Knowledge

MAT Vaccine for Business EP.10

2.6k
SHARE

Entrepreneur spirit
การสร้างหัวใจให้เถ้าแก่ใหม่ในองค์กร

เริ่มจากคำว่า “เถ้าแก่” หลาย ๆ คนอาจนึกถึงบุคคลที่เข้ามาคุมร้านค้า? แต่จริง ๆ แล้วหัวใจของคำว่าเถ้าแก่คือ Outrepreneur spirit เป็นวัฒนธรรมที่จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดได้ จะมีความน่าสนใจอย่างไร ? แล้วจะมีความสัมพันธ์กับองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนแล้วอย่างไร? จริง ๆ แล้ว Outrepreneur / Entrepreneur สามารถทำให้องค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างไร ?

ในวันนี้แขกรับเชิญพิเศษ เป็นคนรุ่นใหม่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการการตลาด มี 2 คนด้วยกัน ได้แก่ คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร (คุณต้อง) เจ้าของ Podcase “แปดบรรทัดครึ่ง (Eighthalf)” ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าทีม Avenger ของธนาคารไทยพาณิชย์ SCB 10X (จะมาพูดในมุมมองของ Outrepreneur ใน Entrepreneur)
และ คุณไผท ผดุงถิ่น (คุณโบ๊ท) ผู้คิดโปรแกรมควบคุมการก่อสร้าง หรือ Startup เจ้าแรก ๆ ของวงการก่อสร้าง ดำรงค์ตำแหน่ง CEOและ Co-Founder ของ BUILK ASIA และ BUILK ONE GROUP (จะมาพูดในมุมมองของ Outrepreneur)

BUILK ONE GROUP

คุณโบ๊ทเริ่มเป็น Outrepreneur มาเป็นเวลาประมาณ 20 กว่าปี (เริ่มตั้งแต่สมัยต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540) หลังจากเหตุการณ์ต้มยำกุ้งประเทศไทยได้ผลิต Outrepreneur ออกมาเป็นจำนวนมาก ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ และการที่โดน Lay out และความอยากเป็น Outrepreneur ด้วยตนเอง บริษัทของคุณโบ๊ททำซอฟต์แวร์ (Software) เกี่ยวกับการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ชื่อ BUILK ONE GROUP ช่วง 10 ปีหลัง ได้ฟอร์มตัวเองโดยมีวิธีคิดที่เรียกว่า Startup คือการทำธุรกิจให้เป็น Platform ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ในส่วนของบริษัทมีส่วนต่างๆดังนี้

  1. ซอฟต์แวร์ (Software) ของบริษัทคุณโบ๊ทมีส่วนให้ใช้ฟรี เก็บเงิน (เก็บเงินรายเดือน / เก็บเงินรายยูนิตก์ ต่าง ๆ และอาจจะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่กับ Innovation
  2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ในส่วนของวัสดุก่อสร้าง แล้วมาแบ่งปัน (Share) กับสมาคมการตลาด ในเรื่องของ P to P (People to People), Marketing, Innovative Marketing ฯลฯ

บริษัทมีพนักงานอยู่ประมาณ 100 กว่าคน มี Operation อยู่ที่ประเทศไทย พม่า ฟิลิปปินส์ ที่เป็นหลัก ๆ ส่วนผู้ใช้ (User) มีอยู่ที่อื่นบ้าง จะเห็นว่าบริษัทขยายเร็วมาก ๆ ซึ่งเกิดจากเป็นธุรกิจที่ได้แรงบันดาลใจจากการทำ Startup

SCB 10X

ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ หน้าที่หลัก ๆ ของ SCB 10X คือ พยายามดูธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ประกอบอยู่ 3 ส่วน ด้วยกัน
– ส่วนแรก ลงทุนให้กับบริษัทเทคโนโลยี เช่น บริษัทขนาดใหญ่ และทำธุรกิจร่วมกัน อาทิ Gojek
– ส่วนที่สอง Avenger Capital (ทำมาได้ 4ปีแล้ว) มีกองทุนอยู่ 150ล้านเหรียญ สามารถลงทุนได้ทั่วโลก
– ส่วนที่สาม Avenger Builder (ผมเป็นคนดูแล) เป็นการทำ Startup ภายในองค์กร มีทีม Tech เป็นของตัวเอง, มี ทีมProduct , ทำ Prototype ทดลอง (Test) กับตลาด ถ้ามันสำเร็จหน้าที่ของเราคือดีดตัวมาเป็นบริษัทลูกเติบโตแบบ Startup ให้ได้ โดยมีงบประมาณในอีก 3 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท

Entrepreneur / Outrepreneur คืออะไร ?

