี การบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ และความคิดสร้างสรรค์ และการปรับตัวอย่างรวดเร็วทั้งหมดนี้คือกุญแจสำคัญที่จะนำธุรกิจไทยก้าวไปสู่เวทีระดับโลก”

นอกจากนี้ ในฟอรั่มยังมีผู้บริหารด้านการตลาดและนักธุรกิจแบรนด์ชั้นนำมาเผย 4 สมการกลยุทธ์ที่นำพาองค์กรยุคใหม่ไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในเวทีสากล อย่างน่าสนใจ ดังนี้

     สมการที่ 1: Technology + Creative > Marketing

     Mr. Anthony Wong, APAC Marketing Advisory Lead at Accenture Song กล่าวถึงการผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับเทคโนโลยีว่า “เราเชื่อว่าเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์เป็นพาร์ตเนอร์ที่ดีที่สุด CMO ต้องเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ โดยดึงความร่วมมือจากส่วนงานต่าง ๆ ในองค์กร และใช้พลังของ Gen AI ในการพัฒนาเนื้อหา ประสบการณ์ของลูกค้า และวิเคราะห์ข้อมูล CMO จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตัดสินใจได้อย่างรอบรู้มากขึ้น อนาคตของการตลาดอยู่ ที่แนวทางความร่วมมือระหว่างมนุษย์และ AI โดยที่ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีทำงานร่วมกันได้อย่างยอดเยี่ยม”

     สมการที่ 2: People + Planet > Sustainable Growth

     คุณปิยะชาติ อิศรภักดี คณะกรรมการอำนวยการ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ แชร์มุมมองไว้ว่า“ผู้บริหารระดับสูงต้องมองข้ามการเติบโตแบบเดิม ๆ และหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ CMO ในปัจจุบันต้องเป็นทั้งผู้สร้างแบรนด์และผู้เชื่อมโยงระหว่างความต้องการขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม การปรับตัว การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม แม้ว่าในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีจะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ หรือเร่งขีดความสามารถให้กับการเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างไรก็ดี AI ต้องเติบโตไปพร้อมกันทั้ง Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์) และ Authentic Intelligence (ปัญญาแท้จริง)”

     สมการที่ 3: Passion + Devotion > Specialty  

     คุณธงธรรม เวชยชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเบอร์รี่ ไทย จํากัด ผู้บริหารแบรนด์ Pacamara Coffee Roasters ได้ถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ไว้ว่า “เราทำธุรกิจร้านกาแฟพิเศษ การที่สินค้าและบริการของเรากลายเป็นสิ่งพิเศษ เริ่มต้นจากการมี Passion (ความหลงใหล) ผสมผสานกับ devotion (ความใส่ใจและพิถีพิถัน)

ความหลงใหลเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่จุดประกายความสร้างสรรค์ และอยากลงมือทำ ส่วนความใส่ใจและความพิถีพิถัน เป็นสิ่งที่สร้างความละเอียดถี่ถ้วนในทุกมิติ และทุกกระบวนการ ไม่สำคัญว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงใด เราจะไม่มองข้ามไป เพื่อให้คุณภาพของสินค้าและบริการ ที่เราเสนอให้ผู้บริโภคออกมาดีที่สุด พร้อมกับทำให้แบรนด์เติบโตได้อย่างยั่งยืน”

     สมการที่ 4: Data + Action > International Growth

     คุณกัญญฉัชฌ์ เลิศธนไพบูลย์ Founder and CEO ของ Her Hyness บิวตี้แบรนด์ไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งออฟไลน์และออนไลน์ในไทยและตลาดเอเชีย คุณธีระพงศ์ ระบือธรรม เจ้าของแบรนด์และผู้สร้างปรากฏการณ์ยาดมหงส์ไทยที่ดังไกลทั่วโลก คุณกล้า ตั้งสุวรรณ CEO, Wisesight ที่มาพร้อมมุมมองการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และคุณสุนาถ ธนสารอักษร Managing Director, Accenture Song ได้แบ่งปันมุมมองไว้อย่างน่าสนใจ ทั้งแบรนด์ Her Hyness และหงส์ไทยมีมุมมองที่คล้ายกันโดยเริ่มต้นที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ผ่านการลองผิดลองถูกจนได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในราคาที่จับต้องได้ ไม่เน้นการทำสงครามราคาซึ่งเป็นการทำลายภาพรวมตลาด ให้ความสำคัญของคุณภาพมากกว่าปริมาณและพร้อมให้บริการที่ดีที่สุด ข้อมูลคือสิ่งสำคัญมากเพราะการสร้างแบรนด์จากพื้นฐานความเข้าใจตลาด

ทั้งนี้แบรนด์ Her Hyness ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งทางด้านยอดขายของแบรนด์ความงามทั้งในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ในวันชอปแห่งชาติ 11.11 ที่ผ่านมา และเป็นแบรนด์สกินแคร์ยอดขายอันดับ 1 ในบิวตี้สโตร์ชั้นนำมากมายในปี 2024 ส่วนแบรนด์หงส์ไทยมีลูกค้ากว่า 7 ล้านคน และขายได้ 40-50 ล้านชิ้นต่อปี โดยใน 2 ปีที่ผ่านมา ขายทะลุถึง 100 ล้านขวด ตัวแทนจำหน่ายบางรายสั่งสินค้าสัปดาห์ละ 3,500 โหล โดยทั้ง 2 แบรนด์ใช้งบการตลาดน้อยมากเมื่อเทียบกับยอดขาย แต่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งลูกค้าและคู่ค้า สอดคล้องกับข้อมูล Social Listening จากทางบริษัท Wisesight ที่แสดงให้

เห็นถึง Brand Engagement ระดับสูงในโลกโซเชียลมีเดีย นับว่าเป็นกรณีศึกษาของแบรนด์ไทยที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงที่ร่วมงาน MAT CMO Council Forum ในการนำไปปรับใช้กับองค์กรของตนเอง

     คุณสุนาถ ธนสารอักษร Managing Director, Accenture Song ได้กล่าวสรุปถึง การนำเทคโนโลยีมาผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจว่า ”ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคเพื่อก้าวไปสู่การเติบโต จากงานแรกที่ Accenture จัดร่วมกับสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า การใช้ข้อมูลเชิงลึกช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาตัวเองให้ทันกับความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจสามารถสร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละราย โดยในช่วงเวลาที่มีข้อจำกัดจากตลาดและสภาพแวดล้อมของโลกเป็นปัจจัย ทำให้ CMO และนักการตลาดต้องเริ่มคิดการตลาดใหม่ (Marketing Reinvention) เพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคอย่างเท่าทัน วัดผลได้ มีโครงสร้างการดำเนินงานและต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ (Operating Model) ไปจนถึงการนำความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึง Generative AI มาร่วมกันการเอาชนะความท้าทายเหล่านี้อย่างเท่าทันและยั่งยืน”


โครงการ MAT CMO COUNCIL ของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการสร้างภาคีเครือข่ายผู้บริหารระดับสูงทางด้านการตลาดจากหลากหลายองค์กรและแบรนด์ชั้นนำที่ใช้การตลาดเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจจากกว่า 100 องค์กรทั่วประเทศ เพื่อผลักดันให้วงการการตลาดของประเทศไทยพัฒนารุดหน้ายิ่งขึ้นไปผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านการตลาดและธุรกิจร่วมกับคณะกรรมการของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภายนอก

Accenture Song คือหนึ่งในหน่วยธุรกิจหลักของที่ปรึกษาธุรกิจระดับโลก Accenture โดยมุ่งเน้นการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจผ่านประสบการณ์ผู้บริโภค (Customer Experience) โดยผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเพื่อให้บริการแก่ธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ ในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design & Digital Products) การตลาด (Marketing) การพาณิชย์ (Commerce) และการบริการ (Service) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 Accenture Song ประเทศไทย ได้ควบรวม Rabbit’s Tale ครีเอทีฟเอเจนซีชั้นนำสัญชาติไทย เข้ามาเติมเต็มความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย 
คุณอัญชลี ชัยชนะวิจิตร – ผู้อำนวยการบริหาร
[email protected] โทร 085-155-2314

สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับบริการของ Accenture Song เพิ่มเติมได้ที่
คุณเสาวลักษณ์ กิจล่ำลือกุล (คุณป้อ) Email: [email protected]

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT)
ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานคนที่2
ของสหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF)

2.6k
SHARE

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (Asia Marketing Federation – AMF) ได้แต่งตั้งทีมบริหารชุดใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2567-2569 ในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีผู้แทนจาก 18 ประเทศและเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย จากบังคลาเทศ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย มองโกเลีย เมียนมาร์ เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และ เวียดนาม


ดร.สมชาติ วิศิษฐชัยชาญ (ดร. แดน) อุปนายกและประธานฝ่ายพัฒนาการเรียนรู้และนวัตกรรมการตลาดของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT)
ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานคนที่สองของ สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย หรือ AMF การแต่งตั้งครั้งนี้ได้เน้นถึงบทบาทสำคัญของ MAT ในการยกระดับความเป็นเลิศด้านการตลาดและความเป็นผู้นำทางความคิดในภูมิภาค


ในที่ประชุมยังได้แต่งตั้ง มร.ซิน เหยา จากสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน (CCPIT) ให้ดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ฯ, มิสซานซาน หลี่ เป็นเลขาธิการ, และมร.โรเจอร์ หวาง นายกสมาคมการตลาดแห่งสิงคโปร์ (MIS) เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง สำหรับวาระปี พ.ศ. 2567-2569 (ค.ศ. 2024–2026)