Entrepreneur – เป็นคำใช้ที่มีอยู่จริง แต่กระทำยากมาก คือต้องการให้คนที่ไม่ออกเงินให้มีความเป็นเถ้าแก่ ในเชิงมุมบัญญัติ คนที่เป็น Outrepreneur เป็นคนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีอิสระในการทำงาน ซึ่งในองค์กรจะตรงกันข้าม จะไม่มีอิสระในการทำงาน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นเราจึงต้องการหาโครงสร้าง (Structure) บางอย่าง ให้คนมีอิสระในการทำงาน และส่วนได้ส่วนเสียที่ชัดเจน สิ่งนี้คือหลักการที่องค์กรใหญ่ ๆ อยากจะทำ ซึ่งไม่ใช่การให้กำลังใจกัน (Encourage) เช่น “สู้ๆนะ ต้องใช้ความเสี่ยง” อย่างเช่น คุณโบ๊ท (ที่สร้างบริษัทด้วยตัวเอง) ถ้าทำดีก็เงินตัวเอง ถ้าไม่ดีก็เงินตัวเอง “ฉันมีอิสระในการทำงาน ฉันมีส่วนได้ ฉันมีส่วนเสีย”

Outrepreneur – การสอน Outrepreneur ship ภายในองค์กร จะทำเหมือนสร้าง Outrepreneur ใน Entrepreneur ซึ่ง Entrepreneur / Outrepreneur มีส่วนที่คล้าย และแตกต่างกัน ตรงที่เป็นคนที่มีความคิดอะไรใหม่ๆ (Innovative) เหมือนกัน แต่ระดับของความเสี่ยง (Risk) ที่ทั้งสองคน (Entrepreneur / Outrepreneur ) ได้รับนั้นต่างกัน โดย Outrepreneur ได้รับความเสี่ยงที่มากกว่า ความเสี่ยงของ Outrepreneur เช่น ไม่รู้ว่าเงินเดือนตัวเองจะออกไหม, เงินเดือนลูกน้องจะหามาจากไหน, ต้องลดเงินเดือนตัวเองตอนที่มีวิกฤตไปเท่าไหร่เพื่อชดเชยให้ลูกน้องและธุรกิจ

โดยส่วนคุณโบ๊ทคิดว่า Outrepreneur จะมาช่วยเติมเต็ม (Full-Fill) ในส่วนที่บริษัทขาดไป แล้วมีความคิดแบบคุณโบ๊ทเพื่อช่วยให้บริษัทเดินหน้าต่อไปได้ แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงิน, รับความเสี่ยงเท่ากับ Outrepreneur ซึ่งความเสี่ยงไม่เท่ากับขนาดตอนเริ่มต้น แต่ต้องการความเป็นผู้นำ (Leader ship), กระบวนการคิด (Mind set) ที่ดี

ม.ร.ว.สุทธิภาณีได้แสดงความคิดเห็นด้วยว่า “ถ้าเจ้าของมีการสนับสนุนให้เขามี ความกล้าที่จะทำและคิดอะไรใหม่ ๆ การที่เรา Out of The Box มากขึ้น จะช่วยทำให้ได้รับ Mind set ที่ดี” ดังนั้นองค์กรต้องมีหลักการ, การสนับสนุน (Support), หนทาง(Direction) มากพอเขาถึงจะกล้าที่จะลองเสี่ยง

อะไรคือ ความท้าทายของ Outrepreneur ?

“การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด” หลังจากวันที่คุณโบ๊ทได้ออกมาจากองค์กร (Cooperation) แล้วพบว่าไม่มีใครเลย เหมือนตอนทำงานอยู่ใน Cooperation อย่างแผนก HR, การเงิน ฯลฯ จึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ มีเรื่องให้ลองผิดลองถูก และแน่นอนว่าจะทำให้เจอกับปัญหาและต้องแก้ทั้งล้มเหลวและสำเร็จบ้าง ใน “ส่วนที่ล้มเหลวจะทำให้เรากลายเป็นคนที่กลัวความผิดพลาดทำให้เราเริ่มกลายเป็นคนไม่กล้าคิดอะไรใหม่ ๆ” นั่นก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของ Outrepreneur ซึ่งคุณโบ๊ทคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการคนใด จะเกิดกรอบขึ้นมาว่า “เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไรก็ได้ เพราะเราสำเร็จมาก่อนแล้ว” กับอีกกลุ่มหนึ่งทำมาเป็นเวลานานแล้ว จะเกิดความคิดขึ้นมาในหัวว่า “จะทำยังไงให้งานเกิดการเชื่อมโยง (involve), พัฒนาวิธีคิดของเราต่อไปได้” ธุรกิจ (Business) ต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Innovation) ของไปเรื่อย ๆ

อะไรคือ ความท้าทายของ Entrepreneur ?