ดร. แดน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดที่มีชื่อเสียง ครอบคลุมในหลายสาขา อาทิ การสร้างแบรนด์ นวัตกรรมการตลาด การบริหารจัดการองค์กร และการสื่อสาร ในการขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจผ่านกลยุทธ์และแนวทางการตลาดที่มีนวัตกรรมต่างๆ ภายในประเทศไทย

ดร. แดน เป็นวิทยากรที่ได้รับการตอบรับอย่างดีและได้เข้าร่วมในฟอรั่มและการอภิปรายทางธุรกิจระดับนานาชาติใน สิงคโปร์ ไต้หวัน บังกลาเทศ ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น โดยเน้นกลุ่มนักธุรกิจ ผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ในบทบาททั้งเป็นวิทยากรหลัก ผู้ร่วมบรรยายและผู้ร่วมปราฐกในหัวข้อการสร้างแบรนด์และนวัตกรรมการตลาด ตลอดจนการบรรยายทางวิชาการในมหาวิทยาลัยในประเทศต่าง ๆ อีกด้วย

การแต่งตั้งดร. แดน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ MAT ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการตลาดและการแลกเปลี่ยนความรู้ทั่วเอเชีย โดยดร. แดน ได้ทำงานใกล้ชิดกับอดีตประธาน AMF มร.ซาอิด เฟอร์ฮัต อันวาร์ และมีบทบาทสำคัญในฐานะหัวหน้ากองบรรณาธิการของวารสาร AMF Journal ซึ่งเป็นวารสารที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับนักการตลาด ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคดิจิทัล ความยั่งยืน และการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค



วารสาร 4th AMF Journal ประจำปี 2024
เป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นของสหพันธ์ในการเผยแพร่ความรู้ โดยมีบทความและการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญในเอเชีย สะท้อนถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคในด้านการตลาดสู่ระดับโลก เป็นเวทีสำหรับการนำเสนอแนวทางเชิงนวัตกรรมและการปฏิบัติธุรกิจที่ยั่งยืน พร้อมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างนักการตลาดมืออาชีพและนักวิชาการ

ดร. แดน ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล Asia Marketing Excellence Award (AMEA) และเป็นกรรมการตัดสินรางวัล Youth Women Netizen (YWN) ซึ่งทั้งสองเป็นโปรแกรมสำคัญของ AMF ที่มุ่งสนับสนุนความสำเร็จด้านการตลาด เป็นรางวัลไม่เพียงยกย่องผู้บุกเบิก แต่ยังช่วยยกระดับมาตรฐานของวงการโดยส่งเสริมกลยุทธ์การตลาดที่ยั่งยืนและเน้นประโยชน์ของผู้บริโภค

รางวัล AMEA ประจำปี 2024 ได้ยกย่องแนวปฏิบัติด้านการตลาดที่ล้ำสมัย โดยกลุ่มโรงพยาบาลพญาไท-เปาโลได้รับรางวัล “Marketing Company of the Year” จากการผสานนวัตกรรมเน้นด้านการดูแลสุขภาพเข้ากับกลยุทธ์การตลาดที่สร้างสรรค์ เพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ยังได้รับรางวัล “Best Marketing 3.0 of the Year” สะท้อนความเชี่ยวชาญในกลยุทธ์การตลาดที่เน้นมนุษย์และสังคมเป็นศูนย์กลาง ซึ่งรวมถึงการเข้าใจความต้องการของลูกค้า ส่งเสริมเนื้อหาทางธุรกิจและการตลาดที่มีคุณค่า สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับชุมชนและผู้บริโภค และการบริหารจัดการช่องทางการตลาดแบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่รางวัล YWN ให้เกียรติผู้นำที่ประสบความสำเร็จของนักการตลาดกลุ่มเยาวชน ผู้หญิง และนักการตลาดยุคดิจิทัล เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่และแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการตลาดที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

การยกระดับการยอมรับ ความร่วมมือ และการพัฒนาทักษะ

การสร้างการยอมรับและสร้างเครือข่ายที่ AMF ส่งเสริม มีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน รวมทั้งการยกย่องความเป็นเลิศด้านการตลาดผ่านการมอบรางวัล การจัดการประชุมและเวิร์กชอปที่นำผู้เชี่ยวชาญมารวมตัวกัน กิจกรรมเหล่านี้สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดและกระตุ้นให้บุคคลากรและธุรกิจสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น

นอกจากการส่งเสริมความร่วมมือแล้ว AMF ยังเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้วยโปรแกรมการฝึกอบรม โปรแกรมรับรองมาตรฐาน และการสร้างความเป็นผู้นำทางความคิด สหพันธ์มุ่งหวังที่จะพัฒนานักการตลาดรุ่นใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาทักษะที่ช่วยให้สามารถรับมือกับความท้าทายในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้วงการการตลาดยังคงมีความยืดหยุ่นและก้าวหน้า

ที่สำคัญ AMF ยังเน้นย้ำถึงบทบาทที่เพิ่มขึ้นของเอเชียในตลาดโลก ในฐานะภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เอเชียมีบทบาทสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดระดับโลก AMF ช่วยขยายเสียงและสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาคในเวทีสากล เพิ่มอิทธิพลและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

การขับเคลื่อนนวัตกรรมการตลาดทั่วเอเชีย

บทบาทของดร. แดนในโปรแกรมสำคัญของ AMF สอดคล้องกับพันธกิจของสหพันธ์ในการยกระดับมาตรฐานการตลาด และพัฒนาศักยภาพนักการตลาดทั่วเอเชีย ด้วยการเชื่อมโยงสมาคมการตลาดของประเทศสมาชิก สนับสนุนให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เสริมสร้างความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ รวมทั้งการเพิ่มความแข็งแกร่งของเอเชียบนเวทีโลก ผลงานของดร. แดนสะท้อนถึงความมุ่งมั่นนี้ ไม่เพียงแต่ผ่านโปรแกรมรางวัลต่างๆ แต่ยังรวมถึงความพยายามในการเผยแพร่ความรู้ เช่น วารสาร AMF Journal ที่เขามีบทบาทสำคัญ

ด้วยปณิธานอันมั่นคงต่อวิชาชีพทางการตลาดประเทศไทยและภูมิภาคในเอเชีย ดร. แดน มุ่งมั่นที่จะยกระดับการปฏิบัติด้านการตลาดในทวีปเอเชียให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก วิสัยทัศน์ของเขายืนยันว่า “โลกในปัจจุบันควรเรียนรู้และเรียนรู้ใหม่เกี่ยวกับแนวทางการตลาดที่ดีที่สุด และต้องริเริ่มการสร้างแบรนด์จากเอเชีย ตรงกันข้ามเหมือนกับที่เคยเป็นมาในอดีต”

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
กล่าวเน้นว่า “ความแข็งแกร่งของ MAT ในสหพันธ์การตลาดแห่งเอเชียเป็นที่ยอมรับ การได้รับการแต่งตั้ง ให้ ดร. แดน ขึ้นเป็นรองประธานคนที่สองของสหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย แสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะขยายความพยายามด้านการตลาดระดับภูมิภาคและให้มีการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมต่อไป ในขณะที่เอเชียยังมีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดอนาคตของการตลาด ดังนั้น AMF และ MAT จึงยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวจักรที่สำคัญเช่นกันในการพัฒนาอุตสาหกรรมผ่านความร่วมมือ การยอมรับ และความเป็นผู้นำทางความคิด”

เกี่ยวกับสหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF):
สมาพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF) www.asiamarketingfederation.org/ เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2534 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดระหว่างประเทศสมาชิก AMF ประกอบด้วยสมาคมและหน่วยงานด้านการตลาดระดับชาติ 18 แห่งจากเอเชีย มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยการส่งเสริมความร่วมมือและการแบ่งปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด

เกี่ยวกับสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT):
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) www.asiamarketingfederation.org/ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์และมีนโยบายหลักในการเป็น “Marketing Accelerator” ที่จะผลักดันให้การตลาดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการตลาดให้ทัดเทียมระดับสากลในทุก ๆ กลุ่ม ตั้งแต่นักธุรกิจ นักการตลาด ผู้ประกอบการ ตลอดจนคณาจารย์ผู้สอนวิชาการตลาดและนิสิตนักศึกษาการตลาดทั่วประเทศ เพื่อสร้าง “สังคมของนักการตลาดพันธุ์แท้” ที่มีความเชี่ยวชาญและภาคภูมิใจในวิชาชีพนักการตลาด
================================================================================================
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
คุณอัญชลี ชัยชนะวิจิตร ผู้อำนวยการบริหาร [email protected] โทร 085-155-2314
คุณจิราภรณ์ พึ่งสัตย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด – กิจกรรมและการสื่อสาร [email protected] โทร. 099-242-5244

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขอแสดงความยินดี กับผู้ได้รับรางวัล ASIA MARKETING EXCELLENCE AWARDS 2024

2.6k
SHARE

AMF ประกาศรางวัลการตลาดยอดเยี่ยม และนักการตลาดดีเด่นแห่งเอเชีย ประจำปี 2567

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (Asia Marketing Federation หรือ AMF) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2534 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดระหว่างประเทศสมาชิก ประกาศผู้ชนะเลิศประเภทองค์กรและนักการตลาดดีเด่นจากประเทศไทย ในการประกวดรางวัล AMF Asia Marketing Excellence Awards 2024 และ Asia’s Top Outstanding Youth, Women and Netizen Marketeer of the Year Awards 2024 โดยทางสหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF) ได้จัดพิธีมอบรางวัลในงาน World Marketing Forum 2024 ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา

AMF มีเป้าหมายหลักที่จะสนับสนุนวิชาชีพด้านการตลาดและการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย ปัจจุบัน ประกอบด้วยองค์กรการตลาดระดับประเทศ 18 แห่ง จากบังคลาเทศ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย มองโกเลีย เมียนมาร์ เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และ เวียดนาม

ในทุก ๆ  ปี สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) จะพิจารณาเสนอผลงานการตลาดทั้งระดับองค์กรและนักการตลาด เพื่อเข้ารับการคัดเลือกจากคณะกรรมการตัดสินระดับนานาชาติซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักการตลาดของสมาพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย

รางวัล AMF Asia Marketing Excellence Awards (AMEA) ยกย่องบริษัทที่แสดงความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อธุรกิจ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) กล่าวว่า “สมาคมฯ ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งต่อบริษัทและนักการตลาดจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัล AMF Asia Marketing Excellence Awards 2024 และรางวัล Asia’s Top Outstanding Youth, Women, and Netizen Marketeer of the Year 2024 ความสำเร็จอันยอดเยี่ยมนี้ ไม่เพียงแต่เป็นตัวอย่างด้านความเป็นเลิศทางการตลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่วิชาชีพทางการตลาดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอีกด้วย กลยุทธ์อันเต็มไปด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ความทุ่มเท และการสร้างผลงานอันโดดเด่นที่ผู้ชนะแสดงให้เห็น ล้วนเน้นย้ำถึงมาตรฐานการตลาดของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยพลังและความเป็นมืออาชีพ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในความสำเร็จเหล่านี้ และขอชื่นชมความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศที่ฝังอยู่ในวิชาชีพการตลาดของเรา”

สำหรับ AMF Asia Marketing Excellence Awards 2024 องค์กรที่ได้การยกย่องให้รับรางวัลการตลาดยอดเยี่ยมแห่งเอเชียปีนี้ คือ เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล (Phyathai-Paolo Hospital Group) จากประเทศไทย และ รางวัลการตลาดยอดเยี่ยม Marketing 3.0 คือ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย

 


เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล คว้ารางวัล “สุดยอดองค์กรการตลาดยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย 2024”
เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ได้ทุ่มเทอย่างไม่หยุดยั้งในการใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจและการตลาดตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารได้เล็งเห็นว่าในแวดวงการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ดังนั้น การตลาดที่ดำเนินการอย่างชาญฉลาดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดึงดูดผู้ใช้บริการรายใหม่และรักษาฐานให้แก่ผู้ใช้บริการเดิม ตลอดจนการสร้างและรักษาชื่อเสียงอันยอดเยี่ยมของโรงพยาบาลที่ได้สั่งสมมายาวนาน
ทางเครือโรงพยาบาลยังทำงานร่วมมือกับองค์กรและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการรักษาพยาบาลและเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ด้านการการแพทย์ เช่น การรักษาด้วย NPI และเทคโนโลยี AI EKG เพื่อประโยชน์สูงสุดของแพทย์ คนไข้ ครอบครัวของคนไข้และ บุคคลากรทางการแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์โซลูชันที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางและยึดมั่นต่อความรับผิดชอบต่อสังคม การปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นและยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน จึงทำให้เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโลเป็นบริษัทที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับรางวัล “สุดยอดองค์กรการตลาดยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย 2024”

 


เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัล “การตลาดยอดเยี่ยม Marketing 3.0 ประจำปี 2024”
บริษัทที่คว้ารางวัล “การตลาดยอดเยี่ยม Marketing 3.0” ของสมาพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย จะต้องแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในกลยุทธ์การตลาดแบบที่ยึดลูกค้าและสังคมเป็นศูนย์กลาง เข้าใจความต้องการลูกค้า สร้างสรรค์เนื้อหาที่ทรงคุณค่า สร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ตลอดจนบริหารช่องทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก สร้างคุณค่าระยะยาวและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นหัวใจสำคัญของ Marketing 3.0
ไมเนอร์ ฟู้ด ได้ก้าวข้ามกรอบการตลาดแบบดั้งเดิม มีการดำเนินการธุรกิจแบบองค์รวม สร้างความไว้วางใจ ความภักดี และความสัมพันธ์อันยั่งยืนกับลูกค้า เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่า นอกจากนี้จุดแข็งของ ไมเนอร์ ฟู้ด ยังอยู่ที่ความแข็งแกร่งของแบรนด์ เช่น เดอะ พิซซ่า ซิซซ์เลอร์ สเวนเซ่นส์ เดอะ คอฟฟี่ คลับ บอนชอนและอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ ความชื่นชอบของลูกค้า มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วแม้ในสภาวะการณ์วิกฤต ควบคู่กับความมุ่งมั่นในเรื่องความยั่งยืนในทุกภาคส่วนของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการจัดหาวัตถุดิบ การลดของเสีย ตลอดจนการสนับสนุนชุมชน สร้างผลกระทบเชิงบวก ทำให้ไมเนอร์ ฟู้ดมีความโดดเด่น เหมาะสมที่จะได้รับรางวัล “การตลาดยอดเยี่ยม Marketing 3.0 ประจำปี 2024”