“การหาคนที่ถูกต้องเข้ามาทางเชิงทัศนคติเป็นคนที่เหมาะสม” ต้องการคนที่ถูกต้อง คือ รับคนเข้ามาในสถานที่ ๆ ถูกกับสภาพแวดล้อมที่เป็น Outrepreneur ใน Entrepreneur ได้รับการไว้วางใจ (Trust) จากผู้บริหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราเลือกคนได้ถูก เราก็จะสามารถให้อิสระในการทำงานได้ เพราะ Outrepreneur ควรจะมีอิสระในการลองผิดลองถูก หรือคิดอะไรใหม่ ๆ เพราะยังไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือใช่ อะไรคือไม่ใช่ คือ การเริ่มจาก Zero to One (0 ไป 1) เพราะองค์กรคือการเริ่มจาก 0 ไป 100 เพราะทำสำเร็จมาแล้วมีกระบวนการต่าง ๆ การรับการเปลี่ยนแปลง (Innovation) เข้ามา ทำให้องค์กรต้องกลับไปเริ่มจาก 0 (จุดเริ่มต้นใหม่) ซึ่ง ณ จุดนั้นไม่มีสูตรสำเร็จ คนที่ทำงานภายในองค์กรส่วนใหญ่จะไม่ถนัด และผู้บริหารส่วนใหญ่เติบโตมาในส่วนที่มีขั้นตอน (Process) อยู่แล้ว คือการเติบโตขึ้นมาในการทำ Process หรือการทำงานของตัวเองให้ดี ซึ่งสถานะ (State) เป็นสถานะที่ผู้บริหารมักเติบโตมาด้วยความสามารถ (Skill) นั้น

แน่นอนว่า เมื่อเราพูดว่า “โลกยุคดิจิตอลเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแสดงว่าเรานั้นยังไม่รู้” ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การที่เราจ้างคนเข้ามา จะทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นไปสำรวจ (Explore) สิ่งที่อยากจะสำรวจ (Explore) ได้เต็มที่ และแน่นอนว่า เมื่อคน ๆ หนึ่งออกไปสำรวจ (Explore) ก็จะเกิดความผิดพลาด ก็อาจจะได้ยินคำว่า Fail Fast, Fail Cheap เมื่อผิดพลาดแล้วจะลงโทษ (Punish) ลูกจ้างไหม?, จะให้ค่า (Value) ความสำเร็จ (Success) เหมือนเดิมหรือเปล่า? ที่สำเร็จเราจะให้รางวัล คำพูดของการบริหารจัดการ, แรงจูงใจ (Incentive) ,สามารถให้อภัย (Allow) ทำให้คนอยากที่จะลงมือทำต่อได้หรือเปล่า? หรือเรายังจะชักจูง (Incentive) อยากจะให้คนทำสำเร็จโดยเร็ว แต่สิ่งที่ตามมาคือ วิธีการทำแบบเดิม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ยังยุ่งยาก (Tricky) ในการบริหารจัดการ ดังนั้นต้องเข้าใจว่าคนที่เราจ้างเข้ามาเป็นคนที่เหมาะสมในการทำงานแบบใหม่ ความสำคัญคือตัวผู้บริหารจะสามารถให้อำนาจลูกจ้างมากแค่ไหน เพราะคนเหล่านั้นก็ต้องใช้เงินขององค์กร ดังนั้นจึงต้องมี สิ่งต่อไปนี้