Asia’s Top Outstanding Youth, Women and Netizen Marketeer of the Year 2024 Awards
นอกจากการมอบรางวัล AMF Asia Marketing Excellence 2024 Awards สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย ยังมอบรางวัล Asia’s Top Outstanding Youth, Women and Netizen Marketeer of the Year 2024 Awards เพื่อยกย่องและเชิดชูบุคคลนักการตลาดรุ่นใหม่ นักการตลาดหญิง และนักการตลาดดิจิทัล ที่มีความโดดเด่นแห่งปีในเอเชีย และสร้างแรงบันดาลใจให้กับรุ่นต่อๆ ไปด้วย  โดยในปีนี้ มีนักการตลาดของประเทศไทยที่ได้รับรางวัล มีดังนี้

AMF Asia’s Top Outstanding Youth Marketeer of the Year 2024 ได้แก่ คุณพลาวุฒิ เจริญจิตมั่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมครอน กรุ๊ป จำกัด

AMF Asia’s Top Outstanding Women Marketeer of the Year 2024 ได้แก่ คุณอัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

AMF Asia’s Top Outstanding Netizen Marketeer of the Year 2024 ได้แก่ คุณสิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Content Shifu จำกัด และ คุณวุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาตี๋ มีเดีย จำกัด

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขอแสดงความยินดี และชื่นชมกับความสำเร็จกับองค์กรและนักการตลาดที่ได้รับรางวัลทุกท่าน ที่มีผลงานโดดเด่นในด้านการตลาดและความมุ่งมั่นในการผลักดันสู่ความเป็นเลิศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงขอขอบพระคุณนายกสมาคมการตลาดฯ คณะกรรมการอำนวยการทุกท่าน ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนและเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนนักการตลาดไทยสู่เวทีสากล

 

เกี่ยวกับสพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF):
สหพันธ์พันธ์การตลาดแห่งเอเชีย (AMF) www.asiamarketingfederation.org เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2534 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดระหว่างประเทศสมาชิก AMF ประกอบด้วยสมาคมและหน่วยงานด้านการตลาดระดับชาติ 18 แห่งจากเอเชีย มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยการส่งเสริมความร่วมมือและการแบ่งปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
คุณอัญชลี ชัยชนะวิจิตร ผู้อำนวยการบริหาร
[email protected] โทร 085-155-2314
คุณจิราภรณ์ พึ่งสัตย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด – กิจกรรมและการสื่อสาร
[email protected] โทร. 099-242-5244

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ประกาศผล!
แคมเปญการตลาดฯ ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย Finalists
Marketing Award of Thailand 2024

2.6k
SHARE

วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567

ตามที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดโครงการประกวดแคมเปญการตลาดประจำปี ภายใต้ชื่องาน “Marketing Award of Thailand 2024” เพื่อส่งเสริมและเชิดชูนักการตลาดไทยที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และให้การสนับสนุนการพัฒนานักการตลาดไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับสากล และในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 116 แคมเปญ แยกเป็น 140 ผลงานจาก 83 องค์กรทั่วประเทศ ซึ่งทุกๆผลงานได้รับการตัดสิน และคัดเลือกอย่างถี่ถ้วน และเป็นธรรมจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ในนามของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับทุกองค์กรที่ผ่านเข้ารอบ และขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมประกวดทุกองค์กร ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

โดยแคมเปญ จาก 4 กลุ่มผลงาน ที่ผ่านการเข้ารอบสุดท้าย (Finalists) ได้แก่

Award Category 1 : Strategic Marketing แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านกลยุทธ์
  • Care Plus – บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  • ZThe Power of Gentle Touch – บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
  • ทีทีบี พิชิตหนี้ (ttb l Beat the Debt) – ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • จากแปลงนาสู่สนามแข่ง มิติใหม่ของกีฬาเพื่อเกษตรกรไทย – บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • Lay’s Theatre of Joy (Neuro No Lie) – บริษัท เป๊บซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด

Award Category 2 : Brand Experience & Communication แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านการสร้างคุณค่าของแบรนด์
  • THE TASTE THAT BRINGS YOU HOME – บจ.ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน
  • แกล้มได้ ทุกเรื่องเล่า – บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)
  • ไก่ไทยจะไปอวกาศ – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
  • #heyintrovert – บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)
  • อร่อยมงลงได้ทุกจาน – บริษัท นอติลุสฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด

Award Category 3 : Innovations & Martech แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่ให้แก่ธุรกิจ
  • Kubota Service DA(Y)TA: รู้ก่อนพร้อมกว่า – บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • The Cupboard to Fight Food Waste – The Mall Group Co., LTD.
  • วัดจู๋ไม๊ – บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด
  • ทุกเรื่องรถ จัดการได้ ในทัชเดียว by ttb touch – TMB Thanachart Bank Public Company Limited.
  • Egg-perience – CPF Global Food Solution Public Company Limited.

Award Category 4 : Sustainable Marketing แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน
  • พอดีไม่เหมือนกัน – บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด
  • ลอก แยก ทิ้ง Just Peel Feel Good – Thai Paper., Co. Ltd.
  • “Eco industrial Bag, Inclusive Green Growth – บริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด
  • “Brewing The Zero Waste Coffee to Happy Breakfast” – MF Cafe & Restaurant., Co. Ltd.
  • KUBOTA Turn Waste to Agri Wear – บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด

หมายเหตุ: การแจ้งผลการตัดสินในเอกสารนี้ เป็นการจัดเรียงตามลำดับใบสมัครของแคมเปญ โดยไม่ได้จัดเรียงตามระดับคะแนนแต่อย่างใด


สำหรับผู้ผ่านเข้ารอบ Finalists ตามรายชื่อที่แจ้งไว้ ทางสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จะติดต่อผู้ประสานงาน ตามรายละเอียดที่ได้ให้ไว้ในใบสมัคร เพื่อนัดหมายขั้นตอนการเตรียมตัว และ ช่วงเวลาสัมภาษณ์ ในวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567  ตั้งแต่เวลา 09.30 – 17.10 น. ในรูปแบบการสัมภาษณ์ทางออนไลน์ (ZOOM)

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ คุณจิราภรณ์
อีเมล์: [email protected] โทร. 099-242-5244

เอกสารประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบ Final (สัมภาาณ์ออนไลน์)
Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดฯ จับมือคณะบริหารธุรกิจ มช.
จัดสัมมนาการตลาดครั้งใหญ่
Thailand Marketing Day on Tour 2024 @Chiangmai

2.6k
SHARE

วันที่ 14 กันยายน 2567 สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยจับมือคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMUBS) จัดงานสัมมนาการตลาดระดับภูมิภาคอย่างยิ่งใหญ่ในงาน Thailand Marketing Day On Tour 2024 @Chiangmai หรือวันนักการตลาดสัญจร โดยมี ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ นับเป็นเวทีหนึ่งในการถ่ายทอดประสบการณ์ เทคนิคการตลาดที่ผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกรณีศึกษาทางการตลาดที่ประสบความสำเร็จให้แก่ผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจ การตลาด ตลอดจนคณาจารย์ นักศึกษาและผู้สนใจ สามารถเก็บเอาความรู้ แนวคิด เทคนิคกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับธุรกิจ สินค้า และบริการ เพื่อยกระดับมาตรฐานของนักธุรกิจ นักการตลาด และผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทยให้มีศักยภาพและความพร้อมในการแข่งขันในระดับสากล

งาน Thailand Marketing Day On Tour 2024 @Chiangmai มีกำหนดจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน ภายใต้ธีม “The Next’s Marketing Moves ก้าวต่อไปในโลกการตลาดยุคใหม่” โดยรวบรวมข้อมูลเทรนด์การตลาดและบทบาทของเทคโนโลยีที่ทุกธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ พร้อมนำผู้มีชื่อเสียงในแวดวงการตลาดและธุรกิจระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร นักการตลาด ผู้ประกอบการ และ Influencer ชื่อดังที่ประสบความสำเร็จมากมายมารวมกันในงานนี้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้ลงทะเบียนร่วมงานยังได้รับ Certificate การเข้าร่วมงาน ได้เครือข่าย Networking ด้านธุรกิจในระดับภูมิภาค และของที่ระลึกจากผู้สนับสนุนมากมายภายในงาน