  1. ความเชื่อใจ (Trust) มีค่า (value) ร่วมกับความเร็ว (speed) ซึ่ง “ถ้าไม่มีความเชื่อใจ (Trust) จะเกิดการประชุม (Meeting) มาก” เพราะเกิดการไม่ตัดสินใจและต้องมีการมาพูดคุยกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง “องค์กรไหนมี Trust เยอะ Speed จะน้อย องค์กรไหนมี Trust น้อย Speed จะมาก” Speed ในที่นี่หมายถึงการจะทำของให้ไปให้ถึงในตลาด
  2. นักพัฒนา (Innovator) ทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ให้กล้าที่จะลงมือเสี่ยง ซึ่งอาจจะมีการสร้างต้นแบบ (Prototype) ที่มีราคาถูก เช่นการออกไปทดสอบกับตลาดก่อน Fail Fast, Fail Cheap แต่คนเหล่านี้จะเข้าใจอยู่แล้วว่าตนเองจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากคนอื่น ว่าการที่จะทดสอบ จะทดสอบอย่างไรให้ตัวเองไม่ได้รับความเสี่ยงที่หนักเกินไป ซึ่งเหล่านักพัฒนา (Innovator) จะมีทักษะพวกนี้ จะต้องปรับเข้าหากันทั้ง 2 ฝั่ง
การสร้างหัวใจ (Entrepreneur spirit) องค์กรขนาดเล็กสามารถนำไปใช้ได้หรือเปล่า ? และควรเอาไปใช้อย่างไร ?

– สำหรับ SMEs การปลดล็อคความคิด (Mind set) ของตนเอง
“วันหนึ่งพนักงานเก่ง ๆ ในบริษัทจะต้องมีวันออกไปตัวผันไปทำ Outrepreneur”
เกิดจากยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายขึ้น จึงควรจะยินดีกับพนักงานที่เราสามารถสอนให้เขาออกไปอย่างเข้มแข็งและกลับมาเป็น Outrepreneur ได้อย่างดีมากกว่าการที่รู้สึกเสียใจว่าต้องเสียพนักงานคนเก่งไปจากบริษัท ซึ่งในอนาคตอาจกลับมาทำงานร่วมกันได้
-ทุกคนเข้ามาต้องมีความอยากสร้างสิ่งใหม่ ถ้าเราปล่อยให้เขาได้ทำ คนแบบนั้นจะขับเคลื่อน (Motivate) ได้ด้วย 3 ประการ คือ
1. อิสรภาพ (Autonomy) การสร้างสภาพให้มีอิสระในทำงานประมาณหนึ่ง และได้ลงแรงในคงามเสี่ยง (Risk) ของเขาเอง
2. ความเชี่ยวชาญ (Mastery) คือควรจะเก่งขึ้น การเก่งขึ้นไม่ได้เก่งจากหัวหน้า แต่จะรู้สึกเก่งขึ้นจากเพื่อนร่วมงานในทุก ๆ วัน เป็นการได้ทำอะไรในสิ่งที่คิดเอง คือการมีผลกระทบ (Impact) ซึ่ง Impact จะเกิดขึ้นได้โดยการทำของออกไปให้คนใช้ ซึ่งถ้าเราสามารถทำให้เขาได้รับ Impact ได้เร็วจะทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองสามารถเรียนรู้ไปกับมันได้
3. วัตถุประสงค์ (Purpose) การที่ Outrepreneur ใส่ใจ (Care) กับอะไรบางอย่าง เพื่อทำให้ของ ๆ ตัวเองมีคนใช้แล้วทำให้เกิดผลตอบรับ (Impact) ขึ้น

ทั้ง 3 อย่าง เป็นการ นำเสนอ (Represent) คนได้ดีมาก คือ เป็นอิสระ, เก่งขึ้น และรู้ว่าทำไปทำไม ถ้าพนักงานเข้ามาในองค์กรใหม่ ๆ มีความอยากเป็น Outrepreneur อยากมาสร้าง อยากมาทำอะไรใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ม.ร.ว.สุทธิภาณีเห็นด้วยว่า “การให้รางวัล (Reward) คน ไม่ได้เป็นการ Reward เพียงเงินเดือน แต่เราต้อง Reward ทางอื่นด้วย” ทั้งเรื่องอิสระ,ทางความคิด,อยู่ไปแล้วเก่งขึ้น แล้วก็วัตถุประสงค์ (Purpose)

เราจะบริหารความเสี่ยงจากการให้อิสระอย่างไรนอกจาก Trust ?