ทั้งนี้ งานดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม วันที่ 13 กันยายน ช่วงเช้า จัดกิจกรรม “โครงการ Train the Trainers สัญจร” ซึ่งเป็นการสัมมนาสำหรับอาจารย์หรือบุคลากรทางการศึกษา โดยจะช่วยเสริมศักยภาพ Upskill และ Reskill ทักษะที่จำเป็นให้กับคณาจารย์ แลกเปลี่ยนมุมมองการศึกษายุคใหม่กับการใช้เทคโนโลยีแห่งการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปถ่ายทอดเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนิสิตนักศึกษาต่อไป กิจกรรมช่วงบ่าย พบกับ “โครงการ J-MAT สู่เส้นทางการตลาดสัญจร” เปิดให้เฉพาะกลุ่มนักศึกษารับฟังบรรยายความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ มุมมองใหม่ ๆ และแนะนำทักษะสำคัญที่องค์กรยุคใหม่ต้องการโดยกูรูนักการตลาดจากองค์กรชั้นนำ โดยกิจกรรมวันที่ 14 กันยายน Highlight ของงาน คือการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักการตลาด และผู้สนใจร่วมรับฟังเสวนาและบรรยายพิเศษโดย ผู้ทรงอิทธิพลทางการตลาดมากมายตลอดทั้งวันใน 6 Session อาทิ
Special Talk “Update Marketing Trend” กับคุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล อุปนายกฝ่ายการตลาดดิจิทัลและเทคโนโลยี สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
“Future of AI” โดย คุณโชค วิศวโยธิน ผู้ร่วมเขียนหนังสือ ChatGPT: AI ปฎิวัติโลก
ถอดสูตรความสำเร็จ…การสร้างยอดขายให้ธุรกิจของยอดนักขาย โดย คุณตี๋โอ แห่งอาตี๋ รีวิว
Panel Discussion “การก้าวข้ามขีดจำกัดกับการตลาดไร้รูปแบบในโลกการตลาดยุคใหม่”
และหัวข้อที่น่าสนใจอีกมากมายในงาน

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความคาดหวังจากงานนี้
ว่านอกจากผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจด้านการตลาดจะได้รับความรู้อย่างครอบคลุมในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ การตลาด และทันเหตุการณ์แล้ว งานนี้ยังเป็นตัวกลางในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้ความรู้แก่นิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับการตลาดสมัยใหม่ที่สำคัญ เพื่อพัฒนานักการตลาดรุ่นใหม่ของไทยให้มีศักยภาพและความพร้อมสู่โลกธุรกิจในระดับสากลมากขึ้น โดยความสำเร็จส่วนหนึ่งของงานนี้เห็นได้จากจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ทั้ง 2 วัน ที่มีจำนวนรวมกว่า 900 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เข้าร่วมงานแบบ On site ในปีที่ผ่าน ๆ มา โดยเกินเป้า ที่ตั้งไว้ถึง 21% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักการตลาดต่างตื่นตัวกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล งานนี้จึงช่วยติดอาวุธ เสริมทัพสร้างความแข่งแกร่งให้นักการตลาด องค์กรและเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ด้าน รศ.ดร.นฤมล กิมภากรณ์ รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติม
ในฐานะเจ้าภาพร่วมจัดงานและผู้นำภาคีเครือข่ายภาคการศึกษาระดับภูมิภาคว่า คณะบริหารธุรกิจมีพันธกิจในการสร้างบัณฑิตที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและจิตสำนึกต่อสังคมและสร้างองค์ความรู้ที่นำไปปฏิบัติได้จริง ตลอดจนเป็นผู้ชี้แนวทางสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารธุรกิจต่อธุรกิจและสังคม จึงร่วมเป็นภาคีเครือข่ายกับสมาคมการตลาดฯ เป็นเวลากว่า 15 ปี ในการร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการตลาดและธุรกิจให้มีความพร้อมต่อการแข่งขันในระดับสากล โดยนำคณาจารย์ผู้ทรงความรู้และเชี่ยวชาญของคณะในแขนงต่าง ๆ ของภาคธุรกิจร่วมเวทีเสวนา บรรยาย แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็นเพื่อสร้างองค์ความรู้และจุดประกายแนวคิดในการทำธุรกิจและการตลาดสำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจ ตลอดจนนักศึกษาและผู้สนใจ ทั้งยังนำนักศึกษาของคณะเข้าร่วมอบรมพัฒนาทักษะ (Upskill / Reskill) ในโครงการต่าง ๆ ของสมาคมฯ อย่าง ชมรมยุวสมาชิกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยหรือ J-MAT โครงการอบรม Marketing Trainee พร้อมส่งทีมนักศึกษาร่วมแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจการตลาดในโครงการ J-MAT Awards ซึ่งนักศึกษาของคณะบริหารธุรกิจและคณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังสร้างผลงานคว้ารางวัลจากเวทีนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นความภูมิใจของคณะเราที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านธุรกิจและการตลาด รวมถึงปั้นนักธุรกิจ นักการตลาด และสตาร์ทอัพให้มีมากขึ้นจากกลุ่มนักศึกษารุ่นใหม่

ขอขอบพระคุณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMUBS) นายกสมาคมการตลาดฯ และคณะกรรมการอำนวยการทุกท่าน ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดัน และในการสร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ ในครั้งนี้ และขอขอบพระคุณวิทยากรทุกท่าน ภาคีเครือข่ายภาคการศึกษา รวมไปถึง Sponsor และ Media Patner ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

***********************************************************************************************************************************

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
ติดต่อ จิราภรณ์ พึ่งสัตย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด – กิจกรรมและการสื่อสาร
[email protected] โทร. 099-242-5244

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมัครรับข่าวสาร

logo