การใช้วิธีอย่าง Startup ใช้ คือ LinkStartup, Design Thinking หมายความว่า ไม่มุทะลุจนเกินไป งบประมาณ (Budget) น้อย ความเสี่ยงจะได้น้อยตาม (แต่จะเกิดความล้มเหลว (Fail) แน่นอน แต่จะเกิดน้อย) โดย Startup มีวิธีการบริหารจัดการงบประมาณ, ความเสี่ยง ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่ เมื่อมีงบประมาณมากจะไม่เริ่มจากจุดนี้ โดยสิ่งที่ควรเริ่มคือ ต้องรู้ว่าลูกค้า (Customer) ต้องการอะไร จากนั้นทำของออกไปทดลอง (Test) การใช้งบประมาณ (Budget) ไม่ต้องใช้เยอะแล้วดูว่า เกิด Fail Fast, Fail Cheap ควรปรับ MVP (Minimal Viable Product) ตรงไหน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับองค์กรยุคนี้ เพราะได้รับการฝึกฝน (Training) มาหมดแล้ว แต่ไม่มีทางที่จะไม่ได้รับความเสี่ยง ทุกคนจะต้องเจอความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถบริหารจัดการมันให้น้อยได้อย่างไร ดังนั้นจึงมีความต่างมากในการบริหารความเสี่ยง ทำของใหม่ยังไงก็มีความเสี่ยง และถ้าล้มเหลว (Fail) ยังไงก็ต้องมีการเสียเงิน แต่ทำยังไงให้เสียงบไม่เยอะ ซึ่งวิธีเหล่านี้มีวิธีอยู่แล้วว่าจะทดสอบทีละนิดอย่างไรให้ไปถูกที่ถูกทาง
การจะทำงานงานหนึ่ง เราจะการตั้งเป้าหมายอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ งบประมาณ และระยะเวลา ว่าโปรเจคสามารถทำได้ถึงระยะเวลาประมาณเท่าไหร่ ควรจบตอนไหน ซึ่งจะสามารถทำให้เราคำนวณความเสียหาย (lost) ออกมาได้ ว่าจะใช้คนที่มาทำงานส่วนไหนกี่คน ถ้าผลสุดท้ายงานเกิดการผิดพลาดเราจะใช้การ Feed Back loop เป็นบทเรียน (Lesson learn) เพื่อให้ความเสี่ยงขององค์กรนั้นลดลง

ตัวอย่างของระบบที่ Entrepreneur มีการทำงานแบบ Outrepreneur

  1. SCB 10X มีแอพพลิเคชั่นหนึ่งเรียกชื่อว่า “PartyHaan”
    มีไว้สำหรับคนที่ต้องการแชร์โปรโมชั่นสินค้าเมื่อมีโปรโมชั่น 1 แถม 1 แต่เราต้องการแค่เพียงอันเดียว ต้องการหาคนหารด้วย โดยไอเดียเกิดจากการพูดคุยกัน การทดลองคือเราได้ส่งน้อง ๆ ไปแข่ง Line HAG สุดท้าย ตรวจสอบความถูกต้อง (Validate) น่าจะพอไปไหว น่าจะพอทำได้ แสดงว่าเริ่มมีคนต้องการ (หาคนที่เหมาะสม+เชื่อใจ) เราไม่ได้ทำเป็นแอพพลิเคชั่นแต่เราทำบนไลน์ซึ่งทำง่ายกว่าเพราะคนไม่จำเป็นต้องโหลดอะไรมาใหม่ แต่เป้าหมาย (Goal) ของการทดสอบคือการให้ Budget ไปไม่เยอะ และทำเสร็จให้เร็ว ฟังผลตอบรับว่าคนต้องการ Feature, Caption เพิ่ม จนเห็นความต้องการ (Need) ของคนชัด (Purpose) จนสามารถตัดสินใจทำเป็นแอพพลิเคชั่นได้ แล้วก็ทำกลับไปให้ลูกค้า (Test) ตอบกลับมาแล้วฟัง และมีอยู่ช่วงนึงที่เป็นไวรัลอยู่ในทวิตเตอร์ ลูกค้าต้องการเห็นว่ามีรายการอาหารอะไรบ้าง, กลัวคนโกงกันหรือเปล่าเวลาจ่ายบัตรเครดิต ดังนั้นตอนนี้เลยจะติดระบบ Payment ของ SCB ไว้ก่อนว่าจะจ่ายก่อน จะเห็นว่าเรื่องพวกนี้ไม่ได้ถูกแพลนไว้ก่อน เราจะฟังจากลูกค้าว่าต้องการอะไร แล้วกรอกใส่เพิ่มเข้าไปเรื่อย ๆ แต่ในระหว่างทางเราจะเห็นว่าเราต้องการคนที่อยู่ใกล้ข้อมูลมากที่สุดมาช่วยกรอกข้อมูลว่าลุกค้าต้องการอะไรอย่างไร ซึ่งเป็นคนตัดสินใจ (Data Agreement) ซึ่งเราควรจะให้ Budget เขาเพิ่มในส่วนนี้
  2. SCB Shop Deal
    ใช้เวลา 3 สัปดาห์ มีการทำ Hackathon กันภายในช่วง Covid-19 (หาคนที่เหมาะสม+เชื่อใจ) ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับโรงแรมที่เราคิดว่าเขาน่าจะดำเนินต่อไปได้ แต่ต้องการมีการจองโรงแรมล่วงหน้า (Purpose) ซึ่งเราอยากจะทำให้เห็นว่ามันมีเทคโนโลยีง่ายๆเช่น QR-code ซึ่งทำให้เป็นคูปอง ซึ่งความปลอดภัย (Security) ยังมีไม่มาก เรารู้เพียงแค่ว่าต้องมีเครดิตการ์ด แต่ยังไม่ได้ลองใส่ออกไป เราก็ลองทำออกไปให้ลูกค้าลองใช้ดู (Test) แล้วก็ลองฟังเสียงตอบรับแล้วก็ปรับดู ซึ่งลูกค้าก็ตอบกลับมาว่าอยากให้ใส่เครดิตการ์ด ซึ่งตัวอย่างนี้อยากให้เห็นว่า บางอย่างที่เราคิดออกมากเกินไปมันอาจจะผิด

ตลาดแห่งโลกยุคใหม่ จะอยู่ในรูปแบบของ Work in Progress คือ ทำ -> ทดลอง -> ฟัง -> พัฒนา

คนที่จะทำ Startup จะต้องเป็นคนที่มีพื้นฐานการบริการธุรกิจและเชี่ยวชาญในเรื่องที่สนใจ โดยใช้เงินคนอื่น เพียงแค่มี Passion และบริหารทีมเป็น ควรจะมีเงินตัวเองร่วมด้วยไม่ใช่ใช้เงินคนอื่นอย่างเดียวใช่ไหม ?

ในนิยาม Startup ไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินเลย แต่คือการเริ่มต้นใหม่ เป็นแค่เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้นที่ต้องคิดว่าจะทำธุริกิจอย่างไรให้สามารถทำซ้ำได้ (Repeatable) และเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (Securable) ธุรกิจอยู่ได้ด้วยกำไร (Profitable) ดังนั้นถ้ามองในมุมนี้การทำธุรกิจแบบ Startup คือการทำอะไรก็ได้ให้อยู่ได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า กำไรต้องสูงสุด แต่ต้องมีคนใช้เยอะๆ และต้องขยายตัวได้เร็ว มีพื้นฐานของเทคโนโลยีอยู่ด้วย ดังนั้นคำถามของการเงินมาจากไหนล่ะ ? มาจากตัวเองก็ไม่ผิด เพราะStartup หลายๆคนก็มีทุนมาจากตัวเอง และหลายๆคนที่เป็นแบบ Outrepreneur ก็ทำการระดมทุนเพื่อทำให้ตัวเองสามารถดำเนินการธุรกิจของตนเองได้

Startup คือการโกยเงินระยะสั้นทำอย่างไรให้ยั่งยืน ?

ไม่ใช่การโกยเงิน แต่ว่าคือการหาวิธีการคืนทุนและการทำการคืนกำไรให้กับนักลงทุน

การสร้างความสมดุล (Balance) ระหว่าง Creativity กับ Business จะทำอย่างไร ?

ของที่เป็น Innovative ไม่จำเป็นต้องมี Creativity แต่เราต้องทำ

  1. สิ่งของที่ผู้คนต้องการจะใช้ออกมา
  2. ต้องถูกสร้างเทคโนโลยีปัจจุบัน
  3. สามารถหารายได้ได้

ซึ่งถ้าเราสามารถทำ 3 อย่างนี้พร้อมกันได้ จะสามารถสร้างธุรกิจขึ้นมาได้ สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องสมดุลกัน เราจำเป็นต้องมีความรู้ให้ถึงจุดหนึ่งก่อน แล้วเปิดพื้นที่ให้ต่อยอดโดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมัครรับข่าวสาร

logo